อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่ง และป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี ติดกับชายแดนประเทศพม่า

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
ยอดเขาช้างเผือก
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
พิกัด14°41′34″N 98°24′13″E / 14.69278°N 98.40361°E / 14.69278; 98.40361
พื้นที่1,236 ตารางกิโลเมตร (772,000 ไร่)
จัดตั้ง23 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ผู้เยี่ยมชม112,332 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
น้ำตกจ๊อกกระดิ่น
เนินช้างศึก

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

 
เนินช้างศึก
 
ยอดเขาช้างเผือก

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ–ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นจำนวนน้อย ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100–1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง[1] ยอดเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาช้างเผือก เขานิซา เขาพุถ่อง เขาด่าง เขาปาก ประตู เขาเลาะโล เขาประหนองโทคี เขาชะโลง ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่าง ๆ เช่น ห้วยมาลัย ห้วยกบ ห้วยซ่าน ห้วยองค์พระ ห้วยปีคี ห้วยปากคอก ห้วยเจ็ดมิตร ฯลฯ โดยไหลลงสู่ที่ราบทิศตะวันออก ลงสู่เขื่อนเขาแหลม และลำน้ำอีกส่วนไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์–เดือนเมษายน
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–เดือนกรกฎาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–เดือนมกราคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า แก้

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิร์นต่าง ๆ เตย และปาล์ม เป็นต้น
  2. ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวก ปาล์ม ข่า และเฟิร์นต่าง ๆ เป็นต้น
  3. ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่าง ๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่างได้แก่ มอสส์ และเฟิร์นต่าง ๆ เป็นต้น
  4. ป่าเบญจพรรณ พบมากที่สุด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร้ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน ที่พบเห็นเป็นประจำได้แก่

การเดินทาง แก้

รถยนต์ แก้

จากกรุงเทพมหานครถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 หรือถนนแสงชูโต สายกาญจนบุรี–ทางผาภูมิ ถึงตลาดอำเภอทองผาภูมิ ระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร จากตัวอำเภอทางผาภูมิ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3272 สายทองผมภูมิ–บ้านไร่–ปิล๊อก ถึงสามแยกบ้านไร่เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางคนเคี้ยวบนเขา จนไปถึงอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ซึ่งจะตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 24–25

รถโดยสารประจำทาง แก้

  • จากสถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี และต่อรถประจำทางสายกาญจนบุรี–ทองผาภูมิ ลงที่ตลาดอำเภอทองผาภูมิ จากนั้นต่อรถสายประจำทางสายทองผาภูมิ–บ้านอีต่อง ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
  • จากสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ ขึ้นรถประจำทาง บขส. 999 ซื้อตั๋วได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋วหมายเลข 21 ชั้น 1 รถเที่ยวแรกออกตี 5 ราคาค่าโดยสาร 227 บาท ไปลงที่ทองผาภูมิ หลังจากนั้นต่อรถประจำทางไปอุทยานแห่งชาติ (เป็นรถสองแถวสีเหลือง) อีก 70 บาท (ควรจะขึ้นรถจากกรุงเทพฯคันแรก ตอนตี 5 ไม่งั้นจะไม่ทันรถประจำทางคันสุดท้าย)

สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยาน แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-05. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.