เขตพาความร้อน (อังกฤษ: Convection zone) ของดาวฤกษ์ คือขอบเขตช่วงหนึ่งของรัศมีที่ซึ่งพลังงานเคลื่อนที่ออกมาโดยการพาความร้อน ขณะที่ในเขตแผ่รังสีนั้นพลังงานเคลื่อนที่ออกมาด้วยการแผ่รังสี การพาความร้อนของดาวฤกษ์ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของมวลพลาสมาภายในดาว ซึ่งตามปกติจะทำให้เกิดกระแสการพาความร้อนหมุนวน โดยกระแสพลาสมาร้อนหมุนออกมาและกระแสพลาสมาเย็นหมุนกลับไป ในดาวฤกษ์หนึ่งๆ การพาความร้อนเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างของอุณหภูมิมีสูงมาก (เช่น มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วที่ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของดาว) ดาวฤกษ์ทุกดวงจะร้อนที่สุดที่แกนกลาง และเย็นที่สุดที่ชั้นโฟโตสเฟียร์

ภาพวาดแสดงโครงสร้างของดวงอาทิตย์ :
1. แกนกลาง
2. เขตแผ่รังสี
3. เขตพาความร้อน
4. โฟโตสเฟียร์
5. โครโมสเฟียร์
6. โคโรนา
7. จุดมืดดวงอาทิตย์
8. Granules
9. Prominence

ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 1.1 เท่าของดวงอาทิตย์ การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมจะเกิดขึ้นจากวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน มิได้เกิดจากห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน เพราะในวงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจนนั้น อุณหภูมิเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก ที่แกนกลางดาวนั้นร้อนจัดแต่อุณหภูมิก็ลดลงอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นจึงเกิดย่านการพาความร้อนขึ้นซึ่งผสมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนกับฮีเลียมที่เป็นผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ[1]

ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีมวลต่ำ เช่นดาวแคระแดง รวมไปถึงดาวฤกษ์หลังแถบลำดับหลัก เช่น ดาวยักษ์แดง มีแต่ย่านการพาความร้อนตลอดทั้งดวง ไม่มีย่านการแผ่รังสี

อ้างอิง แก้

  1. Brainerd, Jim (February 16, 2005). "Main Sequence Stars". The Astrophysics Spectator. สืบค้นเมื่อ 2007-11-25.

รายการอ้างอิงทั่วไป แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้