เขาไท่

(เปลี่ยนทางจาก เขาไท่ซาน)

เขาไท่ (จีน: 泰山; พินอิน: Tài Shān) คือภูเขาที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตเมืองไท่อาน มณฑลซานตง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยอดสูงสุดคือ ยอดจักรพรรดิหยก (จีนตัวย่อ: 玉皇顶; จีนตัวเต็ม: 玉皇頂; พินอิน: Yùhuáng Dīng) มีความสูง 1,532.7 เมตร (5,028.5 ฟุต) ตามที่ทางการจีนรายงาน [1] หรือ 1,545 เมตร (5,069 ฟุต) ตามรายงานทางวิชาการ [2]

เขาไท่ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เขาไท่
ประเทศมณฑลซานตง  จีน
ประเภทมรดกโลกแบบผสม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv) (v) (vi) (vii)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มรดกโลก แก้

เขาไท่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 เมื่อปี พ.ศ. 2530[3] ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรม ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก

อ้างอิง แก้

  1. China Announced Elevation of 19 Well-known Mountains เก็บถาวร 2014-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, China Institute of Geo-Environment Monitoring
  2. Yuan Xingzhong; Hong, Liu (2000). "Studies on the diversity of soil animals in Taishan Mountain". Journal of Forestry Research. 11 (2): 109–113. doi:10.1007/BF02856685. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
  3. "Mount Taishan". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้