อิแมนิวเอล แพสไทรช์

อิแมนิวเอล แพสไทรช์ (อังกฤษ: Emanuel Pastreich; จีน: 贝一明 เป้ย์ อีหมิง; เกาหลี: 임마누엘 페스트라이쉬, 李萬烈; ญี่ปุ่น: エマニュエル・パストリッチ)[1] เป็นนักวิชาการชาวอเมริกัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1964 ที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ทำงานส่วนใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้เป็นหลัก โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์วิทยาลัยวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยคย็องฮี[2][3] และเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชีย (The Asia Institute) ณ โซล อีกทั้งยังมีงานเขียนวรรณกรรมคลาสสิกเอเชียตะวันออก[4][5][6][7] และงานในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเทคโนโลยี[8][9] Pastreich ประกาศการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในฐานะอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 และยังคงหาเสียงโดยกล่าวสุนทรพจน์มากมายเพื่อเรียกร้องให้มีแนวทางการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่นคงและเศรษฐศาสตร์

อิแมนิวเอล แพสไทรช์
เกิด (1964-10-16) ตุลาคม 16, 1964 (59 ปี)
แนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเยล (ปริญญาตรี)
มหาวิทยาลัยโตเกียว (ปริญญาโท)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ปริญญาเอก)
อาชีพอาจารย์, ผู้อำนวยการ
เว็บไซต์http://circlesandsquares.asia/

ประวัติ แก้

อิแมนิวเอล แพสไทรช์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโลว์เอลล์ไฮสกูล (Lowell High School) แซนแฟรนซิสโก ในปี ค.ศ. 1983 หลังจากนั้นในขณะกำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน[10] ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาจีน ที่มหาวิทยาลัยเยล และสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1987[11] ต่อมาใน ค.ศ. 1991 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาญี่ปุ่นเรื่อง "Edo kôki bunjin Tanomura Chikuden: Muyô no shiga" (The Late Edo Literatus Tanomura Chikuden; The Uselessness of Painting and Poetry) จากนั้นได้กลับไปที่สหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ. 1998 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเอเชียตะวันออกศึกษา จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[12] และเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์[13][14] มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน[13] และวิทยาลัยบริหารธุรกิจนานาชาติซอลบริดจ์[15] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์อยู่ที่วิทยาลัยวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยคย็องฮี[2][3]

งานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ แก้

แพสไทรช์เคยเป็นที่ปรึกษาทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุงนัม[16] และเป็นที่ปรึกษากองการสัมพันธ์ต่างประเทศให้กับสำนักวิจัยเครือข่ายวิสาหกิจแทด็อกอินโนโพลิส (Daedeok Innopolis)[17] และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารการเมืองและการลงทุนต่างประเทศให้กับเมืองแทจ็อน ในปี ค.ศ. 2010 และปี ค.ศ. 2012 ตามลำดับ[18][19]

ประวัติการทำงาน แก้

ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชีย ซึ่งเป็นสถาบันที่หน้าที่เป็นเสมือน "คลังสมอง" ที่รวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม[20][21] และเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก[8] โดยก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 2007-2008 ได้เคยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการลงทุนระหว่างประเทศให้กับหน่วยงานของรัฐในเขตจังหวัดชุงนัม[22] และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ KORUS House ในปี ค.ศ. 2005-2007 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นคลังสมอง ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารของกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชาสัมพันธ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของเกาหลี (Dynamic Korea)[23][24] ประจำสถานทูตเกาหลีใต้ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

บรรณานุกรม แก้

หนังสือ แก้

  • The Novels of Park Jiwon: Translations of Overlooked Worlds (2011). Seoul: Seoul National University Press. ISBN 8952111761.
  • The Visible Mundane: Vernacular Chinese and the Emergence of a Literary Discourse on Popular Narrative in Edo Japan (2011). Seoul: Seoul National University Press. ISBN 895211177X.
  • (เกาหลี) Insaeng eun sokudo anira banghyang ida: Habodeu baksa eui hanguk pyoryugi (Life is a Matter of Direction, Not of Speed: Records of a Robinson Crusoe in Korea) (2011). London: Nomad Books. ISBN 978-89-91794-56-6-03810
  • (เกาหลี) Segye seokhak hanguk mirae reul mal hada (Scholars of the World Speak Out About Korea’s Future) (2012). Seoul: Dasan Books. ISBN 978-89-6370-072
  • (เกาหลี) Han'gukin man moreu neun dareun daehan min'guk (A Different Republic of Korea—About Which Only Koreans are Ignorant) (2013). Seoul: 21 Segi Books. ISBN 978-89-509-5108-5

อ้างอิง แก้

  1. Names taken from Circles and Squares blog run by Emanuel Pastreich (19 November 2012).
  2. 2.0 2.1 "Faculty & Staff Homepage, College of International Studies, Kyung Hee University". Kyung Hee University. สืบค้นเมื่อ April 11, 2013.
  3. 3.0 3.1 "Kyung Hee PDF CV of Emanuel Pastreich" (PDF). Kyung Hee University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-07. สืบค้นเมื่อ April 11, 2013.
  4. "The Reception of Chinese Vernacular Narrative in Korea and Japan, Emanuel Pastreich, Kyung Hee University". Princeton University East Asian Studies Program. October 1, 2012. สืบค้นเมื่อ November 30, 2012.
  5. "East Asia Colloquium Series: The Observable Mundane: The Reception of Chinese Vernacular Narrative in Korea and Japan". Yale University, The Council on East Asian Studies. October 3, 2012. สืบค้นเมื่อ November 30, 2012.
  6. Lee, Woo-young (July 26, 2011). "U.S. scholar explores Asian literature". Korea Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
  7. Emanuel Pastreich (1999). "An alien vernacular: Okajima Kanzan's popularization of the Chinese vernacular novel in eighteenth-century Japan" (PDF). SJS. 11 (2): 39–49. สืบค้นเมื่อ November 3, 2012.
  8. 8.0 8.1 Arvind, Subadra (1 December 2012). "A new kind of scholar breaks ground in Korea". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2 December 2012.
  9. "Research, Innovation, Start-up and Employment (RISE) Keynote Speakers". Korean Ministry of Science, ICT, and Future Planning. 21–22 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-02. สืบค้นเมื่อ 7 May 2013.{{cite web}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  10. Study abroad at National Taiwan University taken from Circles and Squares blog run by Emanuel Pastreich (15 November 2012).
  11. B.A. degree at Yale taken from Circles and Squares blog run by Emanuel Pastreich (13 November 2012).
  12. Shin, Gi-wook; Robinson, Michael (2001). Colonial Modernity in Korea. p. 441. ISBN 0674005945. สืบค้นเมื่อ November 9, 2012. See Emanuel Pastreich, "The Reception of Chinese Vernacular Narrative in Korea and Japan" (PhD diss., Harvard University, 1997), pp. 49-52
  13. 13.0 13.1 Mellen, Brian (17 July 2006). "Debate about North Korea reaches students, faculty". Daily Illini. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  14. "Contact Information: Emanuel Pastreich". ACDIS, University of Illinois. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-11. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  15. Simon, Ian D. (2011). "Plans of Mice and Men: From Bench Science to Science Policy". Yale J. Biol. Med. Yale University. 84 (3): 237–242. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
  16. Ji, Sang-hyun (9 June 2008). 출범 1년 충남지사 정책특보단 '허 와 실':일부 특보에 성과 편중돼 연장 운영 재고 여론.."점검 우선". DT News. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  17. IASP 세계사이언스파크총회 D-4 대덕특구, 최종 준비 구슬땀. ETN News. 19 May 2010. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012. 솔브리지 국제대학 엠마뉴엘 페스트라이쉬 교수, TP협의회 이진옥 회장, 충남TP 김학민 원장, 전경련 장국현 고문 등이다...
  18. 2010.10.07 Appointment to Committee on City Administration for Daejeon Metropolitan City from Circles and Squares blog run by Emanuel Pastreich (13 November 2012).
  19. 2012.12.11 Appointment to Committee on Foreign Investment for Daejeon Metropolitan City taken from Circles and Squares blog run by Emanuel Pastreich (13 November 2012).
  20. Pastreich, Emanuel (7 March 2013). "On Climate, Defense Could Preserve and Protect, Rather Than Kill and Destroy". Truthout. สืบค้นเมื่อ 8 March 2013.
  21. Pastreich, Emanuel; Feffer, John (30 May 2013). 太平洋への転換から緑の革命へ: 気候変化を最大脅威と見なして [From Pacific Pivot to Green Revolution] (ภาษาญี่ปุ่น). Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 3 June 2013.
  22. Weigand, Matthew (February 7, 2011). "An American in Daejeon: How a Literature Professor Ended Up Deep in Korean Policy and Business". Korea IT Times. สืบค้นเมื่อ October 21, 2012.
  23. Kim, Susan I. (2007). Changes and Continuities in Second-generation Korean American Families. City University of New York, Ph.D. thesis. p. 39. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2013-08-21.
  24. "From Hermit Kingdom to Global Hub: Seoul Reinvents its Cultural Identity". The Korea Society. March 29, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้