ลังกาวี (มลายู: Langkawi) เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย มีสมญานามว่า "อัญมณีแห่งเกอดะฮ์" (มลายู: Permata Kedah; เปอร์มาตาเกอดะฮ์)

อำเภอลังกาวี

Daerah Langkawi
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • อักษรยาวีلڠكاوي
 • จีน浮罗交怡县
 • ทมิฬலங்காவி
จัตุรัสอินทรีที่เมืองกูวะฮ์ ในอำเภอลังกาวี
จัตุรัสอินทรีที่เมืองกูวะฮ์ ในอำเภอลังกาวี
สมญา: 
อัญมณีแห่งเกอดะฮ์ (มลายู: Permata Kedah; เปอร์มาตาเกอดะฮ์), นครแห่งการท่องเที่ยว (Bandaraya Pelancongan)
ที่ตั้งของ เกาะลังกาวี ในรัฐเกอดะฮ์
ที่ตั้งของ เกาะลังกาวี ในรัฐเกอดะฮ์
อำเภอลังกาวีตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
อำเภอลังกาวี
อำเภอลังกาวี
ที่ตั้งของ เกาะลังกาวี ในประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 6°21′N 99°48′E / 6.350°N 99.800°E / 6.350; 99.800
ประเทศธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
รัฐ รัฐเกอดะฮ์
เมืองศูนย์กลางกูวะฮ์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสภาเทศบาลนครท่องเที่ยวลังกาวี
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด478.48 ตร.กม. (184.74 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • ทั้งหมด85,588 คน
 • ความหนาแน่น180 คน/ตร.กม. (460 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (MST)
รหัสไปรษณีย์07xxx
รหัสโทรศัพท์+6-09
ป้ายทะเบียนยานพาหนะKV
เว็บไซต์mplbp.gov.my

ลังกาวีตั้งอยู่ห่างจากเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูลของประเทศไทยเพียง 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองกัวลาปะลิสประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเกอดะฮ์ 51 กิโลเมตร ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเขตร้อนจำนวน 99 เกาะ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและมาเลเซียจากตำนานของมะห์สุหรี สตรีผู้ถูกประหารด้วยความอยุติธรรม โดยนางได้สาปแช่งเกาะลังกาวีไว้ก่อนสิ้นใจ และการนำทายาทรุ่นที่ 7 ของเธอมาถอนคำสาป[2][3]

ที่มาของชื่อ แก้

ชื่อของเกาะลังกาวี โดย "ลัง" ย่อมาจากคำว่า "ฮลัง" (helang) ที่แปลว่า "นกอินทรีสีน้ำตาลแดง"[4] ส่วนนาม "ลังกาวี อัญมณีแห่งเกอดะฮ์" (Langkawi Permata Kedah) ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอับดุล ฮาลิม อันเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีกาญจนาภิเษกส่วนพระองค์ โดยตั้งนามเพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวว่าลังกาวีเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกอดะฮ์[5]

ประวัติ แก้

 
จัตุรัสอินทรี ที่สร้างตามที่มาของชื่อเกาะคือ ฮลัง

มีตำนานมุขปาฐะว่าในอดีตเกาะลังกาวีเคยมีสุลต่านปกครอง ว่ามีสตรีนามมะห์สุหรีมาเป็นชายารองของสุลต่าน[6] (บ้างว่าของอนุชา)[7] และได้ให้กำเนิดโอรสนาม "วันฮาเกม" ด้วยเหตุนี้มะห์สุหรีจึงมีสิทธิเป็นประไหมสุหรีได้เพราะมีบุตรเป็นชาย เป็นที่ริษยาของประไหมสุหรีชายาหลวง ครั้นเมื่อมีการใส่ร้ายว่ามะห์สุหรีคบชู้ องค์สุลต่านสดับเช่นนั้นก็พิโรธ มีบัญชาให้ประหารมะห์สุหรีเสีย ด้วยเหตุนี้นางจึงอธิษฐานว่าหากนางไม่มีความผิดขอให้โลหิตเป็นสีขาว และให้ลังกาวีไม่เจริญไปเจ็ดชั่วอายุคน ครั้นเมื่อเพชฌฆาตแทงกริช สายโลหิตของมะห์สุหรีก็พวยพุ่งเป็นสีขาวดังคำสัตย์และสิ้นใจ ญาติของมะห์สุหรีจึงนำวันฮาเกมไปตั้งรกรากยังภูเก็ต[6][7]

เมื่อครั้งที่ไทรบุรีเป็นส่วนหนึ่งราชอาณาจักรสยาม เกาะลังกาวีเป็นตำบลหนึ่งของมณฑลไทรบุรี ชื่อตำบลเกาะลังกอวี[8] ภายหลังลังกอวีได้พ้นจากการเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษเช่นเดียวกับไทรบุรี (เกอดะฮ์) ครั้นเมื่อรับเอกราชแล้วลังกาวีก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกอดะฮ์อยู่

ในปี พ.ศ. 2529 มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้ริเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงเกาะลังกาวีที่เชื่อว่ามีคำสาปของมะห์สุหรี โดยพัฒนาให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและรีสอร์ต โดยเขาเองได้มีส่วนช่วยในการออกแบบและวางแผนอาคารบนเกาะ[9] และได้นำศิรินทรา ยายี สตรีชาวไทยที่สืบเชื้อสายทายาทรุ่นที่เจ็ดของมะห์สุหรีมาถอดคำสาป[7]

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

อ้างอิง แก้

  1. primuscoreadmin (13 November 2015). "Background". Langkawi Municipal Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  2. "Massa". Utusan Melayu. 1995. p. 7. OCLC 607267271.  
  3. "Mahsuri tale brings thunder and rain". the New Straits Times. June 7, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-05.
  4. Holly Hughes; Sylvie Murphy; Alexis Lipsitz Flippin; Julie Duchaine (14 January 2010). Frommer's 500 Extraordinary Islands. John Wiley & Sons. p. 237. ISBN 978-0-470-59518-3. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.
  5. Majid, Embun (16 July 2008). "It's Langkawi Permata Kedah now". The Star Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  6. 6.0 6.1 "จากคลื่นยักษ์สู่คลื่นห่วงหาอาทรข้ามชาติ ผ่านทายาท "นางพญาเลือดขาว" แห่งอันดามัน". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 11 January 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-24. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  7. 7.0 7.1 7.2 "แกะรอยมนต์ขลัง...เกาะลังกาวี". กระปุกดอตคอม. 19 February 2009. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014.
  8. "ประกาศกระทรวงโยธาธิการ แพนกการไปรสนีย์ เรื่องเปิดออฟฟิศไปรสนีย์อีก 2 ตำบลที่เกาะลังกอวี 1 ที่เมืองกุลิม 1 มณฑลไทรบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๙๕๕. 29 ธันวาคม พ.ศ. 2467.
  9. Anthony Spaeth (9 December 1996). "Bound for Glory". Time magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 13 September 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลังกาวี