อิบัน ซาโมราโน

นักฟุตบอลชาวชิลี
(เปลี่ยนทางจาก อีบัน ซาโมราโน)

อิบัน ลุยส์ ซาโมราโน ซาโมรา (สเปน: Iván Luis Zamorano Zamora; เกิด 18 มกราคม ค.ศ. 1967) เป็นอดีตนักฟุตบอลชาวชิลีในตำแหน่งกองหน้า เขาด้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลชาวชิลีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ร่วมกับมาร์เซโล ซาลัส, เลโอเนล ซันเชซ และเอลิอัส ฟิกูเอโร

อิบัน ซาโมราโน
ซาโมราโนใน ค.ศ. 2013
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม อิบัน ลุยส์ ซาโมราโน ซาโมรา
วันเกิด (1967-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1967 (57 ปี)
สถานที่เกิด ซานเตียโก ชิลี
ส่วนสูง 1.78 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1983–1985 โกเบรซัล
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1985–1988 โกเบรซัล 31 (8)
1985–1986Cobreandino (ยืม) 29 (27)
1988–1990 ซังคท์กัลเลิน 56 (34)
1990–1992 เซบิยา 59 (21)
1992–1996 เรอัลมาดริด 173 (77)
1996–2001 อินเตอร์มิลาน 149 (41)
2001–2003 กลุบอาเมริกา 63 (33)
2003 โกโล-โกโล 14 (8)
รวม 490 (233)
ทีมชาติ
2000 ชิลี โอลิมปิก 5 (6)
1987–2001 ชิลี 69 (34)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

เขาเคยเล่นให้แก่ทีมชาติชิลีในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 และโกปาอาเมริกาสี่ครั้ง และยังเคยเล่นให้แก่ทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ซึ่งเขาพาทีมคว้าเหรียญทองแดงและเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรายการ เขาเคยเล่นให้แก่สโมสรใหญ่ในสเปนอย่างเซบิยาและเรอัลมาดริด และเคยเล่นให้แก่อินเตอร์มิลานในอิตาลี เขาเคยพาเรอัลมาดริดชนะเลิศลาลิกา ฤดูกาล 1994–95 และเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสรในฤดูกาลนั้น นอกจากนี้ เขายังเคยพาอินเตอร์มิลานชนะเลิศยูฟ่าคัพในปี 1998 เขามีความโดดเด่นด้านความแข็งแกร่งและการเล่นลูกกลางอากาศ โดยประตูส่วนใหญ่ที่เขาทำได้มาจากการโหม่งด้วยศีรษะ[1] ใน ค.ศ. 2004 เปเล่ได้ใส่ชื่อซาโมราโนลงในฟีฟ่า 100 ซึ่งเป็นรายชื่อนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่

ซาโมราโนได้รับฉายา แบมแบม[2][3] และ อิบันเอลเทอร์ริเบิล[4][5]

สโมสรอาชีพ แก้

 
เสื้ออินเตอร์มิลานของซาโมราโน (1+8) อยู่ถัดมาจากเสื้อของโรนัลโด (หมายเลข 10) และลูอิช ฟีกู (หมายเลข 7) ที่พิพิธภัณฑ์ซานซีโร

หลังจากที่เล่นในลีกสเปนอยู่ห้าฤดูกาล ซาโมราโนได้ย้ายมาเล่นให้แก่อินเตอร์มิลานในเซเรียอาตั้งแต่ ค.ศ. 1996 ถึง 2000 เขาได้ลงเล่นพร้อมกับเพื่อนร่วมทีมอย่างยูริ จอร์เกฟฟ์, ดิเอโก ซิเมโอเน, ฆาบิเอร์ ซาเนตติ และโรนัลโด ในตอนแรก เขาถูกกำหนดให้เป็นกองหน้าตัวหลักของทีม ซึ่งจะได้สวมเสื้อหมายเลข 9 อย่างไรก็ตาม การย้ายเข้ามาของโรแบร์โต บัจโจ ทำให้โรนัลโดต้องยกเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่บัจโจและเปลี่ยนไปสวมเสื้อหมายเลข 10 แทน 10 นั่นทำให้ซาโมราโนไม่ได้สวมเสื้อหมายเลข 9 ตามที่คาดไว้ เขาจึงตัดสินใจสวมเสื้อที่ด้านหลังสกรีนเลข '1+8' ซึ่งผลลัพธ์ในทางคณิตศาสตร์ก็คือหมายเลข 9 ที่หมายถึงตำแหน่งกองหน้านั่นเอง[6][7] เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซาโมราโนทำประตูขึ้นนำให้อินเตอร์และมีส่วนช่วยให้ทีมเอาชนะลาซีโอในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพ 3–0[8] นอกจากนี้ ในนัดชิงชนะเลิศของฤดูกาลก่อนหน้า เขาก็ทำประตูในเลกที่สองช่วยยื้อให้เกมเข้าสู่การยิงลูกโทษได้[9] อย่างไรก็ตาม ซาโมราโนยิงลูกโทษพลาดจนทำให้ทีมแพ้ชัลเคอ 04 1–4[9]

สถิติอาชีพ แก้

สโมสร แก้

สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย ทวีป อื่น ๆ
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
โกเบรซัล 1985 ปริเมราดิบิซิออนเด 2 0 0 0 0 0 2 0
1986 0 0 3 1 0 0 3 1
รวม 2 0 3 1 0 0 5 1
ตราซานดิโน 1986 เซกุนดาดิบิซิออนเด 29 27 0 0 0 0 29 27
โกเบรซัล 1987 ปริเมราดิบิซิออนเด 14 14 14 13 0 0 28 27
1988 29 8 0 0 0 0 29 8
รวม 43 21 14 13 0 0 57 35
ซังคท์กัลเลิน 1988–89 สวิสซูเปอร์ลีก 17 10 5 3 0 0 22 13
1989–90 33 23 0 0 0 0 33 23
1990–91 6 1 0 0 2 1 8 2
รวม 56 34 5 3 2 1 63 38
เซบิยา 1990–91 ลาลิกา 29 9 2 1 0 0 31 10
1991–92 30 12 2 1 0 0 32 13
รวม 59 21 4 2 0 0 63 23
เรอัลมาดริด 1992–93 ลาลิกา 34 26 4 6 7 5 45 37
1993–94 36 11 6 4 4 2 46 17
1994–95 38 28 3 0 5 3 46 31
1995–96 29 12 2 0 5 4 36 16
รวม 137 77 15 10 21 14 173 101
อินเตอร์มิลาน 1996–97 เซเรียอา 31 7 6 4 10 2 47 13
1997–98 13 2 2 0 5 2 20 4
1998–99 25 9 3 2 10 3 38 14
1999–2000 31 8 4 1 35 9
2000–01 2 1 2 0 4 0 8 1
รวม 102 26 17 7 29 7 138 41
กลุบอาเมริกา 2000–01 ปริเมราดิบิซิออน 17 11 0 0 0 0 17 11
2001–02 33 18 0 0 11 5 44 23
2002–03 11 4 0 0 0 0 11 4
รวม 63 33 0 0 11 5 67 37
โกโล-โกโล 2003 ปริเมราดิบิซิออน 14 8 0 0 4 0 18 8
รวมทั้งหมด 490 233 73 50 58 25 621 349[10]

ทีมชาติ แก้

อ้างอิง:[11]
ชิลี
ปี ลงเล่น ประตู
1987 5 1
1988 5 0
1989 2 1
1990 0 0
1991 9 6
1992 0 0
1993 1 0
1994 2 2
1995 1 1
1996 8 5
1997 5 9
1998 8 2
1999 8 3
2000 10 4
2001 5 0
รวม 69 34

เกียรติประวัติ แก้

สโมสร แก้

ตราซานดิโน

  • เซกุนดาดิบิซิออนเดชิลี: 1985

โกเบรซัล

  • โกปาชิลี: 1987

เรอัลมาดริด

อินเตอร์มิลาน

กลุบอาเมริกา

  • เม็กซิกันปริเมราดิบิซิออน: เบราโน 2002

ทีมชาติ แก้

ชิลี

รางวัล แก้

  • ผู้เล่นต่างชาติยอดเยี่ยมในสวิสซูเปอร์ลีก: 1989–90
  • EFE Trophy: 1992–93, 1994–95
  • Pichichi Trophy: 1994–95
  • ผู้เล่นต่างชาติยอดเยี่ยมในลาลิกา: 1994–95
  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของสื่อกีฬายุโรป: 1994–95
  • ผู้ทำประตูสูงสุดในโอลิมปิกฤดูร้อน: 2000
  • ฟีฟ่า 100
  • 250 อันดับนักฟุตบอลยอดเยี่ยมตลอดกาล: อันดับที่ 249[12]

อ้างอิง แก้

  1. "Lettere dal Sud America – Zamorano, il galantuomo" [Letters from South America – Zamorano, the gentleman] (ภาษาอิตาลี). calciosudamericano.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
  2. "Zamorano". RealMadrid.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  3. "Los problemas económicos de "Bam Bam" Zamorano". ABC (ภาษาสเปน). 17 September 2014. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  4. "Iván el Terrible Zamorano" (ภาษาสเปน). El Tiempo. 23 January 1992. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  5. "Lord Bendtner, Kevin-Prince Boateng & the best royal XI in football". Goal.com. 2 May 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2015.
  6. "Iván 'Bam Bam' Zamorano: A man so committed to No.9 he wore 1+8". สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
  7. Marcotti, Gabriele (31 March 2009). "Top 50 greatest Inter Milan players". The Times. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  8. "Plus: Soccer — UEFA Cup; Inter Milan Tops Lazio for Title". The New York Times. 7 May 1998. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  9. 9.0 9.1 "Football: Ince and Hodgson suffer as Schalke lift UEFA Cup". The Independent. 22 May 1997. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  10. "El top 12 de los más grandes goleadores de Chile". La Tercera (ภาษาสเปน). 8 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
  11. "Iván Luis Zamorano – Goals in International Matches". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 17 October 2010.
  12. "The Top 250 Players of All-Time: 250-241".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้