เจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมอาบ บุนนาค ท.จ. (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ

เจ้าจอมอาบ
ในรัชกาลที่ 5
เกิดอาบ บุนนาค
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424
จังหวัดเพชรบุรี, สยาม
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (80 ปี)
กรุงเทพมหานคร ไทย
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุพการีเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
ท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธ์พิสุทธิ์

เจ้าจอมอาบ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นบุตรคนที่ 12 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม: วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อเจ้าจอมอาบอายุได้ 10 ปี ได้เข้ากรุงเทพ เพื่อร่วมขบวนแห่โสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2434 และเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ริมถนนสุโขทัย ติดกับสวนของเจ้าจอมเอิบและสวนเจ้าจอมเอื้อน ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าจอมอาบ ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา หรือเสด็จพระองค์อาทรฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งทรงถูกพระอัธยาศัยกันกับท่านเจ้าจอม ท่านเจ้าจอมจึงย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับเสด็จพระองค์อาทรฯ ที่ตำหนักทิพย์ ส่วนเรือนของท่านเอง ที่สร้างในที่พระราชทานใกล้ ๆกับเรือนของเจ้าจอมพี่น้องของท่านนั้น ท่านยกเป็นมรดกให้กับหลานที่ท่านเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กไปเลยก่อนที่จะย้ายมาพำนักที่ตำหนักทิพย์เป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา

ท่านเจ้าจอมอาบ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ด้วยอาการหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 80 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. 416 หน้า. ISBN 974-7383-97-7
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 874-341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum


  1. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (35): 1015. 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "บอกแก้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1157. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)