ฮาเก้น-ดาส (อังกฤษ: Häagen-Dazs /ˈhɑːɡəndɑːz/) คือเครื่องหมายการค้าไอศกรีม ก่อตั้งโดยรูเบน (Ruben) และโรส แมททัส (Rose Mattus) ที่เมืองเดอะบร็องซ์ รัฐนิวยอร์ก ในปี 1961 ฮาเก้น-ดาสเริ่มต้นขึ้นด้วยไอศกรีมเพียง 3 รสชาติ ได้แก่ รสวานิลลา ช็อคโกแลต และรสกาแฟ และบริษัท ฮาเก้น-ดาสก็ได้ เปิดตัวร้านขายปลีกร้านแรกขึ้นที่เมืองบรุกลิน รัฐนิวยอร์ก ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1976 ปัจจุบันธุรกิจไอศกรีม ฮาเก้น-ดาส มีเครือข่ายแฟรนไชส์อยู่ทั่วประเทศอเมริกาและในอีกหลายประเทศทั่วโลก จุดเด่นอย่างหนึ่งของไอศกรีมฮาเก้น-ดาสคือ การที่ฮาเก้น-ดาส เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ไอศกรีมที่ไม่ใช้วัตถุเจือปน เช่น กัวกัม, แซนแทน กัม, หรือ คาราจีแนน จากการอ้างอิงในเว็บไซต์ฮาเก้น-ดาส ปัจจุบันพวกเขาเริ่มใช้น้ำเชื่อมจากข้าวโพดในการทำไอศกรีมรสชาติต่าง ๆ เช่น รสวานิลลา สวิส อัลมอนต์ นอกเหนือจากไอศกรีม ฮาเก้น-ดาสยังผลิตไอศกรีมแท่ง ไอศกรีมเค้ก ไอศกรีมจากน้ำผลไม้ โฟรเซ่นโยเกิร์ต และไอศกรีมเจนลาโต้ เพื่อจัดจำหน่ายอีกด้วย

Häagen-Dazs
ประเภทบริษัทย่อย
อุตสาหกรรมค้าปลีก
ก่อตั้งเดอะบร็องซ์, รัฐนิวยอร์ก (1961)
ผู้ก่อตั้งรูเบน (Reuben) และโรส แมททัส (Rose Mattus)
สำนักงานใหญ่โอคแลนด์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์ไอศกรีม
บริษัทแม่เจเนรัลมิลส์ (ประเทศอื่น ๆ)
แผนกเนสท์เล่ ไอศครีม (สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา)
เว็บไซต์HaagenDazs.com
แผนที่สาขาฮาเก้น-ดาสทั่วโลก

ที่มาของชื่อ แก้

แมททัสเป็นผู้คิดค้นตำว่าฮาเก้น-ดาส ซึ่งออกเสียงตามแบบภาษาเดนิช ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงและเพื่อยกย่องการปฏิบัติต่อชาวยิวในประเทศเดนมาร์กเป็นอย่างดีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนั้นเขายังได้รวมเอาแผนที่ประเทศเดนมาร์กไว้ในป้ายตราสินค้าแบบแรก ๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตามชื่อฮาเก้น-ดาสไม่ได้มาจากภาษาเดนิช มันไม่มีทั้งเครื่องหมายบนสระในภาษาเยอรมัน (‘) และ ทวิอักษร (อักษรคู่ที่ออกเสียงเดี่ยว) ทั้งยังไม่มีความหมายหรือประวัติของคำในภาษาใดก่อนมันจะถูกคิดขึ้นมา แมททัสรู้สึกว่าเดนมาร์กเป็นที่รู้จักดีในเรื่องของผลิตภัณฑ์จากนม และมีภาพลักษณ์ในเชิงบวกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1999 ดอริส เฮอร์ลี่ ลูกสาวของแมททัสกล่าวกับสารคดีของสถานีโทรทัศน์ PBS ถึงการคิดค้นชื่อแบรนด์ของพ่อเธอว่า เขานั่งบนโต๊ะในห้องครัวและพูดคำต่าง ๆซึ่งไม่มีความหมายเป็นเวลาหลายชั่วโมง กระทั่งเขาค้นพบคำที่รวมกันแล้วเขาชอบมากที่สุด โดยเหตุผลที่เขาเลือกใช้วิธีนี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อที่มีเอกลักษณ์และไม่เหมือนใคร


กรณีขัดแย้งกับ Frusen Gladje แก้

ในปี 1980 บริษัทฮาเก้น-ดาส ล้มเหลวในการฟ้องร้อง Frusen Gladje ผู้ผลิตไอศกรีมสัญชาติอเมริกันซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกันกับฮาเก้น ดาส ในกรณีที่ Frusen ใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ต่างชาติที่ลักษณะคล้ายกัน วลี Frusen Gladje ที่พูดโดยปราศจากสำเนียงที่คมชัด จะมีความหมายในภาษาสวีเดนว่า หวานเย็น (frozen delight) ในปี 1985 Frusen Gladje ถูกขายให้กับคราฟท์ เจเนรัล ฟู้ดส์ ซึ่งโฆษกหญิงของบริษัทคราฟท์กล่าวว่า คราฟท์ได้ขายใบอนุญาตของ Frusen Gladje ให้กับบริษัทยูนิลีเวอร์ในปี 1993 แต่โฆษกยูนิลีเวอร์อ้างว่าใบอนุญาตของ Frusen Gladje ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ภายหลังจากนั้นมาก็ไม่มีการปรากฏของ Frusen Gladje อีกเลย

สินค้า แก้

ไอศกรีมฮาเก้น-ดาส มีทั้งรสชาติดั้งเดิมหลายรสชาติ และรสชาติเฉพาะของทางร้าน เช่น รสวานิลลา สวิส อัลมอนต์ และ รสบานานา ฟอสเตอร์ ในตลาดไอศกรีม ฮาเก้นถือเป็นแบรนด์ระดับซูเปอร์ พรีเมี่ยม ด้วยเนื้อไอศกรีมที่อัดแน่น (มีฟองอากาศเพียงเล็กน้อยผสมเข้าไปในเนื้อไอศกรีมระหว่างกรรมวิธีทำ) นอกจากนี้ฮาเก้น-ดาส ยังไม่ใช้วัตถุเจือปนอาหารใด นอกเหนือจากไข่แดงและไขมันนมปริมาณมาก ลูกค้าของฮาเก้น-ดาส จะได้รับคำแนะนำให้เก็บรักษาไอศกรีมไว้ในอุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิมาตรฐานที่ใช้เก็บไอศกรีมโดยทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อคงสภาพเนื้อไอศกรีมตามแบบฉบับฮาเก้น-ดาส ไอศกรีมฮาเก้น-ดาส มีวางขายอยู่ทั่วไปทั้งในห้างสรรพสินค้า และร้านขายปลีกฮาเก้น-ดาส ซึ่งจะเสริฟทั้งไอศกรีมโคน ไอศกรีมซันเด และอื่น ๆอีกมากมาย

ประวัติ แก้

1910s แก้

 
สาขาแรกตั้งอยู่ที่ 120 Montague Street, บรุกลิน, นิวยอร์ก

ผู้คิดค้นฮาเก้น-ดาส รูเบน แมททัส เกิดในประเทศโปแลนด์ปี 1912 จากครอบครัวชาวยิว พ่อของเขาเสียชีวิตลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และแม่ของเขาจึงอพยพไปที่นิวยอร์กกับลูกทั้งสองคนในปี 1921 พวกเขาได้เข้าร่วมอยู่อสศัยกับลุงซึ่งมีธุรกิจ lemon-ice สไตล์อิตาเลี่ยนในเมืองบรุกลิน ปลายปี 1920 ครอบครัวนี้ได้เริ่มผลิตไอศกรีม และภายในปี 1929 ไอศกรีมเคลือบช็อคโกแลตแบบแท่งและแซนด์วิชภายใต้ชื่อ Senator Frozen Products ทางใต้ของเมืองบร็องซ์ ถูกขนส่งไปจำหน่ายด้วยรถม้าลากในเมืองข้างเคียงต่าง ๆ แมททัสพบกับ โรส วีเซล ซึ่งเดินทางมานิวยอร์กกับพ่อแม่ชาวโปแลนด์-ยิว จากอังกฤษตอนอายุ 5 ขวบในเมืองบราวน์สวิว บรุกลิน หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย วีเซลเข้าทำงานด้านบัญชีในสภาในปี 1934 และทั้งคู่ได้แต่งงานกันในปี 1936

1950s แก้

บริษัท ซีเนเตอร์ ผลิตภัณฑ์แช่แข็งได้ให้ผลกำไรแก่แมททัส แต่ในปี 1950 โรงงานไอศกรีมขนาดใหญ่เริ่มทำสงครามราคาที่แมททัสไม่สามารถสู้ได้ ด้วยเหตุผลนั้นทำให้แมททัสตัดสินใจทำไอศกรีมระดับไฮเอนด์ขึ้น และในปี 1959 แมททัสตัดสินใจที่จะสร้างบริษัทไอศกรีมใหม่ควบคู่กับการใช้ชื่อที่แมททัสคิดว่าจะให้มีเสียงของภาษาเดนมาร์ก นั้นคือ Häagen-Dazs ที่ตอนนี้เป็นที่รู้จักในอุตสาหกรรมการตลาดในนามแบรนด์ต่างประเทศ

1980s แก้

Haagen-Dazs ถูกซื้อมาโดย พิวส์บูรี่ (Pillsbury) ในปี 1983 และ เจเนรัลมิลส์ (General Mills) ได้ซื้อพิวส์บูรี่ อีกทีในปี 2001 แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ Haagen-Dazs ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา ผลิตโดยบริษัทดรายเออร์ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเนสท์เล่ ซึ่งได้สิทธิ์ตามข้อตกลงซื้อขายบริษัทระหว่างเจเนรัลมิลส์ และ พิวส์บูรี่ ชื่อแบรนด์ยังคงเป็นของเจเนรัลมิลส์ แต่เนสท์เล่ได้ใบอนุญาตการผลิตในอเมริกาและแคนาดา

2000s แก้

เพื่อแก้ไขปัญหาราคาต้นทุนของวัตถุดิบและการจัดส่งของผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น Haagen-Dazs ได้ประกาศในเดือนมกราคม ปี 2009 ที่จะลดขนาดของกล่องไอศกรีมของพวกเขาลงในประเทศสหรัฐอเมริกา จาก 16 ออนซ์สหรัฐ (470 มล.) เป็น 14 ออนซ์สหรัฐ (410 มล.) นอกจากนี้พวกเขาได้ประกาศอีกในเดือนมีนาคม ปี 2009 ว่าพวกเขาจะทำภาชนะบรรจุให้เล็กลง จาก 32 ออนซ์สหรัฐ (950 มล.) เป็น 28 ออนซ์สหรัฐ (830 มล.) เบนแอนด์เจอร์รี่กล่าวว่าพวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดกล่องของพวกเขา และในปี 2009 มีสัญญาณที่จะเชิญชวนชาวต่างชาติมาเปิดร้าน Häagen-Dazs ในนิวเดลีประเทศอินเดีย และนั้นนำไปสู่การร้องเรียน Häagen-Dazs ในอินเดีย

2010 แก้

มกราคม ปี 2011 สินค้าของ Häagen-Dazs เริ่มขายในบางร้านค้าใจกลางเมืองและสนามบินของอเมริกาใต้ นอกจากนั้นHäagen-Dazs ก็ถูกซื้อมาในกรีสโดยกลุ่มบิทสาซิส

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้