เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2433 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 5 สมัย

เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ตุลาคม พ.ศ. 2433
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
เสียชีวิต25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (96 ปี)

ประวัติ แก้

นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นบุตรของนายเจ๊ะมูฮำมัด สะอาด และ นางเจ๊ะรอมมะห์ หวันสู[1]

เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 สิริอายุรวม 96 ปี

การทำงาน แก้

เจ๊ะอับดุลลาห์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนศาล แขวงละงู เมื่อปี พ.ศ. 2448 แต่ขอลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพค้าขายส่วนตัว ต่อมา พ.ศ. 2459 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านศาสนา ประจำอำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู จากนั้น พ.ศ. 2463 ได้เดินทางไปทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ประเทศอินโดนีเซียและมลายู จนกระทั่งปี พ.ศ. 2469 พระยาสมันต์รัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) ได้แต่งตั้งให้เป็นกอฎีทั่วไป ทำหน้าที่ด้านกฎหมายครอบครัวอิสลามล่วงมาปี และ พ.ศ. 2473 มีพระบรมราชโองการให้เป็นดาโต๊ะยุติธรรมประจำศาลจังหวัดสตูล

งานการเมือง แก้

เจ๊ะอับดุลลาห์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 รวม 5 สมัย

เจ๊ะอับดุลลาห์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง ได้แก่ เป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน[2][3] และในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดสตูล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดสตูล
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดสตูล
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดสตูล สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[4]
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดสตูล สังกัดพรรคสหภูมิพรรคชาติสังคม[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติ เจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๒, ๗ มกราคม ๒๕๐๑