เกย์เกมส์ (อังกฤษ: Gay Games) เป็นมหกรรมจัดการแข่งขันกีฬาและวัฒนธรรมระดับโลกเพื่อส่งเสริมการยอมรับของความหลากหลายทางเพศทั้งหญิงรักร่วมเพศ, ชายรักร่วมเพศ, รักร่วมสองเพศ และคนข้ามเพศ ซึ่งรวมไปถึงนักกีฬา, ศิลปิน และอาชีพอื่น

พิธีปิดการแข่งขันเกย์เกมส์ 2006 โดยมีพิธีส่งมอบธงให้กับโคโลญ, ประเทศเยอรมนีที่เป็นเจ้าภาพในปีค.ศ. 2010
เหรียญอัมสเตอร์ดัมเกย์เกมส์ 1998 ซึ่งถูกออกแบบโดยมาร์เซล แวนเดอรส์

ครั้งแรกได้มีการก่อตั้งในฐานะ เกย์โอลิมปิก (อังกฤษ: Gay Olympics) ณ ซานฟรานซิสโก สหรัฐ ในปีค.ศ.1982 ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากทอม วอดเดลล์ ซึ่งเป็นนักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 และแพทย์ชาวอเมริกัน พร้อมด้วยเบรนดา ยัง[1] และคณะ[2] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการไม่แบ่งแยกและการร่วมมือตลอดจนการส่งเสริมการเติบโตระดับบุคคลของวงการแข่งขันกีฬา โดยวอดเดลล์ต้องการที่จะสร้างรูปแบบของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นมาใหม่โดยการนำบุคคลจากหลากหลายภูมิภาคมาเข้าร่วมโดยผ่านกีฬาซึ่งถือเป็นภาษาสากล ในการจัดงานครั้งแรกก็ได้มีการยอมรับจากผู้เข้าแข่งขันที่มีความแตกต่างเพื่อบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ[3]

เกย์เกมส์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับโอลิมปิกทั้งการจุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขัน[4] สำหรับรูปแบบเกย์เกมส์ได้เปิดรับผู้เข้าแข่งขันโดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศ และไม่มีมาตรฐานคุณสมบัติของนักกีฬากำหนด ทั้งนี้ทำให้มีผู้เข้าแข่งขันจากหลากหลายประเทศซึ่งรวมไปถึงผู้เข้าแข่งขันที่มาจากประเทศที่การรักร่วมเพศยังผิดกฎหมายและต้องถูกซ่อนเร้น

เกย์เกมส์ 1994 ได้ถูกจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ณ นครนิวยอร์ก เพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 25 ปีของเหตุจลาจลสโตนวอลล์ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันมากกว่าการแข่งขันโอลิมปิกด้วยผู้เข้าร่วมทั้งหมด 10,864 คนเมื่อเทียบกับ 9,356 คนในโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 และ 10,318 คนในโอลิมปิกฤดูร้อน 1996[2]

ฉบับ แก้

ปี ฉบับ เจ้าภาพ
1982 1   ซานฟรานซิสโก, สหรัฐ
1986 2   ซานฟรานซิสโก, สหรัฐ
1990 3   แวนคูเวอร์, ประเทศแคนาดา
1994 4   นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
1998 5   อัมสเตอร์ดัม, ประเทศเนเธอร์แลนด์
2002 6   ซิดนีย์, ประเทศออสเตรเลีย
2006 7   ชิคาโก, สหรัฐ
2010 8   โคโลญ, ประเทศเยอรมนี
2014 9   คลีฟแลนด์-แอเคริน, สหรัฐ
2018 10   ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
2023 11   ฮ่องกง และ   กัวดาลาฮารา, ประเทศเม็กซิโก
2026 12   บาเลนเซีย, ประเทศสเปน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Morse, Rob (2002-10-30). "Perspiration condemnation for N.Y. Games". SFGATE. สืบค้นเมื่อ 2022-07-21.
  2. 2.0 2.1 "The History of LGBT Participation in the Olympics" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 21, 2014.
  3. Routledge handbook of sport, gender and sexuality. Hargreaves, Jennifer, 1937-, Anderson, Eric, 1968-. London. 2014. ISBN 978-0-415-52253-3. OCLC 853494364.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  4. "Cologne gears up to play and party as host to Gay Games" เก็บถาวร มกราคม 24, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.