อิริโอโมเตะ

(เปลี่ยนทางจาก อิริโอะโมะเตะ)

อิริโอโมเตะ (ญี่ปุ่น: 西表島โรมาจิIriomote-jima; ยาเอยามะ: Irimutī; โอกินาวะ: Iriumuti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะยาเอยามะ และใหญ่เป็นอันดับสองในจังหวัดโอกินาวะ รองจากเกาะโอกินาวะ

แผนที่ของเกาะอิริโอโมเตะและเกาะอื่นๆในหมู่เกาะยาเอยามะ
ภาพเกาะอิริโอโมเตะมองจากอวกาศ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

เกาะนี้มีพื้นที่ 289 กม.2 มีประชากรน้อยกว่า 2,000 คน และมีโครงสร้างพื้นฐานเฉพาะบนถนนเลียบชายหาดสายเดียวที่เชื่อมต่อหมู่บ้านทางด้านเหนือกับชายทะเลด้านตะวันออก บนเกาะไม่มีสนามบิน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงมาทางเรือข้ามฟากจากเกาะอิชิงากิ ซึ่งใน พ.ศ. 2546 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากกว่า 150,000 คน เกาะนี้อยู่ในเขตของเมืองทาเกโตมิ จังหวัดโอกินาวะ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ แก้

เกาะอิริโอโมเตะมีภูมิอากาศแบบทะเลกึ่งโซนร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 23.4°C และมีอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนตั้งแต่ 17.6°C ในเดือนมกราคม จนถึง 28.4°C ในเดือนกรกฎาคม มีฤดูไต้ฝุ่นที่โดยเฉลี่ยจะอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงกันยายน

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่ากึ่งโซนร้อนหนาทึบและป่าชายเลน พื้นที่ 80% เป็นเขตอนุรักษ์ และพื้นที่ 34.3% ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติอิริโอโมเตะ จุดที่สูงที่สุดบนเกาะคือ ภูเขาโคมิ (古見岳 Komidake) มีความสูง 470 เมตร

เกาะอิริโอโมเตะมีชื่อเสียงจากแมวป่าอิริโอโมเตะ (Prionailurus iriomotensis; ญี่ปุ่น: 西表山猫โรมาจิIriomote-yamaneko) ซึ่งเป็นแมวป่าที่ออกหากินตอนกลางคืนที่ใกล้สูญพันธุ์ พบเฉพาะบนเกาะอิริโอโมเตะ ประเมินว่ามีแมวป่าอิริโอโมเตะเพียงประมาณ 100 ตัวที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ

ประวัติศาสตร์ แก้

ก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เกาะอิริโอโมเตะแทบไม่มีประชากรอาศัยอยู่เนื่องจากมาลาเรียระบาด แรกเริ่มนั้นพื้นที่บนเกาะถูกใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ในระหว่างสงคราม ผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะอิชิงากิบางส่วนต้องลี้ภัยมายังเกาะอิริโอโมเตะ และบางคนก็ติดเชื้อมาลาเรีย

หลังสิ้นสุดสงคราม กองทัพสหรัฐอเมริกาในญี่ปุ่นกำจัดมาลาเรียออกไปจากเกาะ และไม่เคยปรากฏการติดเชื้ออีกเลย รายได้ของเกาะส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวและผลผลิตทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะสับปะรดและการประมง

ภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อิริโอโมเตะ
  •   คู่มือการท่องเที่ยว Iriomote Island จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)

24°20′N 123°48′E / 24.333°N 123.800°E / 24.333; 123.800