อุทกภัยในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2553

อุทกภัยในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2553 เริ่มขึ้นในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 หลังเกิดฝนมรสุมตกหนักในหลายภูมิภาคของประเทศปากีสถาน และมีผลกระทบต่อที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ประมาณหนึ่งในห้าของพื้นที่ปากีสถานทั้งหมดจมใต้น้ำ คิดเป็นราว 796,095 ตารางกิโลเมตร[3][4][5] ตามข้อมูลของรัฐบาลปากีสถาน อุทกภัยดังกล่าวมีผลกระทบโดยตรงต่อประชากรราว 20 ล้านคน ส่วนใหญ่จากการทำลายล้างทรัพย์สิน การดำรงชีพ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยมียอดผู้เสียชีวิตเกือบ 2,000 คน[1]

อุทกภัยในประเทศปากีสถาน พ.ศ. 2553
ภาพถ่ายดาวเทียมของนาซา แสดงแม่น้ำสิทธุขณะเกิดอุทกภัย
วันที่26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553–สิงหาคม พ.ศ. 2553
เสียชีวิต1,781+[1]
ทรัพย์สินเสียหาย43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (ประมาณการ)

เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ บัน คี มูน แต่แรกได้เรียกร้องเงิน 460 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นความช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยระบุว่าอุทกภัยครั้งนี้เป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่สุดที่เขาเคยเห็น แต่จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการส่งเงินช่วยเหลือมาเพียง 20% จากที่ร้องขอเท่านั้น[6] สหประชาชาติกังวลว่าความช่วยเหลือจะมาถึงไม่ทันการณ์ และองค์การอนามัยโลกรายงานว่า ประชาชนสิบล้านคนถูกบีบให้ดื่มน้ำที่ไม่ปลอดภัย[7] เศรษฐกิจปากีสถานถูกทำลายหนักอันเกิดจากความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างพื้นฐานและพืชผลอย่างกว้างขวาง[8] ความเสียหายต่อโครงสร้างนั้นถูกประเมินว่าเกิน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และพืชผลข้าวสาลีประเมินว่าได้รับความเสียหายเกิน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] ผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งสิ้นอาจเกิน 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10][11]

สาเหตุ แก้

อุทกภัยครั้งนี้ได้รับอิทธิพลจากฝนมรสุมมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน[12] แผนที่ฝนตกผิดปกติซึ่งตีพิมพ์โดยนาซา แสดงให้เห็นฝนมรสุมหนาแน่นผิดปกติ อันคาดว่าเป็นผลจากปรากฏการณ์ลานีญา[13] วันที่ 21 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาปากีสถานเตือนว่าอุทกภัยในเขตเมืองและน้ำป่าไหลหลากอาจเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนทางตอนเหนือของประเทศ[14] กรมดังกล่าวได้บันทึกปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปกติในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม พ.ศ. 2553[15] และเฝ้าระวังการเปลี่ยนรูปของคลื่นอุทกภัย (flood wave progression)[16] ปริมาณฝนตกนั้นเทียบได้กับเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยเมื่อ พ.ศ. 2531, 2538 และ 2540[17] ปริมาณฝนฤดูมรสุมทั่วประเทศ พ.ศ. 2553 เกิน 87% และสูงที่สุดนับแต่ พ.ศ. 2537 และมากที่สุดเป็นอันดับสองในช่วงระยะเวลาห้าสิบปีหลังสุด[18]

บทความในนิวไซแอนทิสต์คาดว่าสาเหตุของปริมาณฝนผิดปกติเกิดขึ้นจาก "การแข็ง" ของลมกรด[19] ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับรายงานว่ายังเป็นสาเหตุของคลื่นความร้อนและไฟป่าในรัสเซียอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นเดียวกับอุทกภัยในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2550[20]

ในการรับมือกับอุทกภัยแม่น้ำสินธุใน พ.ศ. 2516 และ 2519 ที่ผ่านมา ปากีสถานได้แต่งตั้งคณะกรรมการอุทกภัยกลาง (FFC) ใน พ.ศ. 2520 FFC ดำเนินการภายใต้กำกับกระทรวงน้ำและพลังงานของปากีสถาน มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการควบคุมอุทกภัยและคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของชาวปากีสถานจากผลกระทบของอุทกภัย นับแต่ก่อตั้ง FFC ได้รับงบประมาณแล้ว 87,800 ล้านรูปีปากีสถาน (ราว 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เอกสาร FFC แสดงให้เห็นว่าหลายโครงการได้ริเริ่มขึ้น ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่รายงานยังชี้ว่าแท้จริงแล้วมีการดำเนินการเพียงเล็กน้อยเพราะผู้นำไร้ประสิทธิภาพและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[21]

อุทกภัยและผลกระทบ แก้

อุทกภัย แก้

 
ภาพดาวเทียมของหุบแม่น้ำสินธุตอนบน เปรียบเทียบระดับน้ำเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (บน) กับ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (ล่าง)

ฝนฤดูมรสุมพยากรณ์ว่าจะตกต่อไปจนถึงต้นเดือนสิงหาคม และบรรรยายว่าเลวร้ายที่สุดในพื้นที่นี้ใน 80 ปีหลัง[22] กรมอุตุนิยมวิทยาปากีสถานรายงานว่ามีฝนตกเกิน 200 มิลลิเมตรในช่วง 24 ชั่วโมงในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาและรัฐปัญจาบ[23] ฝนตกทำลายสถิติ 274 มิลลิเมตรในเปศวาร์ในช่วง 24 ชั่วโมง[24] สถิติครั้งก่อน คือ 187 มิลลิเมตรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552[25] จนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม มีประชาชนมากกว่า 500,000 คนต้องย้ายออกจากบ้าน[22] วันที่ 30 กรกฎาคม Manuel Bessler หัวหน้าสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ แถลงว่ามี 36 เขตได้รับผลกระทบ และมีประชาชนเดือดร้อน 950,000 คน[26] แม้เพียงหนึ่งวัน ตัวเลขรายงานได้เพิ่มขึ้นเป็นสูงถึงหนึ่งล้านคน[27] และจนถึงกลางเดือนสิงหาคม ทางสำนักงานฯ ได้เพิ่มตัวเลขเป็นเกือบ 20 ล้านคนได้รับผลกระทบ[28]

จนถึงกลางเดือนสิงหาคม ตามข้อมูลของคณะกรรมการอุทกภัยกลางของรัฐ อุทกภัยครั้งนี้ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,540 คน ขณะที่อีก 2,088 คนได้รับบาดเจ็บ บ้านเรือนถูกทำลายไป 557,226 หลัง และอีกมากกว่า 6 ล้านคนพลัดถิ่น[21] หนึ่งเดือนให้หลัง ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นเป็นเสียชีวิต 1,781 คน ได้รับบาดเจ็บ 2,966 คน และบ้านเรือนมากกว่า 1.89 ล้านหลัง ถูกทำลาย[1]

รัฐมนตรีสารสนเทศรัฐไคเบอร์-ปัคตุนควา Mian Iftikhar Hussain ว่า "โครงสร้างพื้นฐานของรัฐนี้ถูกทำลายลงแล้วจากการก่อการร้าย อะไรก็ตามที่หลงเหลืออยู่ถูกอุทกภัยครั้งนี้ทำลายสิ้น"[29] เขายังเรียกอุทกภัยนี้ว่า "หายนะครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของเรา"[30] ชาวปากีสถานสี่ล้านคนถูกทิ้งให้ขาดแคลนอาหาร[31]

ทางหลวงคอราคอรัม ซึ่งเชื่อมปากีสถานกับจีน ปิดลงหลังสะพานถูกทำลาย[32] อุทกภัยทำลายล้างที่กำลังดำเนินอยู่ในปากีสถานจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้ว ตามข้อมูลของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ นอกเหนือไปจากความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยแล้ว น้ำที่มากับอุทกภัยได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานสาธารณสุขไปมากในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ทิ้งให้ผู้อยู่อาศัยเผชิญกับโรคที่มากับน้ำ[33] ในรัฐสินธ์ แม่น้ำสินธุล้นฝั่งใกล้กับเมือง Sukkur เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม และจมหมู่บ้านแห่งหนึ่ง[31] กฎหมายและความสงบเรียบร้อยหมดไป ในรัฐสินธ์เป็นหลัก โจรฉวยโอกาสน้ำท่วมนั้นปล้นสะดมบ้านที่ถูกทิ้งโดยใช้เรือ[34]

 
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ในต้นเดือนสิงหาคม อุทกภัยที่หนักที่สุดได้เลื่อนลงมาทางใต้ตามแม่น้ำสินธุจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทางเหนือไปยังรัฐปัญจาบตะวันตก ที่ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมอย่างน้อย 1.4 ล้านเอเคอร์ถูกทำลาย[31] และมุ่งต่อไปยังรัฐสินธ์ทางใต้[35] พืชผลที่ได้รับผลกระทบมีฝ้าย อ้อย ข้าว ถั่ว ยาสูบและอาหารสัตว์ น้ำที่มากับอุทกภัยและฝนได้ทำลายฝ้าย 700,000 เอเคอร์, ข้าวและอ้อยอย่างละ 200,000 เอเคอร์, ข้าวสาลี 500,000 ตัน และอาหารสัตว์ 300,000 เอเคอร์[36][37] ตามข้อมูลของสมาคมคนปั่นฝ้ายแห่งปากีสถาน (Pakistan Cotton Ginners Association) อุทกภัยครั้งนี้ได้ทำลายฝ้ายไป 2 ล้านมัด ซึ่งทำให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มขึ้น[38][39] พลเมือง 170,000 คน (หรือ 70% ของประชากร) ของเมืองประวัติศาสตร์ Thatta ในรัฐสินธ์ หนีน้ำเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม[40]

จนถึงปลายเดือนกันยายน ระดับน้ำโดยทั่วไปเริ่มลดลง แม้ในบางพื้นที่ เช่นรัฐสินธ์ มีรายงานเกิดอุทกภัยรอบใหม่ ประชาชนพลัดถิ่นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถกลับบ้านได้[1]

ผลที่ตามมา แก้

โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของปากีสถานได้รับผลกระทบรุนแรงจากอุทกภัย ซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่สายส่งไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า สายป้อนและโรงกำเนิดไฟฟ้า 10,000 แห่งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย น้ำนั้นได้จมโรงกำเนิดไฟฟ้ากว่า 150 แห่งในกิลกิต ความเสียหายดังกล่าวทำให้ขาดแคลนพลังงานไปกว่า 3,000 เมกะวัตต์[41]

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือเตือนว่าอาจเกิดโรคระบาด (เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ท้องร่วงและโรคผิวหนัง) เนื่องจากการขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและการสุขาภิบาลเป็นความเสี่ยงร้ายแรงใหม่ของผู้ประสบอุทกภัย[42][43] วันที่ 14 สิงหาคม มีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกเกิดขึ้นในเมืองมินโกรา ทำให้เกิดความกลัวแก่ผู้ประสบอุทกภัยนับล้านคน ผู้ซึ่งทรมานจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบและท้องร่วงอยู่ก่อนแล้ว[44][45] ปากีสถานยังเผชิญกับการระบาดของมาลาเรีย[46]

กาชาดสากลรายงานว่า สรรพาวุธที่ไม่ระเบิด เช่น ทุ่นระเบิดและกระสุนปืนใหญ่ ถูกพัดพาตามกระแสน้ำโดยอุทกภัยจากพื้นที่ในกัศมีร์และวาซิริสถานเหนือ และกระจัดกระจายกันอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นความเสี่ยงในอนาคตแก่ผู้อยู่อาศัยเมื่อกลับมา[47]

สหประชาชาติประเมินว่าประชาชน 800,000 คนถูกตัดขาดจากโลกภายนอกจากอุทกภัยในปากีสถาน และสามารถเข้าถึงได้ทางอากาศเท่านั้น นอกจากนี้ ยังแถลงว่ามีความต้องการเฮลิคอปเตอร์เพิ่มอีกอย่างน้อย 40 ลำเพื่อลำเลียงความช่วยเหลือช่วยชีวิตแก่ประชาชนที่สิ้นหวังมากขึ้น ประชาชนที่ถูกตัดขาดมากนั้นอยู่ในเขตภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ที่ซึ่งถนนและสะพานถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำ[48]

การบรรเทาสาธารณภัย แก้

จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปากีสถานได้ร้องขอผู้ให้บริจาคระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือจากภัยพิบัติดังกล่าว[49] โดยได้รับจัดหาเฮลิคอปเตอร์ยี่สิบเอ็ดลำและเรือ 150 ลำเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ตามข้อมูลขององค์การจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ[50] ขณะนั้น สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำปากีสถานได้จัดเฮลิคอปเตอร์ให้เจ็ดลำ[51] สหประชาชาติเริ่มการบรรเทาสาธารณภัยขององค์การ[26] และขอบริจาคเงิน 460 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อจัดหาความช่วยเหลือทันที รวมทั้งอาหาร ที่พักและน้ำสะอาด วันที่ 14 สิงหาคม เลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มูน เดินทางเยือนปากีสถานเพื่อตรวจตราและอภิปรายการบรรเทาสาธารณภัย[42][43] โฆษกกองทัพปากีสถานว่า ได้มีการจัดวางกำลังพลในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดและได้ช่วยเหลือประชาชนหลายพันคน[29] นายกรัฐมนตรี ยูซัฟ ราซา กิลลานี เยือนรัฐและสั่งการให้กองทัพเรือปากีสถานช่วยอพยพผู้ประสบอุทกภัย[52] จนถึงต้นเดือนสิงหาคม มีประชาชนได้รับการช่วยเหลือมากกว่า 352,291 คน[53]

ตามข้อมูลของสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ มีเงินสนับสนุนด้านมนุษยธรรมบริจาคเข้ามาในแผนบรรเทาอุทกภัยและฟื้นฟูเบื้องต้นระหว่างสิงหาคม 2553 – กรกฎาคม 2554 ทั้งหมด 1,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[54]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Singapore Red Cross (15 กันยายน 2010). "Pakistan Floods:The Deluge of Disaster - Facts & Figures as of 15 September 2010". สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2010.
  2. Kamal Hyder (1 กันยายน 2010). "As Pakistan drowns, its leaders fight | Al Jazeera Blogs". Blogs.aljazeera.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  3. "Millions of Pakistan children at risk of flood diseases". BBC News Online. 16 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2010.
  4. Goodwin, Liz. "One-fifth of Pakistan under water as flooding disaster continues". News.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  5. Updated at 7:20am on 22 August 2010. "The International Monetary Fund says the floods which have devastated Pakistan will present a massive economic and political challenge to its government and people". Radionz.co.nz. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  6. "UN chief: Pakistan needs more aid". Al Jazeera. 15 สิงหาคม 2010.
  7. MacFarquhar, Neil (18 สิงหาคม 2010). "U.N. Warns of Supply Shortage in Pakistan". New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2010.
  8. "Floods to hit economic growth: Finance Ministry". Dawn News. 10 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2010.
  9. "Preliminary Damage Estimates for Pakistani Flood Events, 2010" (PDF). Ball State University Center for Business and Economic Research. สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2010.
  10. "Pakistan evacuates thousands in flooded south - Yahoo! News". News.yahoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  11. "Pakistan battles economic pain of floods". The Jakarta Globe. 19 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  12. "Extreme Weather Causes Massive Flooding in Pakistan, Wildfires in Russia". 3 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2010.
  13. "Unusually Intense Monsoon Rains". 3 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2010.
  14. "Forecast". 20 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2010.
  15. "Monsoon". 20 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2010.
  16. "Flood wave". 20 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2010.
  17. "Past floods". 20 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2010.
  18. "Pakistan's Monsoon 2011 (July & August)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011.
  19. Michael Marshall (10 สิงหาคม 2010). "Frozen jet stream links Pakistan floods, Russian fires". สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2010.
  20. "IRIN Global : Early Warning Environment Natural Disasters | News Item". Irinnews.org. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  21. 21.0 21.1 Ahmadani A (19 สิงหาคม 2010). "Heavily Funded FFC Fails to Deliver". TheNation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2010.
  22. 22.0 22.1 "Flooding kills hundreds in Pakistan and Afghanistan". BBC. 30 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  23. "Wunder Blog : Weather Underground". Wunderground.com. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  24. "Rainfall Statement July-2010". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011.
  25. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011.
  26. 26.0 26.1 "UN starts relief works in flood hit provinces". Dawn. 30 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  27. "UN voices Pakistan flood fears as death toll soars". BBC. 31 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010.
  28. "UN says Pakistan urgently needs more aid helicopters". BBC News Online. 20 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2010.
  29. 29.0 29.1 Witte, Griff; Khan, Haq Nawaz (30 กรกฎาคม 2010). "Government ramps up relief efforts in flooded northwest Pakistan". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  30. Khan, Ismail (30 กรกฎาคม 2010). "400 Killed in Flooding in Pakistan, Officials Say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  31. 31.0 31.1 31.2 Bodeen, Christopher (8 สิงหาคม 2010). "Asia flooding plunges millions into misery". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2010.
  32. "Over 800 dead due to flooding: Mian Iftikhar". Dawn. 31 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010.
  33. Pakistan: preventive health measures in flood-affected. ICRC News Release. 4 สิงหาคม 2010.
  34. "Rescue teams race against Pakistan floods and pirate bandits". The Christian Science Monitor. 11 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2010.
  35. Guerin, Orla (7 สิงหาคม 2010). "Pakistan issues flooding 'red alert' for Sindh province". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2010.
  36. "Pakistan floods cause 'huge losses' to crops". BBC. 12 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  37. "Sugar, Wheat, Rice Crops Worth $2.9 Billion Ruined by Pakistan's Floods". Bloomberg. 12 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  38. "Pakistan Floods Destroy 2 Million Bales of Cotton, Group Says". Bloomberg. 12 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  39. "India Cotton Demand to Rise After Pakistan Floods, FCStone Says". Bloomberg. 12 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  40. Mark Tran and agencies (27 สิงหาคม 2010). "Pakistan flood victims flee Thatta after another levee is breached | World news | guardian.co.uk". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2010.
  41. Nathanial Gronewold (13 ตุลาคม 2010). "After the Pakistan Deluge, Blackouts Spread". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2023.
  42. 42.0 42.1 Erskine, Carole (13 สิงหาคม 2010). "Pakistan Flood Victims Face Illness Threat". Sky News. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2010.
  43. 43.0 43.1 "Disease Threatens Pakistan Flood Victims". VOANews. 13 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2010.
  44. "Pakistan floods stoke cholera fears". Al-Jazeera. 14 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2010.
  45. "Cholera confirmed in Pakistani flood disaster". Associated Press. 14 สิงหาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2010.
  46. "Pakistan faces malaria outbreak - Asia". Al Jazeera English. 14 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2010.
  47. ذیشان ظفر بی بی سی اردو ڈاٹ کام، اسلام آباد. ‭BBC Urdu‬ - ‮پاکستان‬ - ‮سیلاب سے ایک نیا خطرہ‬. BBC.co.uk. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  48. "UN says 800,000 cut off by Pakistan floods". News.yahoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2010.
  49. "Pakistan floods 'kill 800' people and affect a million". BBC News. 31 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010.
  50. Khan, Riaz; Mughal, Roshan (30 กรกฎาคม 2010). "Floods ravage NW Pakistan, kill 430 people". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  51. Bhatti, Jamil (30 กรกฎาคม 2010). "Emergency declared in Pakistani flood-hit areas". Xinhua News Agency. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  52. Rana, Aamir Ilyas (30 กรกฎาคม 2010). "Navy personnel to evacuate flood-hit areas". The Express Tribune. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010.
  53. "More rain may mean fresh misery for Pakistan flood victims". CNN. 12 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2010.
  54. UNOCHA. "Pakistan Floods Relief and Early Recovery Response Plan (Revised) (August 2010 - July 2011)". สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2023.