อุทยานแห่งชาติคลองลาน

อุทยานในจังหวัดกำแพงเพชร

อุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นอุทยานแห่งชาติในจังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่มากกว่า 260,000 ไร่ หรือ (416 ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 4 ตำบลได้แก่ ตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ภายในเขตอุทยานมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ น้ำตกคลองลาน น้ำตกคลองน้ำไหล แก่งร้อยเกาะ เป็นต้น

อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกคลองลาน
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองลาน
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติคลองลาน
ตำแหน่งที่ตั้งอุทยานในประเทศไทย
ที่ตั้งอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร  ไทย
พิกัด16°11′59″N 99°12′07″E / 16.19972°N 99.20194°E / 16.19972; 99.20194พิกัดภูมิศาสตร์: 16°11′59″N 99°12′07″E / 16.19972°N 99.20194°E / 16.19972; 99.20194
พื้นที่423.79 ตารางกิโลเมตร (264,866.89 ไร่)[1]
จัดตั้ง26 ธันวาคม 2525
ผู้เยี่ยมชม167,316 คน[2] (ปีงบประมาณ 2559)
หน่วยราชการสำนักอุทยานแห่งชาติ

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่ แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส

  • ฤดูร้อน อากาศร้อนในตอนกลางวัน ในเดือนเมษายนอุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว อากาศเย็นสบาย ในเดือนธันวาคมอุณหภูมิต่ำสุด 17 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี

ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แก้

สภาพป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติคลองลาน ประกอบด้วย ป่าดงดิบแล้ง ขึ้นที่ระดับความสูงมากกว่า 500 เมตร ป่าเบญจพรรณประมาณร้อยละ 13.33 ของพื้นที่อุทยาน ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดงดิบร้อยละ 35.60 ของพื้นที่อุทยาน นอกจากนี้ยังมีป่าเต็งรัง พบในระดับความสูงประมาณ 400–600 เมตร และป่าไผ่ เป็นต้น

พบสัตว์เลี้ยงลูกในอุทยานแห่งชาติคลองลานทั้งหมด 92 ชนิด พบนกทั้งหมด 82 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 26 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 35 ชนิด และปลา 30 ชนิด โดยมีสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เด่นๆ คือ นากใหญ่ขนเรียบ ชะมดเช็ด แมวป่า เสือลายเมฆ เขียดหลังปุ่มที่ราบ กบนา และเต่าหวาย เป็นต้น

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ส่วนภูมิสารสนเทศ. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "รายงานสรุปพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พื้นที่รวม 72.046 ล้านไร่ (คำนวณในระบบ GIS)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.dnp.go.th/gis/รูปอัพเว็บ/สรุปพื้นที่ป่า.pdf 2557. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.
  2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "ตารางที่ 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555–2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dnp.go.th/statistics/2559/ตาราง 10 จำนวนผู้เข้าไปท่องเที่ยวในอุทยาน ปี 2555-2559 (1ก.พ.60).xls 2560. สืบค้น 3 สิงหาคม 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้