ฮาร์เวสต์มูน (เกมชุด)

สตอรีออฟซีซันส์ (อังกฤษ: Story of Seasons[a]) เป็นที่รู้จักในชื่อเกมก่อนหน้าคือ ฮาร์เวสต์มูน (อังกฤษ: Harvest Moon) เป็นเกมจำลองชีวิต, จำลองการบริหารฟาร์มและเล่นตามบทบาทที่สร้างโดยยาซูฮิโระ วาดะ ผลิตโดยมาร์เวลัสในประเทศญี่ปุ่น

สตอรีออฟซีซันส์
ประเภทจำลองชีวิต
จำลองการบริหารฟาร์ม
เล่นตามบทบาท
ผู้พัฒนาแอมคัส (1996)
วิคเตอร์ อินเตอร์แอคทีฟซอฟท์แวร์ (1997 – 2001)
มาร์เวลัส (2003 – ปัจจุบัน)
ผู้จัดจำหน่าย
ผู้จัดสร้างยาซูฮิโระ วาดะ
ระบบปฏิบัติการ
วางจำหน่ายครั้งแรกฮาร์เวสต์มูน
9 สิงหาคม 1996
จำหน่ายครั้งล่าสุดสตอรีออฟซีซันส์: อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์
27 มิถุนายน 2023
ภาคแยก

ก่อนหน้านั้นในช่วงปี 1996 ถึง 2013 แนตซูเมะได้นำเกม โบกูโจ โมโนงาตาริ มาแปลภาษาอังกฤษและเป็นผู้จัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือภายใต้ชื่อ ฮาร์เวสต์มูน จนกระทั่งในปี 2014 มาร์เวลัสได้ประกาศว่า เอกซ์ซีดเกมซึ่งเป็นบริษัทในเครือจะเป็นผู้จัดจำหน่ายและแปลภาษาอังกฤษในเกมภาคล่าสุดในขณะนั้น รวมไปถึงการใช้ชื่อเกมใหม่เป็นสตอรีออฟซีซันส์[1]

กรณีการใช้ชื่อใหม่ แก้

ปี 2012 มาร์เวลัสได้ยกเลิกสัญญาลิขสิทธิ์กับแนตซูเมะ[2] โดยเกมหลักสุดท้ายที่แนตซูเมะได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาร์เวลัสคือ "ฮาร์เวสต์มูน 3ดี: อะนิวบีกินนิง" วางจำหน่ายวันที่ 19 ตุลาคม 2012 ในอเมริกาเหนือ

หลังจากนั้นแนตซูเมะจะดำเนินการจัดจำหน่ายเกมภายใต้ชื่อ "ฮาร์เวสต์มูน" ต่อไป เนื่องจากชื่อ "ฮาร์เวสต์มูน" นั้น แนตซูเมะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเป็นที่เรียบร้อย จึงส่งผลทำให้มาร์เวลัสไม่สามารถใช้ชื่อดังกล่าวเพื่อที่จะจำหน่ายในอเมริกาเหนือได้อีกต่อไป

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2014 แนตซูเมะได้เปิดตัวเกมฮาร์เวสต์มูนของตนเอง โดยที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้พัฒนาเดิมอย่างมาร์เวลัสคือ "ฮาร์เวสต์มูน: เดอะลอสต์วัลเลย์"[3][4] ซึ่งแนตซูเมะได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาใหม่อย่าง "อัพซิ คอร์เปอเรชัน" หลังจากที่เปิดตัวภาคเดอะลอสต์วัลเลย์ ทำให้แฟนเกมบางส่วนและแหล่งข่าวที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมเริ่มสับสนพอสมควร[5][6]

ดังนั้นในปีเดียวกัน มาร์เวลัสได้ประกาศให้บริษัทในเครืออย่างเอกซ์ซีดเกม เข้ามาดูแลในเรื่องการแปลภาษาและจัดจำหน่ายในอเมริกาเหนือแทนที่แนตซูเมะ รวมไปถึงการใช้ชื่อใหม่เป็น "สตอรีออฟซีซันส์"[7] ส่วนเกมหลักสตอรีออฟซีซันส์ หรือชื่อเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น "โบกูโจ โมโนงาตาริ: สึนางารุ ชินเท็นจิ" ได้วางจำหน่ายวันที่ 31 มีนาคม 2015 ในอเมริกาเหนือ

การเล่นขั้นพื้นฐาน แก้

การปลูกและการเก็บเกี่ยว แก้

การปลูกนั้นจะต้องมีจอบ, เมล็ดและบัวรถน้ำ การปลูกจะมีเงื่อนไขบางอย่าง ข้อระวัง และ ระยะเวลาในการปลูกซึ่งจะแตกต่างออกไปในแต่ละภาค การเก็บเกี่ยว:ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่าแต่ละภาคมันแต่ต่าง แต่วิธีการเล่นก็ไม่แตกต่างมากนัก การเก็บเกี่ยวบางภาคต้องใช้เครื่องมือ และ บางภาคก็เก็บมือเปล่าได้เลย อันนี้ขอแบบเสมือนจริงเลยละกัน ต้นไม้บางชนิดอาจต้องเด็ดมาทั้งต้นเช่นมันฝรั่ง และ บางต้นก็เก็บแค่ผลของมันเช่นพวกแอปเปิ้ล มะเขือเทศ

การขายผลผลิต แก้

หลายภาคอาจมีกล่องไม้ไว้สำหรับขายของทุกวัน ๆ แต่บางภาคอาจต้องสั่งขายหรือขายให้กับคนอื่น ภาคที่มีกล่อง ถ้าเราได้ใส่ผลผลิตหรือสิ่งของอื่น ๆ เข้าไปในกล่อง เมื่อถึงเวลาจะมีคนมาซื้อหรืออาจไม่มีคนและเราจะได้รับเงินส่วนนึงจากการขาย

การเลี้ยงปศุสัตว์ แก้

แหล่งรายได้รองในเกมซีรีส์นี้คือการซื้อ การดูแล และเลี้ยงปศุสัตว์ ปศุสัตว์สามารถทำผลผลิตขายได้ในแต่ละวัน โดยผู้เล่นต้องดูแลเอาใจใส่กับสัตว์เหล่านี้ทุกวัน เพื่อจะได้สร้างความผูกพันธ์ต่อผู้เล่นและเพิ่มคุณภาพของผลผลิตที่สามารถขายในราคาที่ต่างจากเดิมได้ หากผู้เล่นละเลยการดูแลสัตว์อาจทำให้เจ็บป่วยและถึงขั้นเสียชีวิตได้

ในเกมภาคแรกมีเพียงวัวและไก่ ซึ่งเลี้ยงอยู่ในโรงนาและเล้าไก่ และเลี้ยงด้วยอาหารชนิดเดียวกัน สามารถขายนมและไข่ได้เช่นเดียวกับสัตว์ด้วย ซึ่งต่อมาได้มีการเพิ่มแกะและแยกอาหารระหว่างไก่และวัวกับแกะ เช่นเดียวกับเครื่องจักรที่สามารถเปลี่ยนนมเป็นชีส, ไข่เป็นมายองเนส และขนสัตว์เป็นไหมพรม โดยเกมภาคหลังผู้เล่นสามารถเลี้ยงเป็ด, แพะ, อัลปากาและวัวที่มีสีแต่งต่างกันได้ ส่วนในฮาร์เวสต์มูน: ทรีออฟทรานควิลลิตี หนอนไหมและนกกระจอกเทศได้ถูกนำมาใช้ในซีรีส์นี้ และเกมภาคนี้ยังทำให้ผู้เล่นสามารถผูกพันธ์กับสัตว์ป่าและชักชวนให้อาศัยอยู่ในฟาร์มของผู้เล่นได้

สัตว์ยังสามารถสืบพันธุ์ได้ โดยผู้เล่นสามารถวางไข่ไก่ในตู้ฟักเพื่อฟักลูกไก่ได้ภายในไม่กี่วัน ส่วนวัวและแกะผู้เล่นใช้น้ำเชื้อตัวผู้ (Miracle Potion) ซึ่งจะทำให้พวกมันตั้งท้อง การซื้อและเพาะพันธุ์ม้าหลายตัวถูกนำมาใช้ใน ฮาร์เวสต์มูน 3 จีบีซี และกลับมาใช้ต่อใน ฮาร์เวสต์มูน: แมจิคัลเมโลดี, ฮาร์เวสต์มูน: ทรีออฟทรานควิลลิตี' ' และ ฮาร์เวสต์มูน: แอนิมอลพาเหรด

เทศกาล แก้

โดยส่วนใหญ่แต่ะภาคจะมีงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในเกมส์ไม่ให้ผู้เล่นรู้สึกจำเจ ในแต่ละเดือนจะมีงานเทศกาลต่างกันไป อาทิเช่น เทศกาลประกวดสัตว์เลี้ยง เทศกาลทำอาหาร เทศกาลตกปลา เป็นต้น บางเทศกาลสามารถเพิ่มค่ามิตรภาพของชาวเมืองหรือค่าความรักของตัวะครที่เราชอบ และอาจมีของหายากต่าง ๆ ที่ได้จากเทศกาลอีกด้วย

การแต่งงาน แก้

เกมซีรีส์นี้ได้เพิ่มระบบการแต่งงานเข้ามา เพื่อให้ผู้เล่นตัวละครผู้ชายและผู้หญิงได้เริ่มต้นชีวิตคู่ ในบางภาคจะไม่มีระบบการแต่งงาน บางภาคตัวละครผู้หญิงไม่สามารถแต่งงานได้และบางภาคตัวละครหญิงได้แต่งงาน หลังจากนั้นเกมจะเข้าสู่เครดิตจบแต่จะจบเกมอย่างสมบูรณ์ ซึ่งระบบการจะแต่งงานนั้น ต้องมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น การทำให้ค่าความรักคู่ครองเต็ม พบเหตุการณ์ความรักให้ครบ และปัจจัยเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ในเกมซีรีส์นี้สิ่งที่ใช้ในการแต่งงานมาบางภาคส่วนใหญ่คือ "ขนนกสีน้ำเงิน" หากนำไปให้คู่ครองที่มีค่าความรักเต็มและทำเงื่อนไขเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นการยอมรับขนนกสีน้ำเงินเพื่อเป็นการตกลง ผ่านไปสักพักผู้เล่นและคู่ครองจะเข้าพิธีแต่งงาน หลังจากผ่านเหตุการณ์แต่งงานจะมีการเข้าเครดิตเกมและผู้เล่นสามารถเล่นเกมต่อไปได้ โดยหลังแต่งงานคู่ครองจะเรียกผู้เล่นว่าอะไรก็ได้หรือเลือกตามที่เกมกำหนดให้

การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้เพิ่มเข้ามาครั้งแรกใน "ฮาร์เวสต์มูน ดีเอสคิวต์" เวอร์ชันญี่ปุ่น ที่ผู้เล่นตัวละครผู้หญิงจะสามารถแต่งงานกับผู้หญิงด้วยกันได้ (เรียกระบบนั้นว่า "เพื่อนสนิท") แต่ในเวอร์ชันอเมริกาเหนือได้ตัดส่วนนั้นออกไป[8]

หลังจากนั้นในเกมภาคทำใหม่ "สตอรีออฟซีซันส์: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์" ได้นำระบบการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันกลับมาอีกครั้ง โดยในเวอร์ชันตะวันตก คู่รักเพศเดียวกันจะได้รับการปฏิบัติเหมือนกับคู่รักเพศตรงข้าม ส่วนสำหรับเวอร์ชันญี่ปุ่นนั้น จะไม่ได้เรียกว่าระบบแต่งงานสำหรับเพศเดียวกัน แต่จะเรียกระบบนั้นว่าเพื่อนสนิท ซึ่งได้นำกลับมาอีกครั้ง[9]

การมีลูก แก้

การมีลูกในซีรีส์เกมนี้ บางภาคสามารถมีลูกเพียงคนเดียว บางภาคอาจมีลูกมากกว่าหนึ่งคน หรือบางภาคลูกของผู้เล่นในเกมสามารถเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ได้

โดยการมีลูกนั้น มีได้หลังการแต่งงานเสร็จสิ้น สักพักคู่รักผู้หญิงหรือผู้เล่นตัวละครผู้หญิงก็สามารถเจอเหตุการณ์การตั้งครรภ์ หลังจากนั้นคู่รักผู้หญิงหรือผู้เล่นตัวละครผู้หญิงจะได้ลูกชาย, ลูกสาวหรือได้จากการเลือกเพศกำเนิดเด็กทารกของผู้เล่นเองในบางภาคของเกม

หรืออีกกรณีหนึ่ง ของเกมภาคทำใหม่ "สตอรีออฟซีซันส์: เฟรนด์ออฟมิเนอร์รัลทาวน์" ได้เพิ่มการอุปการะเด็กทารกจากนางฟ้าในกรณีที่ผู้เล่นมีคู่รักเป็นเพศเดียวกัน[10]

เกมในชุด แก้

อ้างอิง แก้

  1. XSEED Games Tells a STORY OF SEASONS on Nintendo 3DSเก็บถาวร 2014-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Harvest Moon And Beyond, What's Next For Natsume?". Siliconera. 18 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
  3. Whitehead, Thomas (3 June 2014). "Natsume Announces Harvest Moon: The Lost Valley for a 2014 Release on 3DS". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
  4. Campbell, Evan (3 June 2014). "Harvest Moon: The Lost Valley Announced - IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
  5. "So what the hell is happening with Harvest Moon?". Destructoid. 6 June 2014. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
  6. "Harvest Moon is no longer the game you grew up with". Polygon. 20 June 2016. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
  7. Moriarty, Colin (28 May 2014). "Harvest Moon Returns in Story of Seasons on 3DS". IGN. สืบค้นเมื่อ 28 October 2015.
  8. Rea, Jasmine Maleficent (21 June 2010). "Harvest Moon and Same-Sex Relationships". Bitmob. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
  9. XSEEDGames (2020-05-02). "STORY OF SEASONS: Friends of Mineral Town Localization Blog #1". XSEED Games (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-14. สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.
  10. "Ushi no Tane xS3 - Having a Child". Ushi no Tane - A Harvest Moon and Story of Seasons Free Help Site (ภาษาอังกฤษ). Cherubae. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)"

หมายเหตุ แก้

  1. เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาญี่ปุ่นคือ ญี่ปุ่น: 牧場物語โรมาจิBokujō Monogatariทับศัพท์: โบกูโจ โมโนงาตาริ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้