ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์

ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ (Hawker-Siddeley Harrier) เป็นเครื่องบินรบขึ้นลงทางดิ่งและขึ้นลงระยะสั้นแบบแรก แฮริเออร์ได้รับการพัฒนาจากเครื่องบินวิจัย พี.1127 ของ บริษัทฮอคเกอร์ ซิดเดลีย์ และได้ทำการทดสอบบินในการบินขึ้นแนวดิ่งโดยอิสระเป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งในเวลาต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไข พี-1127 และเปลี่ยนขื่อเป็น เคสเทิล และการบินทั่วไปในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอังกฤษ สหรัฐฯ และ เยอรมันตะวันตก รวมทั้งสิ้นใช้เวลาในการพัฒนาเป็นเวลา 6 ปี[4]

แฮริเออร์ จีอาร์ 1, จีอาร์ 3
เอวี-8 เอ/ซี แฮริเออร์
เอวี-8 เอส มาทาดอร์
A Harrier flies over an aircraft carrier below
เอวี-8 เอส มาทาดอร์ ขณะทำการบิน
หน้าที่ V/STOL [en] เครื่องบินขับไล่
เครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน
ประเทศผู้ผลิต สหราชอาณาจักร
ผู้ผลิต ฮอคเกอร์ ซิดเดลีย์ [en]
เที่ยวบินแรก 28 ธันวาคม ค.ศ. 1967
เริ่มใช้ 1 เมษายน ค.ศ. 1969[1]
สถานะ ปลดประจำการ (2006)
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (ปลดประจำการ)
เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ (ปลดประจำการ)
กองทัพเรือสเปน (ปลดประจำการ)
ราชนาวีไทย (ปลดประจำการ)
การผลิต 1967–1970s
จำนวนที่ถูกผลิต 278[2]
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
£2.5 ล้าน ถึง £3.5 ล้านปอนด์ (1975)[3]
พัฒนาจาก ฮอคเกอร์ ซิดเดลีย์ พี-1127 [en]/ เคสเทริล
พัฒนาเป็น บริติช แอโรสเปซ ซีแฮริเออร์
แม็คดอนเนลล์ ดักลาส เอวี-8บี แฮริเออร์ II
บริติช แอโรสเปซ แฮริเออร์ II [en]
ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์

เครื่องต้นแบบ แฮริเออร์ บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1966 และ แฮริเออร์รุ่นแรกเริ่มประจำการใน กองทัพอากาศอังกฤษ เมื่อ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1969 ในวันที่ 5 มกราคม ปี ค.ศ. 1971 แฮริเออร์ได้ทำสถิติการบินขึ้นลงทางดิ่งจนถึงระยะความสูงกว่า 9,000 เมตร ในเวลา 1 นาที 44.7 วินาที และที่ความสูง 12,000 เมตร ในเวลา 2 นาที 22.7 วินาที แฮริเออร์ได้รับการสั่งสร้างถึงเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 เป็นจำนวนกว่า 220 เครื่องซึ่งมีรุ่นต่าง ๆ[5][4]

เครื่องรุ่นต่าง ๆ แก้

  • แฮริเออร์ จีอาร์ หมายเลข 1,1เอ และ 3 เป็นเจ๊ตสนับสนุนภาคพื้นดิน และ เจ๊ตตรวจการณ์ทางยุทธวิธี
  • แฮริเออร์ ที หมายเลข 2, 2เอ และ 4 เป็นเจ๊ตฝึกทำการรบ 2 ที่นั่ง
  • แฮริเออร์ เอฟอาร์เอส หมายเลข 1 ซีแฮริเออร์ (SEA HARRIER) เป็นเครื่องบินรบทางทะเล ประจำการในเรือรบ
  • แฮริเออร์ หมายเลข50 สร้างจำหน่ายให้แก่หน่วยนาวิกโยธินของสหรัฐฯ และกำหนดสัญลักษณ์ใหม่ว่า เอวี-8 เอ ซึ่งต่อมา แม็คดอนเนลล์ ดักลาส ของสหรัฐอเมริกาได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้าง และ พัฒนาเป็น เอวี-8บี หรือ แฮริเออร์ขึ้นสูง (ADVANCED HARRIER)

สำหรับประเทศไทยนั้น มีเครื่องบินแฮริเออร์แบบ AV-8S (รุ่นที่นั่งเดี่ยว)/TAV-8S (รุ่นที่นั่งคู่) Matador รวมกันจำนวน 9 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินมือสองได้รับจากสเปนพร้อมกับการส่งมอบ เรือหลวงจักรีนฤเบศรและประจำการบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

รายละเอียด แฮริเออร์ แก้

  • ผู้สร้าง: บริษัทฮ็อคเกอร์ ซิดเดลี่ย์ เอวิเอชั่น (ประเทศอังกฤษ) ส่วน รุ่น เอวี-8 บี ผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ ดักลาส(สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท: เจ๊ตสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นดิน และ ตรวจการณ์ทางยุทธวิธี ขึ้นลงทางดิ่งและขึ้นลงระยะสั้น V/STOL (Vertical/Short Take-Off and Landing)
  • เครื่องยนต์: เทอร์โบแฟน รอลส์-รอยซ์ บริสตอล เปคาซุส หมายเลข 103 ให้แรงขับเวกเตอร์ 9,752 ปอนด์ 1 เครื่อง
  • กางปีก: 7.70 เมตร
  • ยาว: 13.91 เมตร
  • สูง: 3.43 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 18.62 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 5,624 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขั้นสูง: 8,165 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง: 0.95 มัค ที่ระยะสูง 305 เมตร
  • อัตราเร็วเดินทาง: 0.8 มัค ที่ระยะสูง 6,096 เมตร
  • รัศมีทำการรบ: 418 กิโลเมตร
  • พิสัยบิน: กว่า 5,560 กิโลเมตร เมื่อเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 1 ครั้ง
  • อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ เอเด็น ขนาด 30 มม. ภายในแฟร็งใต้ลำตัว แฟร็งละ 1 กระบอก พร้อมกระสุน 130 นัด 2 แฟร็ง
    • ลูกระเบิดขนาด 1,000 ปอนด์ ใต้ลำตัวและใต้ปีก
    • กระเปาะยิงจรวด แมทรา 155 บรรจุจรวดขนาด 68 มม. กระเปาะละ 19 นัด ที่ใต้ปีก ข้างละกระเปาะ
    • สามารถบรรทุกอาวุธได้หนักสูงสุด 3,630 กิโลกรัม[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Hawker Siddeley Harrier". Aircraft of the Month (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Tangmere Military Aviation Museum. April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 30 March 2018.
  2. Mason, Francis K. (1991). Hawker Aircraft since 1920. London, UK: Putnam. pp. 421–432. ISBN 0-85177-839-9.
  3. "Harrier Aircraft (Sales to China) (Hansard, 19 December 1975)". api.parliament.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 1 September 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 อภิวัตน์ โควินทรานนท์, อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน, เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์, กรุงเทพ, 2522
  5. สมรภูมิ นสพ.รายสัปดาห์, กรุงเทพ, มิถุนายน 2536, ISSN 0857-0094

แหล่งข้อมูลอื่น แก้