นิกายเกลุก (ทิเบต: དགེ་ལུགས་, ไวลี: Dge-lugs, พินอินทิเบต: Gelug) หรือ นิกายเกลุกปา (ทิเบต: དགེ་ལུགས་པ་, ไวลี: Dge-lugs-pa, พินอินทิเบต: Gelug-pa)พัฒนามาจากนิกายกาตัมที่อาจารย์อตีศะวางรากฐานและและอาจารย์จงคาปาเป็นผู้ปฏิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงแล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้นเมื่อ นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เมื่อท่านมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้ เจล ซับเจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสืบทอดผู้นำของสายนิกายเกลุก ผู้นำนิกายเกลุกในปัจจุบันคือผู้ดำรงตำแหน่งดาไล ลามะหรือทะไล ลามะ ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตด้วย

พระสงฆ์ในนิกายนี้ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์เกิดความเชื่อว่า พระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียกพระสอดนัมยาโสว่า ตาแล (ཏཱ་ལའི་) หรือทะไล ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของทิเบตจะถูกเรียกว่า ดาไลลามะ หรือทะไล ลามะ

ทะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศทิเบตทั้งหมด ทำให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 7 (พ.ศ. 2351-2401) ทิเบตได้เข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากประสบความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามเหตุการณ์ของบ้านเมือง เช่น มีนักบวชคริสต์ศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียจางหาย จีนได้เข้าครอบครองทิเบตใน พ.ศ. 2494

ขณะนี้ทะไลลามะผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบตองค์ปัจจุบัน เป็นพระองค์ที่ 14 ทรงพำนักลี้ภัยอยู่ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ทรงเดินทางหลบหนีออกจากทิเบตใน พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา

พระพุทธศาสนาในทิเบตมีหลายนิกาย นิกายเก่าที่นับถือพระปัทมสัมภวะนั้นต่อมาได้ชื่อว่า นิกายญิงมาปะส่วนใหญ่นักบวชในนิกายนี้ เป็นเหล่า งักปะ (โยคีพุทธ) นิกายเกลุกปะ (ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์)และยังมีนิกายอื่นๆอีก อาทิ สาเกียปะ การ์จูปะ โจนังปะ เป็นต้น

คำสอน แก้

นิกายเกลุก เน้นความเคร่งครัดในวินัยเป็นพื้นฐาน ลามะของนิกายนี้ส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ เน้นการสอนทั้งทางพระสูตรที่เป็นวิชาการ และทางตันตระที่เน้นการปฏิบัติ และการวิเคราะห์ธรรมโดยตรรกวิภาษ หัวข้อใหญ่ที่ศึกษาคือ ปัญญาบารมี ปรัชญามาธยมิกะ การรับรู้ที่ถูกต้อง ปรากฏการณ์วิทยา และพระวินัย

บทบาททางการเมือง แก้

ผู้นำของนิกายนี้คือทะไล ลามะ ถือเป็นประมุขของทิเบตตั้งแต่ พ.ศ. 2183

อ้างอิง แก้

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. [ม.ป.ท.] : ศูนย์ไทยทิเบต, 2538.