เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการขึ้นทะเบียนของยูเนสโก ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้ชื่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เมื่อปี พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 2,279,500 ไร่ หรือ 3,647 ตารางกิโลเมตร[2] โดยแบ่งออกได้เป็น

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
ที่ตั้งในประเทศไทย
ที่ตั้งจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก
พิกัด15°20′N 98°55′E / 15.333°N 98.917°E / 15.333; 98.917
พื้นที่3,647 ตารางกิโลเมตร (2,279,000 ไร่)
จัดตั้งพ.ศ. 2517
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
บางส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
เกณฑ์พิจารณาธรรมชาติ: (vii), (ix), (x)
อ้างอิง591
ขึ้นทะเบียน2534 (สมัยที่ 15)
พื้นที่364,720 ha (1,408.2 sq mi)

1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก อยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก

2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพื้นที่คงเหลือในนี้มีเนื้อที่ 1,331,062 ไร่[3] โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกมีพื้นที่ถึง 1,331,062 ไร่ เปรียบเทียบง่ายๆ คือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ เสียอีก[4]

ทั้งนี้ชื่อ "ทุ่งใหญ่นเรศวร" สันนิษฐานว่ามาจากในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเคยใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อเตรียมทำศึกกับพม่า [5]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ แก้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารที่สำคัญเช่น แม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีความสูงโดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ ประมาณ 800–1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมีเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งมีความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ หรือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นหรือสัตว์ถิ่นเดียว เช่น ช้างป่า, กระทิง, เสือชนิดต่าง ๆ, ไก่ฟ้าหลังเทา, นกเงือก, เลียงผา, เสือดาว, เสือดำ, หมาใน, นกยูงไทย และแมลงป่าชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Protected Planet (2018). "Thungyai Naresuan Wildlife Sanctuary". United Nations Environment World Conservation Monitoring Centre. สืบค้นเมื่อ 26 December 2018.
  2. รายงานข้อมูลสถิติ พ.ศ. 2553 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  3. "เจาะพิกัด! เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก". กรุงเทพธุรกิจ. 2018-02-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
  4. https://readthecloud.co/travelogue-tung-yai/
  5. 5.0 5.1 "เจาะอาถรรพณ์ 10 เรื่อง 'ทุ่งใหญ่นเรศวร' ผืนป่าใหญ่แห่งตำนาน!". ไทยรัฐ. 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้