เขื่อนแก่งกระจาน

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

เขื่อนแก่งกระจาน
ชื่อทางการเขื่อนแก่งกระจาน
ที่ตั้งอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
วันที่เปิดพ.ศ. 2509
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง58 เมตร
ความยาว760 เมตร
ความกว้าง (ที่ฐาน)8 เมตร
กั้นแม่น้ำเพชรบุรี
เรือของชาวบ้านจอดอยู่ริมทะเลสาบแก่งกระจานซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนแก่งกระจาน

เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

โรงไฟฟ้า แก้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจาน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงโดยมีสายส่งไฟฟ้าจากเขื่อนแก่งกระจานไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงชะอำ เป็นระยะทาง 40-41 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าไดั เมื่อเดือนสิงหาคม [1]

ประโยชน์ แก้

เขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการ คือ

  • เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
  • สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย
  • เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

12°54′07″N 99°35′56″E / 12.902°N 99.599°E / 12.902; 99.599