เก้าอี้อิง (อังกฤษ: Misericord) หรือ เก้าอี้กรุณา (Mercy seat) เป็นสิ่งที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล เป็นคันไม้สั้น ๆ ที่ยื่นออกมาจากม้านั่งที่พับได้ที่ตั้งอยู่ในบริเวณสวดมนต์หรือร้องเพลงสวดภายในวัดคริสต์ศาสนาเพื่อใช้ยืนอิงเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยระหว่างที่ต้องยืนสวดมนต์นาน ๆ

ม้านั่งทางซ้ายพับขึ้นให้เห็นให้เห็นรูปสลักข้างใต้เป็นคันออกมา ซึ่งใช้เป็นเป็นที่ยืนอิงเวลาเมื่อย
เก้าอี้อิงที่มหาวิหารริพพอน
รายละเอียดเก้าอี้อิงที่วัดเซนต์ลอเร็นซ์ ที่เมืองลัดโลว์แสดงให้เห็น “พฤกษาพักตร์” (Green Man)

ประวัติ แก้

ในสมัยกลางนักบวชต้องยืนสวดมนต์วันละหลายครั้งและครั้งละนาน ๆ และอาจจะนานถึงวันละ 7-8 ชั่วโมง ผู้สูงอายุหรือเจ็บป่วยก็จะใช้ไม้ค้ำได้ ต่อมาก็มีการใช้ “เก้าอี้อิง” (Misericordia ซึ่งแปลตรง ๆ ว่า “ความกรุณา”) การสร้างเก้าอี้ก็เป็นแบบที่พับได้ เมื่อพับขึ้นก็จะมีคันเล็ก ๆ ยื่นออกมาเพื่อให้ผู้ยืนสวนมนต์ยืนอิงลงไปบนคันที่ยื่นออกมาเพื่อช่วยผ่อนคลายความเมื่อย และเมื่อยืนอิงก็จะดูไม่น่าเกลียดว่ากึ่งนั่งสวดมนต์ เพราะคันภายใต้จะมีระดับสูงกว่าที่นั่งเล็กน้อย

งานแกะไม้ทำเก้าอี้อิงก็เช่นงานศิลปะในยุคกลางอย่างอื่นซึ่งจะประณีต และมักจะเป็นฉากที่อาจจะแสดงฐานะของผู้นั่งเป็นนัย โดยเฉพาะที่นั่งที่ใกล้กับแท่นบูชา

เก้าอี้อิงในวัดในอังกฤษเริ่มทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่งานหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เริ่มเป็นงานเลียนแบบของเก่าซึ่งทำให้ไม่มีค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะเท่าใด แคทตาลอกของจี แอล เร็มเนนต์ปี ค. ศ. 1969 ไม่ได้กล่าวถึงงานหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 และรวมเป็นงานสมัยใหม่ แต่ก็มีข้อยกเว้นบางกรณีของงานจากสมัยวิคตอเรียและแม้แต่งานสมัยใหม่บางชิ้น งานชุด “เก้าอี้อิง” จากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีให้เห็นก็ได้แก่เก้าอี้อิงที่มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ แต่เก้าอี้อิงส่วนใหญ่ในอังกฤษสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 15 และจะไม่เป็นศิลปะศาสนาแต่จะเป็นเรื่องชาวบ้านหรือรูปสิ่งนอกศาสนา ซึ่งแปลกสำหรับสิ่งที่เอาไว้ในวัดโดยเฉพาะไว้ใกล้บริเวณที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในวัด

เก้าอี้อิงเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสำนักสงฆ์แต่เมื่อมีการการปฏิรูปศาสนาที่ประเทศอังกฤษ เก้าอี้เหล่านี้ก็ถูกทำลายบ้างหรือแจกไปตามวัดประจำตำบลหรือหมู่บ้านบ้าง ที่ยังเหลืออยู่ก็มาถูกทำลายเอาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยกลุ่มชนที่สนับสนุนลัทธิการทำลายศาสนศิลป์ และโดยนักปฏิรูปสมัยวิคตอเรีย เก้าอี้อิงชุดหนึ่งที่เชสเตอร์ถูกทำลายโดยดีน ฮอว์ซันผู้อ้างว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะเอาไว้ในวัด แต่ของเดิมจากยุคกลางก็ยังเหลืออยู่อีก 43 ตัว “เก้าอี้อิง” จากมหาวิหารลิงคอล์นถูกย้ายไปวังเวสท์มินส์เตอร์ (Westminster Hall) กล่าวกันว่าผู้ที่แกะเก้าอี้อิงมักจะเป็นช่างหัดใหม่ ตัวครูจะแกะสิ่งที่เด่น ๆ กว่า

แม้ว่า เก้าอี้อิง จะถูกทำลายไปมากแต่ก็ยังมีบางแห่งที่ยังมีเก้าอี้ฝืมือดีที่ยังเหลือให้เราชมอยู่เช่นที่วัดเซนต์โบทอฟ ที่เมืองบอสตันแขวงลิงคอล์นเชอร์ ที่อังกฤษที่เรียกกันว่า “ตอ” (The Stump)

อ้างอิง แก้

  • Remnant, G. L. (1969). Misericords in Great Britain (re-issue 1998). Oxford University Press. ISBN 0-19-817164-1

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้