อุบัติการณ์ซีเกินทอเลอร์

อุบัติการณ์ซีเกินทอเลอร์ (อังกฤษ: Seigenthaler incident[1]) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือน พฤษภาคม 2005 เมื่อกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าไปแก้ไขสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับชีวประวัติของ จอนน์ ซีเกินทอเลอร์นักข่าวที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ในบทความได้เขียนใส่ร้ายซีเกินทอเลอร์ว่ามีส่วนรู้เห็นใน การลอบสังหาร ประธานาธิบดีสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดีโดยไม่ถูกตรวจพบเลยเป็นเวลานานถึงสี่เดือน[2] เขาเรียกวิกิพีเดียว่าเป็น "เครื่องมือวิจัยที่บกพร่องและไร้ความรับผิดชอบ"[2] จอห์น ซีเกินทอเลอร์ ผู้ก่อตั้งผู้อำนวยการกองบรรณาธิการของยูเอสเอทูเดย์ และผู้ก่อตั้งฟรีดอมฟอรัมเฟิสท์อะเมนด์เมนท์เซ็นเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ได้โทรศัพท์ไปหาจิมมี เวลส์ และถามเขาว่าเวลส์รู้เห็นกับผู้ที่สอดแทรกข้อมูลที่ผิดหรือไม่ เวลส์ตอบว่าเขาไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ตัวผู้กระทำได้ถูกตามจนพบในภายหลัง[3][4] เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพิสูจน์ยืนยันได้ของบทความชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดให้รัดกุมยิ่งขึ้น

ซีเกินทอเลอร์ในเดือน ตุลาคม 2005

อ้างอิง แก้

  1. Cohen, Noam (August 24, 2009). "Wikipedia to Limit Changes to Articles on People". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 7, 2012.
  2. 2.0 2.1 Seigenthaler, John (2005-11-29). "A False Wikipedia 'biography'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  3. Thomas L. Friedman The World is Flat, p. 124, Farrar, Straus & Giroux, 2007 ISBN 978-0-374-29278-2
  4. "Founder shares cautionary tale of libel in cyberspace By Brian J. Buchanan". Firstamendmentcenter.org. 2005-11-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้