เขาสามแก้ว

แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย

เขาสามแก้ว เป็นแหล่งโบราณคดีตั้งอยู่ในตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

แผนที่เขาสามแก้ว

ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยแรกที่เริ่มรับอารยธรรมจากดินแดนโพ้นทะเล จากการหาค่าอายุด้วยวิธี C-14 จากถ่านที่ได้จากการขุดค้นพบว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีการอยู่อาศัยเริ่มตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 5–10[1]

ลักษณะของชุมชนจัดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและสถานีการค้า (มีแม่น้ำท่าตะเภาไหลผ่านทางทิศตะวันตกของแหล่งโบราณคดีไหลลงสู่ทะเล) โดยเป็นชุมชนที่มีการแหล่งผลิตอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมแก้วและหิน มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน[2]

จากการสำรวจและขุดค้นโดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2525 ได้พบหลักฐานสำคัญได้แก่กลองมโหระทึกสำริดหุ่นจำลองรูปคน สัตว์ (ช้าง ม้า กวาง) สำริด เครื่องมือเหล็กรูปหอก ใบข้าว รูปขวานขวานหิน ขัดแท่นหินบด มีลายสลักรูปทอนส่วนสถูปและธรรมจักร ลูกปัดและกำไลทำจากหินและแก้ว เครื่องทองรูปพรรณและแผ่นทอง ลูกปัดคาร์เนเลี่ยนแกะสลักอักษรโบราณ จากการรขุดค้นทำวิเคราะห์ได้ว่าบริเวณพื้นที่เขาสามแก้วเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคน 2 ช่วงสมัยคือ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ร่วมสมัยรัตนโกสินทร์[3]

อ้างอิง แก้

  1. "ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนที่เมืองท่าโบราณเขาสามแก้ว". กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์.
  2. เพลงเมธา ขาวหนูนา, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล. "เขาสามแก้ว". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
  3. กรมศิลปากร. "เขาสามแก้ว" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 28 ตุลาคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/