อุทยานแห่งชาติโกโมโด

อุทยานแห่งชาติโกโมโด (อินโดนีเซีย: Taman Nasional Komodo) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ระหว่างจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกกับจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก อุทยานประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ คือ เกาะโกโมโด เกาะรินจา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งยังมีเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย ซึ่งเกาะเหล่านี้กำเนิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,817 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,135,625 ไร่ (ส่วนที่เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร หรือ 376,875 ไร่) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโกโมโด ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก[1] และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางธรรมชาติยุคใหม่อีกด้วย[1][2]

อุทยานแห่งชาติโกโมโด *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
มังกรโกโมโดในเขตอุทยาน
พิกัด8°36′00.1″S 119°25′16.3″E / 8.600028°S 119.421194°E / -8.600028; 119.421194
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(vii), (x)
อ้างอิง609
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
อุทยานแห่งชาติโกโมโด
ที่ตั้งอินโดนีเซีย
พื้นที่1,735 กม² [1], 2,193.22 กม² (มรดกโลก)
จัดตั้งพ.ศ. 2523
มังกรโคโมโดสะกดรอยตามกวาง

กิจกรรมดำน้ำเป็นที่นิยมในอุทยานแห่งชาติโกโมโด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลาแสงอาทิตย์ กระเบนราหู กระเบนนก ม้าน้ำแคระ ปลากบตัวตลก ทากเปลือย หมึกวงแหวนสีน้ำเงิน ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม และปะการัง[3]

รวมถึงเส้นทางเดินสำรวจธรรมชาติ ทางอุทยานได้แบ่งเส้นทางเดินออกเป็น 3 สาย คือ สายไกล, สายกลาง และสายสั้น โดยมากนักท่องเที่ยวจะนิยมดูและถ่ายภาพมังกรโกโมโด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานจะเดินตามไปด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากมังกรโกโมโดที่จะทำร้ายนักท่องเที่ยว โดยใช้เพียงไม้ง่ามเพียงชิ้นเดียว หากมังกรโกโมโดเข้าใกล้จะใช้ไม้นี้แยงตา ก็จะล่าถอยไป[1]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทางอุทยานได้รับการสนับสนุนจาก The Nature Conservancy (TNC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนการจัดการอุทยานใหม่ร่วมกัน และนำไปใช้ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาของทรัพยากรทางทะเลส่วนใหญ่เริ่มมาจากชุมชนชาวประมงและบริษัทเชิงพาณิชย์ภายนอกอุทยาน แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมและจำกัดการใช้ทรัพยากรจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอุทยาน ซึ่งมีทางเลือกในการดำรงชีวิตน้อยนอกจากต้องรอรับสิ่งที่ทางอุทยานจัดหาให้ จึงมีแผนการวางแนวทางเลือกในการดำรงชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการอุทยาน แต่ชุมชนภายในอุทยานยังต้องการได้รับผลประโยชน์ตามมาตรฐานที่ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย [4]

มรดกโลก แก้

 
โคโมโดบนเกาะรินกา

อุทยานแห่งชาติโกโมโดได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
  • (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "สุดหล้าฟ้าเขียว: Indonesia". ช่อง 3. 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.
  2. New 7 Wonders of the world, retrieved 29 December 2011
  3. Novia D. Rulistia, 'Under the seas in Komodo,' The Jakarta Post, 26 June 2013.
  4. WALHI 2003, Dhume, 2000, Jurassic Showdown’, Far Eastern Economic Review, March 16th, pp.50-52

แหล่งข้อมูลอื่น แก้