แฮแรร์

(เปลี่ยนทางจาก ฮาราร์)

แฮแรร์ (แฮแรรี: ሀረር;[3] โอโรโม: Adare Biyyo;[4] อามารา: ሐረር; โซมาลี: Herer; อาหรับ: هرر) หรือชื่อในอดีต แฮแรร์เกย์ (แฮแรรี: ሀረርጌይ)[5] หรือ เกย์ (แฮแรรี: ጌይ; แปลว่า นคร)[6] เป็นเมืองในกำแพงเมืองทางตะวันออกของประเทศเอธิโอเปีย เมืองยังมีสมญานามในภาษาอาหรับว่า "นครแห่งนักบุญ" (อาหรับ: مدينة الأَوْلِيَا) แฮแรร์เป็นเมืองหลวงของรัฐแฮแรรี เมืองโบราณแฮแรร์ตั้งอยู่บนยอดเขาทางตะวันออกของเอธิโอเปีย ห่างจากกรุงอาดดิสอาบาบาออกไปราว 5,000 กิโลเมตร ที่ความสูง 1,885 เมตร (6,184 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล

แฮแรร์
จากบนและซ้ายไปขวา: ประตูบาโดร; พิพิธภัณฑ์เชอรีฟ; มัสยิดญาเมียะอ์; โบสถ์ Chesa Selassie; ภาพรวมเมืองจากระยะไกล
สมญา: 
นครแห่งนักบุญ
แฮแรร์ตั้งอยู่ในเอธิโอเปีย
แฮแรร์
แฮแรร์
แฮแรร์ตั้งอยู่ในจะงอยแอฟริกา
แฮแรร์
แฮแรร์
แฮแรร์ตั้งอยู่ในแอฟริกา
แฮแรร์
แฮแรร์
พิกัด: 9°18′40″N 42°7′40″E / 9.31111°N 42.12778°E / 9.31111; 42.12778
ประเทศ เอธิโอเปีย
รัฐแฮแรรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีOrdin Bedri
ความสูง1,885 เมตร (6,184 ฟุต)
ประชากร
 (2007)[1]
 • ทั้งหมด99,368 คน
 • ประมาณ 
(2021)[2]
153,000 คน
เขตเวลาUTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก)
ชื่อทางการแฮแรร์ญูกอล เมืองโบราณในกำแพงเมือง
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iii, iv, v
อ้างอิง1189
ขึ้นทะเบียน2006 (สมัยที่ 30)
พื้นที่48 ha

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่แฮแรร์เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เชื่อมต่อเส้นทางการค้าเข้ากับส่วนที่เหลือของเอธิโอเปีย รัฐจะงอยแอฟริกา คาบสมุทรอาหรับ เอเชีย และทั่วโลกผ่านทางท่าเรือของเมือง ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเมืองเก่าภายในกำแพงเมือง (ซึ่งเรียกว่า "แฮแรร์ยูโกล") เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี 2006 โดย[7] และรัฐบาลเอธิโอเปียยังออกคำสั่งให้การทำลายหรือรบกวนสิ่งปลูกสร้างโบราณสถานในแฮแรร์เป็นความผิดตามกฎหมาย สิ่งปลูกสร้างที่ว่านี้รวมถึงบ้านหิน พิพิธภัณฑ์ และวัตถุที่ทิ้งจากสมัยสงคราม ยูเนสโกระบุว่าเมืองแฮแรร์ถือเป็น "เมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับที่ 4 ของศาสนาอิสลาม" ในเมืองประกอบด้วยมัสยิดรวม 82 แห่ง (สามแห่งในจำนวนนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10) และศาลเจ้ามุสลิมอีก 102 แห่ง[8][9]

เอกสาร Fatḥ Madīnat Harar ที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ของ Yahyá Naṣrallāh ซึ่งว่าด้วยประวัติศาสตร์ของนครแฮแรร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 บันทึกไว้ว่า นักบุญ Abadir Umar ar-Rida ในตำนาน และผู้นำทางศาสนาคนอื่น ๆ ได้มาตั้งรกรากในที่ราบสูงแฮแรร์เมื่อประมาณ ค.ศ. 1216 (ฮ.ศ. 612)[10] ต่อมาแฮแรร์กลายมาเป็นราชธานีแห่งใหม่ของรัฐสุลต่านอาดัลใน ค.ศ. 1520 โดยสุลต่าน Abu Bakr ibn Muhammad เป็นผู้สถาปนา[11]

อ้างอิง แก้

  1. "Population and Housing Census 2007 – Harari Statistical" (PDF). Central Statistical Agency. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Population Projection Towns as of July 2021" (PDF). Ethiopian Statistics Agency. 2021. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
  3. Leslau, Wolf (1959). "An Analysis of the Harari Vocabulary". Annales d'Ethiopie. 3: 275. doi:10.3406/ethio.1959.1310.
  4. Wehib, Ahmed (October 2015). History of Harar and Harari (PDF). Harari people regional state, culture, heritage and tourism bureau. p. 45.{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  5. Mordechai, Abir. TRADE AND POLITICS IN THE ETHIOPIAN REGION 183O-1855 (PDF). University of London. p. 246.
  6. Baynes-Rock, Marcus. Among the Bone Eaters Encounters with Hyenas in Harar. Penn State University Press.
  7. "Panda sanctuary, tequila area join UN World Heritage sites". Un.org. 2006-07-13. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  8. "Harar Jugol, the Fortified Historic Town". World Heritage List. UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 6 August 2009. It is considered 'the fourth holy city' of Islam, having been founded by a holy missionary from the Arabic Peninsula.
  9. "Five new heritage sites in Africa". BBC. July 13, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-18. Harar Jugol, seen as the fourth holiest city of Islam, includes 82 mosques, three of which date from the 10th Century, and 102 shrines.
  10. Siegbert Uhlig, Encyclopaedia Aethiopica: He-N, Volume 3, (Otto Harrassowitz Verlag: 2007), pp.111 & 319.
  11. Richard Pankhurst, History of Ethiopian Towns (Wiesbaden: Franz Steiner Verlag, 1982), p. 49.