เก้งยักษ์
ภาพจากกล้องวงจรปิด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
อันดับย่อย: Ruminantia
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Muntiacinae
สกุล: Muntiacus
สปีชีส์: M.  vuquangensis
ชื่อทวินาม
Muntiacus vuquangensis
(Wemmer et al., 1998)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเก้งยักษ์
ชื่อพ้อง

เก้งยักษ์ (อังกฤษ: Giant muntjac; ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntiacus vuquangensis) มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งธรรมดา (M. muntjac) แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ามาก สีขนตามลำตัวมีหลากหลาย ทั้งสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ มีเขาเฉพาะตัวผู้ มีลักษณะเด่นคือ เขามีขนาดใหญ่ บางตัวอาจมีกิ่งเขาถึง 3 กิ่ง บางตัวอาจมีแค่ 2 โคนเขาหนากว่าโคนเขาของเก้งธรรมดา

เก้งยักษ์ถือเป็นสัตว์ป่าลึกลับที่ไม่ค่อยปรากฏตัวจึงมีข้อมูลทางวิชาการน้อยมาก แม้แต่รูปถ่ายก็ยังไม่เคยมี จนกระทั่งกลางปี ค.ศ. 2008 ที่เวียดนามสามารถใช้กล้องวงจรปิดจับภาพเก้งยักษ์ขณะหากินในเวลากลางคืนได้เป็นครั้งแรกในโลก

พบว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในพรมแดนระหว่างลาว เวียดนาม และกัมพูชา ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน คาดว่าคงกินอาหารจำพวกเดียวกับเก้งทั่วไป ชาวพื้นเมืองที่เก้งยักษ์อาศัยอยู่มักล่าได้ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง หรือป่าผสมผลัดใบ ในพื้นที่ที่มีความสูงประมาณ 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล[2]

อ้างอิง แก้

  1. Timmins, R. J., Duckworth, J. W. & Long, B. (2008). Muntiacus vuquangensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of endangered.
  2. ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก. สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 130. ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น แก้