เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน

เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน (เปอร์เซีย: سد خداآفرین; อาเซอร์ไบจาน: Xudafərin SES) เป็นเขื่อนดินถมบนแม่น้ำแอแรส (เปอร์เซีย: ارس, อาเซอร์ไบจาน: Araz) ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศอาเซอร์ไบจาน อยู่ห่างจากเมืองโฆมอร์ลู (เปอร์เซีย: خمارلو) ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ประเทศอิหร่าน ไปทางตะวันตก 8 กิโลเมตร (5.0 ไมล์) และอยู่ห่าง 14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้จากซอลทันลือ (อาเซอร์ไบจาน: Soltanlı) เขตแจบรายึล ประเทศอาเซอร์ไบจาน ใน พ.ศ. 2536 ระหว่างสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่หนึ่ง กองกำลังของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว แต่ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ระหว่างสงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง กองทัพอาเซอร์ไบจานได้เข้าควบคุมเขื่อนอีกครั้ง[4] เขื่อนตั้งอยู่ทางเหนือน้ำห่างจากสะพานโฆดอ-ออแฟรีน 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์)

เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน (มิถุนายน 2013)
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีนตั้งอยู่ในประเทศอาเซอร์ไบจาน
เขื่อนโฆดอ-ออแฟรีน
ที่ตั้งบริเวณพรมแดนประเทศอาเซอร์ไบจานและประเทศอิหร่าน
ชื่อทางการXudafərin SES, سد خداآفرین
ประเทศอิหร่าน/อาเซอร์ไบจาน
ที่ตั้งโฆมอร์ลู จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก /ซอลทันลือ เขตแจบรายึล
พิกัดภูมิศาสตร์39°9′35″N 46°56′05″E / 39.15972°N 46.93472°E / 39.15972; 46.93472
สถานะดำเนินการ
เริ่มการก่อสร้างค.ศ. 1999
วันที่เปิดดำเนินการ2008
เจ้าของบริษัทร่วมทุนอาแซเรเนร์จี (Azərenerji ASC)/บริษัทร่วมทุนจัดการน้ำภูมิภาคอาเซอร์ไบจานตะวันออก (شرکت سهامی آب منطقه ای آذربایجان شرقی)
เขื่อนและทางน้ำล้น
ชนิดของเขื่อนเขื่อนดินถม
ปิดกั้นแม่น้ำแอแรส
ความสูง64 m (210 ft)[1]
ความยาว400 m (1,300 ft)[2]
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำโฆดอ-ออแฟรีน
ปริมาตรกักเก็บน้ำ1.612 km3 (1,307,000 acre·ft)[3]
ปริมาตรใช้การ1.495 km3 (1,212,000 acre·ft)
พื้นที่ผิวน้ำ20 km2 (7.7 sq mi)[3]
ชนิดของเขื่อนเขื่อนดินถม
โรงไฟฟ้า
กําลังการผลิตติดตั้ง102 MW (137,000 hp)

วัตถุประสงค์ของเขื่อนคือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำและการชลประทาน ถือเป็นโครงการร่วมระหว่างสหภาพโซเวียต​​กับประเทศอิหร่าน โดยทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 การออกแบบเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2525 โครงการได้รับการทบทวนในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และเริ่มการก่อสร้างใน พ.ศ. 2542[5]

เขื่อนเริ่มกักเก็บน้ำใน พ.ศ. 2551 และเปิดดำเนินการใน พ.ศ. 2553 งานระบบชลประทานยังอยู่ระหว่างดำเนินการ[6] ในระหว่างการก่อสร้าง มีการค้นพบสถานที่ในยุคสัมฤทธิ์หลายแห่ง รวมถึงหลุมศพของนักรบชาวศากะและชาวซิท ใน พ.ศ. 2551 การเติมอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บถูกชะลอเพื่อการขุดค้นทางโบราณคดี[7][8] โรงไฟฟ้าของเขื่อนแห่งนี้ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันคัพพลัน (Kaplan turbine) 4 ตัว (ด้านละ 2 ตัว) ซึ่งหมุนด้วยความเร็ว 166.67 รอบต่อนาที กำลังผลิตติดตั้งรวม 204 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 550 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (แบ่งจ่ายไฟฟ้าให้กับแต่ละประเทศ 275 GWh)[9] และได้รับการออกแบบเพื่อรองรับพื้นที่การชลประทาน 75,000 เฮกตาร์ (190,000 เอเคอร์)[5][10]

อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ของประธานาธิบดีอิหร่าน แก้

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 อิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน และเอบรอฮีม แรอีซี ประธานาธิบดีอิหร่าน ได้ทำพิธีทดสอบการเดินเครื่องสถานีไฟฟ้าพลังน้ำโฆดอ-ออแฟรีน ซึ่งรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำความจุ 503 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่างทั้งหมด ในระหว่างการทำพิธีเปิดดำเนินการสถานีไฟฟ้าพลังน้ำกึซกาลาซือ (อาเซอร์ไบจาน: "Qız Qalası" su elektrik stansiyaları)[11][12] ทั้งสองสถานีคาดว่าจะผลิตพลังงานให้กับอิหร่าน 368 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี[13] หลังเสร็จสิ้นพิธีการ ประธานาธิบดีเอบรอฮีม แรอีซี และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังเมืองแทบรีซซึ่งห่างออกไปทางใต้ประมาณ 130 กิโลเมตร เนื่องจากประธานาธิบดีแรอีซีมีกำหนดการจะเปิดโครงการโรงกลั่นน้ำมัน โดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอิหร่านแบบเบลล์ 212 ที่เป็นพาหนะได้ประสบอุบัติเหตุตกในพื้นที่ภูเขาห่างไกลในเขตโจลฟอ (เปอร์เซีย: شهرستان جلفا) ในจังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ในเวลา 13:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (10:00 GMT) ห่างจากหมู่บ้านอูซี (เปอร์เซีย: اوزی) ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ห่างจากเขื่อนกึซกาลาซือไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร (36 ไมล์)[14][15][16] ปฏิบัติการค้นหาซากเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวกินเวลา 15 ชั่วโมง โดยหลังจากหน่วยกู้ภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดของเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ก็ได้รับการยืนยันการเสียชีวิต

อ้างอิง แก้

  1. "Dams (>15 m) Under Construction in IRAN" (PDF). WRM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
  2. "Construction operation of Khoda Afarin dam power plant was begun". Farab Co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
  3. 3.0 3.1 "Reducing Transboundary Degradation in the Kura-Ara(k)s River Basin (updated transboundary diagnostic analysis)" (PDF). Tbilisi, Georgia; Baku, Azerbaijan; Yerevan, Armenia. September 2013. p. 26.
  4. Азербайджан взял под контроль Худаферинский мост в Карабахе, заявил Алиев [Azerbaijan took control of the Khudafarin Bridge in Karabakh, Aliyev said] (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 18 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2020.
  5. 5.0 5.1 "Reducing Transboundary Degradation in the Kura-Ara(k)s River Basin (updated transboundary diagnostic analysis)" (PDF). Tbilisi, Georgia; Baku, Azerbaijan; Yerevan, Armenia. กันยายน 2013.
  6. سد خداآفرین 30 هزار هکتار از اراضی آذربایجان شرقی را آبیاری خواهد کرد [Khodaafarin dam will irrigate 30 thousand hectares of land in East Azerbaijan] (ภาษาเปอร์เซีย). WNN. 20 เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
  7. "Archaeologists rush to save Bronze Age sites in northwestern Iran". Mehr News Agency (via Payvand Iran News). 2 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2012.
  8. "Grave of a Saka-Scythian Warrior Discovered at Khoda-Afarin Dam Reservoir". The Circle of Ancient Iranian Studies. 8 ธันวาคม 2008.
  9. تکمیل و ساخت سد و نیروگاه‌های "خداآفرین" و "قیزقلعه سی" سرعت می‌گیرد [The completion and construction of the dam and power plants of "Khodaafarin" and "Giz Galasi" is gaining speed]. ایسنا (ภาษาเปอร์เซีย). 27 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2021.
  10. "Farab Co. - Energy & Water Projects". www.farab.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011.
  11. "Azerbaijan, Iran inaugurate Giz Galasi hydroelectric complex on Aras River". Yeni Şafak. 19 พฤษภาคม 2024.
  12. "Ceremony to commission "Khudafarin" hydroelectric complex and inaugurate "Giz Galasi" hydroelectric complex was held with participation of Azerbaijani and Iranian Presidents". Azerbaijan State News Agency. 19 พฤษภาคม 2024.
  13. "Xudanın da afərin dediyi layihə necə həyata keçirildi?" [How was the project that God said was "well done" implemented?] (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Müsavat. 21 ตุลาคม 2020.
  14. "Ebrahim Raisi: What we know about deadly Iran helicopter crash". BBC. 20 พฤษภาคม 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.
  15. Sharma, Divyam, บ.ก. (20 พฤษภาคม 2024). "Turkish Drone Draws Star, Crescent After Finding Iran President's Chopper: The chopper navigated through dense fog and harsh weather and crashed in the mountains of Jofa a few minutes after taking off". ndtv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.
  16. Gambrell, Jon (20 พฤษภาคม 2024). "Iran's president and foreign minister die in helicopter crash at moment of high tensions in Mideast". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง MSN.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้