ฮะซัน อัลบันนา

(เปลี่ยนทางจาก ฮาซัน อัลบันนา)

ชัยค์ ฮะซัน อะห์มัด อับดุรเราะห์มาน มุฮัมมัด อัลบันนา (อาหรับ: حسن أحمد عبد الرحمن محمد البنا; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1906 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949) รู้จักกันในชื่อ ฮะซัน อัลบันนา (อาหรับ: حسن البنا) เป็นครูและอิหม่ามชาวอียิปต์ที่เป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อตั้งอิควานมุสลิมีน หนึ่งในองค์กรฟื้นฟูอิสลามที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุด[9]


ฮะซัน อะห์มัด อับดุรเราะห์มาน มุฮัมมัด อัลบันนา
حسن أحمد عبد الرحمن محمد البنا
ส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม ค.ศ. 1906(1906-10-14)
มรณภาพ12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949(1949-02-12) (42 ปี)
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
สัญชาติชาวอียิปต์
สำนักคิดฮัมบะลี[1]
ลัทธิอะชาอิเราะฮ์ (มุเฟาวิเฎาะฮ์)[2]
ขบวนการนวยุคนิยม[3]
ลัทธิอิสลาม[4]
ลัทธิศูฟีใหม่[5]
พรรคการเมืองอิควานมุสลิมีน
สำนักศึกษาดารุลอุลูม
โรงเรียนอิสลามอัชชาษิลียะฮ์ (สาขา Hasafi)[6][7]
ตำแหน่งชั้นสูง
มีอิทธิพลต่อ
ผู้ก่อตั้งและ General Guide ของอิควานมุสลิมีนในอียิปต์คนแรก
ดำรงตำแหน่ง
1928–1949
ก่อนหน้า(จัดตั้งตำแหน่ง)
ถัดไปฮะซัน อัลฮุฎ็อยบี

ประวัติ แก้

ฮาซัน อัลบันนา เกิดที่เมืองมะห์มูดียะฮ์ จังหวัดญีซะฮ์ ประเทศอียิปต์ จากครอบครัวสามัญชน บิดาของเขาประกอบอาชีพเป็นผู้จัดการการสมรส เขาฉายแววการเป็นผู้นำตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย มีความโดดเด่นกว่าเพื่อนอายุคราวเดียวกัน จึงได้รับโหวตเสียงให้ดำรงตำแหน่งนายก "สมาคมอบรมจรรยา" (جمعية الأخلاق الأدبية) ตั้งแต่กำลังศึกษาระดับประถม ฮาซัน อัลบันนา ยังไม่หยุดยั้งความกระตือรือร้นแต่เพียงเท่านี้ เขายังก่อตั้ง "สมาคมยับยั้งสิ่งต้องห้าม" (جمعية منع المحرمات) ร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นสมาคมที่ไม่ขึ้นกับโรงเรียนที่เขาศึกษาอยู่ เมื่อเขาเดินทางไปศึกษาต่อโรงเรียนมุอัลลิมีน ณ จังหวัดดามันฮูร เขาก็ก่อตั้ง"สมาคมประพฤติดีอย่างแน่วแน่" (الجمعية الحصافية الخيرية) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเผยแผ่จริยธรรมดีงาม และยับยั้งสิ่งโสมมที่มีอยู่อย่างดาษดื่น หลังจากนั้นเขารับการศึกษาต่อโรงเรียน ดารุลอูลูมอัลอุลยา ณ กรุงไคโร และได้เข้าร่วมชมรม"เกียรติแห่งจริยธรรมอิสลาม "(جمعية مكارم الأخلاق الإسلامية، ) ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาคมเดียวที่มีอยู่ในกรุงไคโร เขามักพบปะกับปราชน์ทางศาสนาในมัสยิดต่างๆเพื่อรับฟังโอวาทจากท่านเหล่านั้น

อ้างอิง แก้

  1. Shaimaa Fayed." :(2012)
  2. sayf ibn ali al-asri. al-qawl al-tamam (ภาษาอาหรับ). dar al-fath li al-dirasat wa al-nashr. pp. 10–11.
  3. Ryan, Patrick J. "Fellow Travelers?." Commonweal 137.13 (2010): 23. "Not as intellectually acute as Afghani and 'Abduh, Hassan al-Banna nevertheless took his heritage from the same modernist school"
  4. Kramer, Gudrun (2010). Makers of the Muslim World: Hassan al Banna. Oneworld Publications, 10 Bloomsbury Road, London WC1B 3SR, England: One World Publishers. p. 1. ISBN 978-1-85168-430-4.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  5. R. Halverson, Jeffrey (2010). Theology and Creed in Sunni Islam. New York: Palgrave Macmillan. pp. 62, 65. ISBN 978-0-230-10279-8.
  6. Mchugo, John (2013). A CONCISE HISTORY OF THE ARABS. The New Press, New York, 2013: The New Press. p. 136. ISBN 978-1-59558-950-7.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  7. Kramer, Gudrun (2010). Makers of the Muslim World: Hassan al Banna. Oneworld Publications, 10 Bloomsbury Road, London WC1B 3SR, England: One World Publishers. pp. 14–16, 23, 30. ISBN 978-1-85168-430-4.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  8. Introduction to Princeton Readings in Islamist Thought: Texts and Contexts from Al-Banna to Bin Laden, pg. 26. Part of the Princeton Studies in Muslim Politics series. Eds. Roxanne Leslie Euben and Muhammad Qasim Zaman. Princeton: Princeton University Press, 2006. ISBN 9780691135885
  9. "Hasan al-Banna – Islamic Studies – Oxford Bibliographies – obo". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-01. สืบค้นเมื่อ 2017-01-08.