ฮะรอม (อาหรับ: حَرَام, [ħaˈraːm]) เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่แปลว่า ต้องห้าม[1]: 471  ซึ่งอาจอิงถึง: บางสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามผู้คนที่ยังไม่บริสุทธิ์หรือเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ "การกระทำมันถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม" ในนิติศาสตร์อิสลาม ฮะรอมถือเป็นการกระทำที่ห้ามโดยอัลลอฮ์และเป็นหนึ่งในห้าข้อบัญญัติอิสลาม (الأحكام الخمسة‎, อัลอะฮ์กามุลค็อมซะฮ์) ที่เป็นตัวกำหนดศีลธรรมของมนุษย์[2]

การกระทำที่เป็นฮะรอมมักถูกห้ามในคำภีร์กุรอานและซุนนะฮ์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามสูงสุด ถ้าบางสิ่งถือว่าเป็นฮะรอม มันก็คงเป็นเช่นนั้นโดยไม่สำคัญว่าจะมีเจตนาที่ดีหรือจุดประสงค์ที่น่ายกย่องแค่ไหนก็ตาม[3] ฮะรอม จะถูกแปลงเป็นวัตถุโน้มถ่วงในวันพิพากษา ซึ่งจะถูกตั้งบนมีซาน (ตาชั่ง).[4][5] และแต่ละมัซฮับมีมุมมองกับสิ่งที่เป็นฮะรอมไม่เหมือนกัน[6]

ภาพรวม แก้

การกระทำที่เป็นฮะรอมมีผลทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและถือว่าเป็นบาป[7]

พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน..."

โดยการนำคำว่า "คุณประโยชน์" ที่ตรงข้ามกับคำว่า "โทษ" ในโองการที่ 2:219 ของอัลกุรอาน ยืนยันว่า ฮะรอม คือสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย ตามความจริงแล้ว ทุกสิ่งมีความหมายกับคู่ตรงข้ามของมัน; เช่น ถ้าไม่มีความหนาว เราจะไม่รู้ว่าความร้อนเป็นอย่างไร ดังนั้น บาปคือสิ่งที่ทำให้เราบาดเจ็บ เมื่อพระองค์ตรัสว่า "ห้าม" นั้น หมายถึง "อย่าทำร้ายตนเอง" หลักอิสลามได้กล่าวถึง ฮะรอม ว่า ถ้าบางสิ่งถูกห้ามหรือต้องห้าม ดังนั้น อะไรก็ตามที่นำไปหามันคือ การกระทำที่ฮะรอม ไม่จำกัดต่อบุคคลที่ทำในสิ่งที่ต้องห้ามเท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงผู้ที่สนับสนุนให้ทำบาปด้วย[8]

ห้าประเภทของ الأحكام الخمسة, อัลอะฮ์กามุลค็อมซะฮ์ หรือลำดับการกระทำตั้งแต่อนุญาตถึงไม่อนุญาตเป็นไปตามนี้:[2][9]

  1. واجب / فرض (ฟัรฎ์/วาญิบ) – "ภาคบังคับ"/"หน้าที่"
  2. مستحب (มุสตะฮับบ์) – แนะนำ, "เป็นที่น่าพอใจ"
  3. مباح (มุบาฮ์) – เป็นกลาง, "อนุญาตให้ทำได้"
  4. مكروه (มักรูฮ์) – ไม่ชอบ, "หมดกำลังใจ"
  5. حرام (ฮะรอม) – บาป, "ต้องห้าม"

ฮะรอมแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่:

  1. الحرام لذاته (อัลฮะรอม ลิซาติฮ) – การห้ามเพราะแก่นแท้ของมันและก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลนั้น
  2. الحرام لغيره (อัลฮะรอม ลิฆ็อยริฮ) – ถูกห้ามเพราะเหตุผลภายนอกที่ไม่ค่อยมีพิษภัย แต่มีส่วนกับสิ่งที่ต้องห้าม[10]
    • ทรัพยสินที่ได้มาจากการทุจริต เช่น เงินที่ได้จากการโกง, การขโมย, ทุจริต, ฆาตกรรม และดอกเบี้ย หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

ในทางศาสนา ฮะรอม ตามอัลกุรอาน แบ่งได้เป็น:

  • การกระทำ เช่น การแช่ง, การผิดประเวณี, ฆาตกรรม และไม่ให้เกียรติพ่อแม่ของตน
  • นโยบาย เช่น ริบา (กินดอก, ดอกเบี้ย)
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เนื้อหมูและแอลกอฮอล์
  • วัตถุ, อาหาร หรือการกระทำที่ฮะลาลในบางครั้ง ถือว่าเป็นฮะรอมในบางสถานการณ์ เช่น อาหารและเครื่องดื่มฮะลาลในช่วงเราะมะฎอน หรือวัวและสัตว์อื่น ๆ ที่ฮะลาล ไม่ได้ถูกเชือดตามวิถีอิสลาม
  • การไม่ทำบางอย่าง เช่นไม่ละหมาด

ประเภทการกระทำที่ต้องห้าม แก้

อาหารและสิ่งมึนเมา แก้

ในศาสนาอิสลาม การห้ามการกระทำหรือวัตถุที่ไม่ดีถูกสังเกตการณ์โดยมุสลิม เพื่อให้สอดคล้องไปตามคำสั่งในอัลกุรอาน[11]

เกี่ยวกับเนื้อฮะรอมนั้น มุสลิมถูกสั่งห้ามไม่ให้กินเลือดที่กำลังไหล เนื้อบางชนิดเป็นฮะรอม เช่นหมู, สุนัข, แมว, ลิง หรือสัตว์ฮะรอมตัวอื่น โดยจะกินได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่หิวโหย และจำเป็นต้องกินเนื้อเหล่านี้[12] อย่างไรก็ตาม ถ้าสังคมยังมีอาหารเพียงพอ ก็ไม่จำเป็นต้องกินเนื้อฮะรอมนี้ อาหารฮะรอมจะไม่เป็นที่อนุญาตเมื่อบุคคลในสังคมยังสามารถเข้าถึงอาหารได้ เพราะสังคมอิสลามเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกัน และควรแจกอาหารฮะลาลแก่มุสลิมด้วยกัน[13] เนื้อบางชนิดจะยังคงฮะรอม ถ้าสัตว์ไม่ได้เชือดอย่างถูกวิธี การเชือดที่ฮะลาลจะต้องใช้มีดคม โดยสัตว์ต้องไม่เห็นมันก่อนถูกเชือด[14] สัตว์ต้องหลับและกินอย่างเพียงพอก่อนเชือด และการเชือดต้องไม่อยู่ต่อหน้าสัตว์ตัวอื่น[14] การเชือดจะต้องตัดเพียงครั้งเดียวผ่านช่องคอ โดยต้องตัดให้เร็ว เพื่อให้สัตว์รู้สึกเจ็บน้อยที่สุด ในระหว่างที่กำลังเชือด ผู้เชือดต้องอ่านพระนามอัลลอฮ์ โดยกล่าวว่า "บิสมิลลาฮ์"[15][16] สัตว์ตัวใดที่ถูกเชือดในนามพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์จะถือว่าเป็นฮะรอม

มีโองการอัลกุรอานอยู่หลายอันที่มีการห้ามกินเนื้อบางประเภท:

ที่จริงที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มันเพื่ออื่นจากอัลลอฮ์ แล้วผู้ใดได้รับความคับขัน โดยมิใช่ผู้เสาะแสวงหา และมิใช่เป็นผู้ละเมิดขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงเมตตาเสมอ

และมีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? ที่พวกเข้าไม่บริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮ์ถูกกล่าวบนมัน ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่ง ที่พระองค์ได้ทรงห้ามแก่พวกเจ้า นอกจากสิ่งที่พวกเจ้าได้รับความคับขันให้ต้องการ มันเท่านั้น และแท้จริงมีผู้คนมากมายทำให้ผู้อื่นหลงผิดไป ด้วยความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเขาโดยปราศจากความรู้แท้จริง พระเจ้าของเจ้านั้นคือผู้ที่ทรงรอบรู้ยิ่งต่อผู้ละเมิดทั้งหลาย

แอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม โดยค็อมร์เป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดความมึนเมา[17] รายงานจากนักเทววิทยาซะละฟี ท่านศาสดาประกาศว่าการห้ามไม่ได้มีแค่ไวน์เท่านั้น แต่ได้รวมไปถึงเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นที่ทำให้ผู้คนมึนเมา ท่านศาสดาได้ห้ามขายสิ่งมึนเมาเหล่านี้ แม้แต่คนที่ไม่ใช่อิสลามก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่ได้รับอนุญาตที่มุสลิมมีส่วนร่วมในนำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำงานหรือครอบครองสถานที่ขายสิ่งมึนเมาเหล่านี้[18] การให้สิ่งมึนเมาเป็นของขวัญถือว่าฮะรอมด้วย[19]

มีฮะดีษหลายอันที่ห้ามกินเนื้อบางประเภทและสิ่งมึนเมาในศาสนาอิสลาม:

รายงานจากอบูษะละบะฮ์: ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้สั่งห้ามกินเนื้อของสัตว์มีเขี้ยว

— บันทึกโดยบุคอรี

รายงานจากอบูซะอีด: ท่านศาสดาได้กล่าวว่า: "อัลลอฮ์ทรงห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในที่นี้ได้รวมถึงผู้ที่ครอบครองมัน พวกเขาจะไม่ดื่มและไม่ขายมัน"

— บันทึกโดยมุสลิม

การแต่งงานและชีวิตครอบครัว แก้

อิสลามได้ห้ามซินาอย่างเด็ดขาด ไม่สำคัญว่าจะเป็นการร่วมประเวณี หรือมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ไม่ได้แต่งงานทั้งสองคนก็ตาม ตามโองการอัลกุรอานได้กล่าวถึงการห้ามประเภทนี้ว่า:

และพวกเจ้าอย่าเข้าใกล้การผิดประเวณี แท้จริงมันเป็นการลามกและทางอันชั่วช้า

และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮ์ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮ์ทรงห้ามไว้...

การหย่า แก้

รายงานจากยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี การหย่าในตอนที่ผู้หญิงอยู่ในช่วงประจำเดือนเป็นที่ต้องห้าม เพราะในช่วงประจำเดือน การมีเพศสัมพันธ์จะถือว่าเป็นฮะรอม จึงเป็นไปได้ว่าความคิดเกี่ยวกับการหย่ามาจากความเก็บกดทางเพศหรือความตึงตัวของเส้นประสาทของฝ่ายชาย[20] และไม่อนุญาตให้มุสลิมสาบานว่าจะหย่ากัน ซึ่งก่อให้เกิดคำพูดว่าถ้าเหตุการณ์ใดไม่เกิดขึ้น ก็จะหย่ากัน และก่อให้เกิดคำขู่ว่าถ้าพวกเขา/เธอไม่ทำบางอย่าง ก็จะหย่ากัน[21]

จริยธรรมทางธุรกิจ แก้

ริบา เช่น กินดอก กับดอกเบี้ย เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลามทุกรูปแบบ โดยดอกเบี้ยขัดแย้งกับหลักซะกาตที่ให้ทรัพย์สินไหลจากคนรวยไปสู่คนจน ริบาเป็นที่ต้องห้ามเพราะมันเก็บทรัพย์สินให้อยู่กับคนรวยและอยู่ห่างจากคนยากจน และเชื่อว่าริบาทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัวและมีความโลภ[22][23]

ธุรกิจและการลงทุนที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างยุติธรรมหรือให้ฟรีถือว่าเป็นฮะรอม เช่น การให้สินบน, การขโมย และการพนัน ดังนั้น ธุรกิจที่หลอกลวงและไม่ซื่อสัตย์ทุกรูปแบบกลายเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม[22][24]

มีโองการอัลกุรอานได้กล่าวห้ามจริยธรรมทางธุรกิจที่ไม่ดีไว้ว่า:

โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินดอกเบี้ยหลายเท่าที่ถูกทบทวีและพวกเขาพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ

อัลลอฮ์จะทรงให้ดอกเบี้ยลดน้อยลงและหมดความจำเริญ และจะทรงให้บรรดาที่เป็นทานเพิ่มพูนขึ้น และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้เนรคุณ ผู้กระทำบาปทุกคน

มรดก แก้

เป็นสิ่งที่ฮะรอมสำหรับพ่อที่กีดกันลูก ๆ ของเขาจากมรดก และพ่อที่กีดกันผู้หญิงหรือลูกของภรรยาที่ไม่ได้เป็นคนโปรดจากมรดกก็ถือว่าฮะรอม ที่มากไปกว่านั้น การที่ญาติคนหนึ่งกีดกันญาติอีกคนที่มีสิทธิได้รับมรดกผ่านกลอุบายต่าง ๆ ก็ถือว่าฮะรอมเช่นกัน[25]

เสื้อผ้าและเครื่องประดับ แก้

ในศาสนาอิสลาม ผู้ชายถูกสั่งห้ามไม่ให้ใส่เครื่องประดับทองและผ้าไหม แต่ผู้หญิงยังคงใส่ได้ ตราบที่ไม่ได้ใช้เพื่อดึงดูดกับผู้ชาย (นอกจากสามีของเธอ) การห้ามนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักการอิสลามเพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย[26]

เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้หญิงในการใส่เสื้อที่ไม่ปกคลุมร่างกายตามหลักศาสนาและเสื้อที่ดูเห็นข้างใน ที่มากไปกว่านั้น การห้ามได้เพิ่มไปถึงความงามที่เกิดจากการเสริมความงามทางร่างกาย การปรับเปลี่ยนที่เป็นฮะรอมในศาสนาอิสลามคือรอยสักและดัดฟันให้สั้น[27]

อิสลามได้ห้ามมุสลิมใช้เครื่องใช้ที่ทำมาจากทองและเงินกับผ้าไหมบริสุทธิ์ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงชีวิตอันหรูหราฟุ่มเฟือยในบ้านของตน[28] รูปปั้นต่าง ๆ ถูกห้ามไม่ให้มีในบ้าน และมุสลิมถูกห้ามไม่ให้มีส่วนร่วมในการสร้างรูปปั้น เพราะทำให้ความคิดของตนสับสนเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์[29]

ชิรก์ แก้

การสักการะพระเจ้าองค์อื่นนอกจากอัลลอฮ์ถือว่าเป็นบาป ตามโองการอัลกุรอานว่า:

จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงฉันถูกห้ามมิให้เคารพสักการะ บรรดาผู้ที่พวกท่านวิงวอนกันอยู่ อื่นจากอัลลอฮ์ จวงกล่าวเถิดฉันจะไม่ปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกเจ้า ถ้าเช่นนั้นแน่นอน ฉันก็ย่อมหลงผิดไปด้วย และฉันก็จะไม่ใช่เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ได้รับคำแนะนำ

และฮะดีษกล่าวถึงการทำชิรก์ไว้ว่า:

รายงานจากอิบน์ มัลอูดไว้ว่า มุฮัมมัดได้กล่าวว่า: "ใครก็ตามที่เสียชีวิตโดยที่สักการะพระเจ้าองค์อื่นคู่กับอัลลอฮ์ ก็จะถูกเข้าไปในนรก"

— บันทึกโดยบุคอรี

ตัวอย่าง แก้

ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น

  1. การตั้งภาคีต่ออัลลอหฺ
  2. การแหนงหน่ายต่อความเมตตาของอัลลอหฺ
  3. การหมดหวังในความเมตตาต่ออัลลอหฺ
  4. การเชื่อว่าสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอหฺ
  5. การสังหารชีวิตผู้ไม่มีความผิด
  6. การเนรคุณต่อมารดาและบิดา
  7. การตัดขาดจากญาติพี่น้อง
  8. การกินทรัพย์สินของลูกกำพร้าโดยอธรรม
  9. การกินดอกเบี้ย
  10. การผิดประเวณี
  11. การรักร่วมเพศระหว่างชาย
  12. การใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์ว่าทำผิดประเวณีหรือรักร่วมเพศ
  13. การดื่มสุราเมรัยและเสพยาเสพติด
  14. การอยู่กับการละเล่นบันเทิง
  15. การฟังหรือขับร้องเพลงและเล่นดนตรี
  16. การพูดโกหก
  17. การสาบานเท็จ
  18. การเป็นพยานเท็จ
  19. การไม่ยอมให้การหรือเป็นพยาน
  20. การผิดสัญญา
  21. การทำลายไม่รับผิดชอบสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
  22. การขโมยลักทรัพย์
  23. การหลอกลวง
  24. การบริโภค อุปโภคสิ่งที่ได้มาโดยทุจริตวิธี
  25. การไม่ยอมจ่ายหนี้หรือเหนี่ยวรั้งทรัพย์สินของผู้อื่น
  26. การหนีจากสงครามศาสนา
  27. การกลับคืนสู่อวิชชาหลังจากได้เรียนรู้สัจธรรมอิสลามแล้ว
  28. การฝักใฝ่กับผู้อธรรม
  1. การไม่ช่วยเหลือผู้ถูกอธรรม
  2. การเรียนและทำคุณไสย
  3. ความฟุ่มเฟือย
  4. ความเย่อหยิ่งทรนง
  5. การต่อสู้กับศรัทธาชน
  6. รับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่ไม่ได้ถูกเชือดตามหลักศาสนา
  7. การละทิ้งการนมาซ
  8. การไม่จ่ายซะกาต
  9. การไม่ใยดีต่อการทำหัจญ์
  10. การละทิ้งกฎบัญญัติศาสนา เช่น การถือศีลอด ญิฮาด การสั่งทำความดี การห้ามทำความชั่ว การภักดีต่อบรรดาอิมาม การผละตนออกจากศัตรูบรรดาอิมาม
  11. การทำบาปเล็กบาปน้อยจนเป็นกิจวัตร
  12. การนินทากาเล
  13. การยุยงให้ผู้คนแตกแยกกัน
  14. การวางแผนหลอกลวงผู้อื่น
  15. อิจฉาริษยา
  16. การกักตุนสินค้าจนทำให้ข้าวยากหมากแพง
  17. การตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศรัทธาชน
  18. การรักร่วมเพศระหว่างหญิง
  19. การเป็นแมงดาหรือแม่เล้าติดต่อให้แก่โสเภณี การยินยอมให้ภารยาและบุตรีผิดประเวณี
  20. การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
  21. การทำการอุตริในศาสนา
  22. การพิพากษาคดีด้วยความฉ้อฉล
  23. การทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่ คือ ซุลกออิดะหฺ ซุลฮิจญะหฺ มุฮัรรอม และรอญับ นอกจากจะเป็นฝ่ายถูกรุกราน
  24. การล่วงละเมิดสิทธิของศรัทธาชนด้วยการล้อเล่น เหยียดหยาม ด่าทอ
  25. การหักห้ามกีดกันผู้อื่นเข้าสู่สัจธรรม
  26. การเนรคุณต่อคุณงามความดีของอัลลอหฺ
  27. การก่อเหตุวุ่นวายในสังคม
  28. การขายอาวุธแก่ที่ก่อความไม่สงบสุข
  29. การใส่ร้ายผู้อื่น
  30. การไม่ให้ความเคารพต่ออัลลอหฺ
  31. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อกะอฺบะหฺ
  32. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อมัสยิด
  33. การที่บุรุษสวมใส่ผ้าไหม
  34. การใช้ภาชนะทำด้วยทองคำและเงิน

โทษทัณฑ์ของผู้ผ่าฝืนกฎบัญญัติห้าม แก้

มุกัลลัฟที่ฝ่าฝืนกฎบัญญัติห้ามจะถูกลงโทษในสองรูปแบบคือ

1. การลงทัณฑ์โดยรัฐอิสลาม เพื่อรักษารักษาความเป็นระเบียบในสังคม เช่น ลงทัณฑ์ฆาตกร ผู้ผิดประเวณี ขโมย ผู้ดื่มสุรา

2. การลงโทษในวันปรโลก อันเป็นหน้าที่ของอัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้า

บุคคลที่ฝ่าฝืนกฎบัญญัติห้ามจะได้รับการลุแก่โทษในวันปรโลกได้หากสำนึกผิด (เตาบัต) แต่การลุโทษโดยรัฐอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Mohammad Taqi al-Modarresi (26 March 2016). The Laws of Islam (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Enlight Press. ISBN 978-0994240989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
  2. 2.0 2.1 Adamec, Ludwig (2009). Historical Dictionary of Islam, 2nd Edition. Lanham: Scarecrow Press, Inc. p. 102. ISBN 9780810861619.
  3. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 26.
  4. American-Arab Message – p. 92, Muhammad Karoub – 2006
  5. The Holy City: Jerusalem in the theology of the Old Testament – p. 20, Leslie J. Hoppe – 2000
  6. The Palgrave Handbook of Spirituality and Business – p. 142, Professor Luk Bouckaert, Professor Laszlo Zsolnai – 2011
  7. Faruki, Kemal (March 1966). "Al-Ahkam Al-Khamsah: The Five Values". Islamic Studies. 5: 43.
  8. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 22.
  9. Gibb, H. A. R. (editor) (1960). The Encyclopaedia of Islam. Leiden, The Netherlands: E. J. Brill. p. 257. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. Mohammad Mahbubi Ali; Lokmanulhakim Hussain (9 February 2013). "A Framework of Income Purification for Islamic Financial Institutions". Proceeding of Sharia Economics Conference: 109.
  11. Siddiqui, Mona (2012). The Good Muslim. Cambridge University Press. p. 88.
  12. Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 75.
  13. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 46.
  14. 14.0 14.1 Chaudry, Dr. Muhammad Munir; Regenstein, Joe M. (2009). "Animal Welfare Policy and Practice: Cultural and Religious Issues" (PDF). OIE: Organisation for Animal Health. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  15. Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 76.
  16. Samiullah, Muhammad (Spring 1982). "The Meat: Lawful and Unlawful in Islam". Islamic Studies. 21 (1): 77.
  17. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 67.
  18. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 68.
  19. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 70.
  20. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 207.
  21. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 208.
  22. 22.0 22.1 Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 53.
  23. Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 54.
  24. Samiullah, Muhammad (Summer 1982). "Prohibition of Riba (Interest) & Insurance in the Light of Islam". Islamic Studies. 2. 21: 58.
  25. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 226.
  26. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 82.
  27. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 85.
  28. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 96.
  29. Al-Qardawi, Yusuf (1999). The Lawful and the Prohibited in Islam. American Trust Publications. p. 99.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้