อิควานัลมุสลิมีน

(เปลี่ยนทางจาก อิควานมุสลิมีน)

สมาคมอิควานัลมุสลิมีน (อาหรับ: جماعة الإخوان المسلمين) รู้จักกันในชื่อ อิควานัลมุสลิมูน (الإخوان المسلمون) เป็นองค์กรซุนนีข้ามชาติที่ก่อตั้งในประเทศอียิปต์โดยฮะซัน อัลบันนา นักวิชาการอิสลามและครู ใน ค.ศ. 1928[14] คำสอนของอัลบันนากระจายไปนอกอียิปต์ เป็นแรงบันดาลใจต่อขบวนการลัทธิอิสลามสมัยใหม่ในปัจจุบันหลายกลุ่ม ตั้งแต่องค์กรการกุศลจนถึงพรรคการเมือง[15]

สมาคมอิควานัลมุสลิมีน
جماعة الإخوان المسلمين
ผู้ก่อตั้งฮะซัน อัลบันนา
หัวหน้ามุฮัมมัด บะเดียะอ์
โฆษกญิฮาด อัลฮัดดาด
ก่อตั้ง22 มีนาคม 1928; 96 ปีก่อน (1928-03-22)
อิสเมอิลีอา ราชอาณาจักรอียิปต์
ที่ทำการไคโร ประเทศอียิปต์ (อดีต)
ไม่เป็นที่กระจ่าง (ปัจจุบัน)
อุดมการณ์อุดมการณ์รวมกลุ่มอิสลาม[1]
อิสลามนิกายซุนนี[2]
ลัทธิศูฟีใหม่[3]
อนุรักษนิยมทางศาสนา[4]
ซะละฟียะฮ์[5][6]
ต่อต้านจักรวรรดินิยม[7][8]
อนุรักษนิยมทางสังคม[9]
ต่อต้านลัทธิไซออนิสต์[10]
ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์[11]
จุดยืนขวา[12][13]
เว็บไซต์
www.ikhwanweb.com (อังกฤษ)
www.ikhwanonline.com (อาหรับ)
ธงประจำพรรค

กลุ่มนี้ขยายไปยังประเทศมุสลิมอื่น ๆ ด้วย แต่ยังคงเป็นหนึ่งในองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์ แม้จะมีการปราบปรามของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1948 จนถึงปัจจุบัน[16] กลุ่มนี้เคยเป็นกลุ่มชายขอบในการเมืองโลกอาหรับจนกระทั่งสงคราม 6 วันใน ค.ศ. 1967 เมื่อแนวคิดลัทธิอิสลามเข้ามาแทนที่แนวคิดชาตินิยมอาหรับหลังจากความพ่ายแพ้ของอาหรับต่ออิสราเอล[17] ขบวนการนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีศัตรูร่วมกันอย่างลัทธิคอมมิวนิสต์[18]

อาหรับสปริงทำให้กลุ่มนี้มีสถานะถูกกฎหมายและมีอำนาจทางการเมืองอย่างมากในตอนแรก แต่ใน ค.ศ. 2013 กลับประสบกับภาวะพลิกผันอย่างรุนแรง[19] อิควานัลมุสลิมีนในอียิปต์ได้รับการทำให้ถูกกฎหมายใน ค.ศ. 2011 และชนะการเลือกตั้งบางส่วน[20] ซึ่งรวมการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2012 ที่มุฮัมมัด มุรซี ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง กลายเป็นประธานาธิบดีอียิปต์คนแรกที่มีอำนาจจากการเลือกตั้ง[21] ปีถัดมา หลังจากการประท้วงครั้งใหญ่และการก่อความไม่สงบ เขาถูกโค่นล้มจากทหารและกักกันไว้ในบ้าน กลุ่มนี้ถูกแบนในอียิปต์และมีการประกาศเป็นองค์กรก่อการร้าย ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ดำเนินการตาม โดยขับเคลื่อนด้วยการรับรู้ว่ากลุ่มนี้เป็นภัยคุกคามต่อการปกครองแบบอำนาจนิยม[22] ทางกลุ่มอ้างว่าตนเป็นองค์กรสันติสุขที่เป้นประชาธิปไตย และผู้นำ "ประณามความรุนแรงและการกระทำที่รุนแรง"[23]

ปัจจุบัน ประเทศหลักที่หนุนหลังอิควานัลมุสลิมีนคือกาตาร์และตุรกี[24] ณ ค.ศ. 2015 รัฐบาลบาห์เรน,[25] อียิปต์,[26] รัสเซีย,[27] ซีเรีย,[28] ซาอุดีอาระเบีย[29] และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[30]จัดให้กลุ่มนี้เป็นองค์กรก่อการร้าย

อ้างอิง แก้

  1. Ghattas, Kim (9 February 2001). "Profile: Egypt's Muslim Brotherhood". BBC.
  2. Al Jazeera Staff (18 June 2017). "What is the Muslim Brotherhood?". Al Jazeera.
  3. R. Halverson, Jeffrey (2010). Theology and Creed in Sunni Islam. New York: Palgrave Macmillan. pp. 62, 65. ISBN 978-0-230-10279-8. Neo-Sufism assumed the basis of a secondary Athari tendency that we find in the thought of Hasan al-Banna and the Muslim Brotherhood... Neo-Sufism... was a major influence on the thought of Hasan al-Banna and the development of the Muslim Brotherhood..
  4. El-Sherif, Ashraf (21 October 2014). "The Muslim Brotherhood and the Future of Political Islam in Egypt". Carnegie Endowment for International Peace.
  5. Sageman, Marc (2004). "Chapter 1: The Origins of the Jihad". Understanding Terror Networks. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. p. 7. ISBN 0-8122-3808-7.
  6. Lenz-Raymann, Kathrin (2014). "Chapter 3: Salafi Isalm: Social Transformation and Political Islam". Securitization of Islam: A Vicious Circle: Counter-Terrorism and Freedom of Religion in Central Asia. United Kingdom: Transcript Verlag. p. 80. ISBN 978-3837629040. JSTOR j.ctv1fxgjp.7.
  7. Chatterjee, Choi (2018). "10: Islamic Fundamentalism in Critical Perspective". The 20th Century: A Retrospective. New York: Routledge. p. 253. ISBN 978-0-8133-2691-7.
  8. K. Gani, Jasmine (21 October 2022). "Anti-colonial connectivity between Islamicate movements in the Middle East and South Asia: the Muslim Brotherhood and Jamati Islam". Post Colonial Studies. Routledge. 26: 55–76. doi:10.1080/13688790.2023.2127660. S2CID 253068552.
  9. Gould, J. J. (30 June 2013). "Rick Perry and the Muslim Brotherhood: Compare and Contrast - Mona Eltahawy on social conservatism in Egypt and the U.S." The Atlantic.
  10. Strindberg, Anders; Wärn, Mats (2011), Islamism, Polity, p. 87, ISBN 978-0745640624
  11. Johnson, Ian (5 February 2011). "Washington's Secret History with the Muslim Brotherhood". The New York Review of Books.
  12. Youssef, Bassem (1 May 2013). "The Muslim Brotherhood's 'right-wing' politics game". Al Arabiya English.
  13. Dreyfuss, Robert (11 February 2011). "What Is the Muslim Brotherhood, and Will It Take Over Egypt?". Mother Jones.
  14. Kevin Borgeson; Robin Valeri (9 July 2009). Terrorism in America. Jones and Bartlett Learning. p. 23. ISBN 978-0-7637-5524-9. สืบค้นเมื่อ 9 December 2012.
  15. "Is the Muslim Brotherhood a Terrorist Group?". The New York Times. 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  16. Rutherford, Bruce (2008). Egypt After Mubarak. Princeton University Press. p. 99.
  17. "The end of Nasserism: How the 1967 War opened new space for Islamism in the Arab world". Brookings. 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  18. "Saudi and the Brotherhood: From friends to foes". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 7 June 2018.
  19. Ibish, Hussein (5 October 2013). "Is this the end of the failed Muslim Brotherhood project?". The National. สืบค้นเมื่อ 8 October 2013.
  20. Wade, Nicholas (30 August 2013). "Egypt: What poll results reveal about Brotherhood's popularity". BBC News. the Brotherhood won Egypt's five democratic votes,
  21. "Egypt's new president to pick woman, Christian VPs". CNN. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
  22. "President Morsi Ousted: First Democratically Elected Leader Under House Arrest". ABC News. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
  23. Slocum, Steve (16 July 2019). Why do They Hate Us?: Making Peace with the Muslim World. ISBN 9780998683874.
  24. "Why Turkey Chose Qatar". The National Interest. 25 May 2017.
  25. "Bahrain backs Saudi Arabia, UAE, Foreign Minister says". Bahrain News Agency. สืบค้นเมื่อ 3 November 2014.
  26. "Egypt's Muslim Brotherhood declared 'terrorist group'". BBC News. 25 December 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
  27. "Resolution of the State Duma, 2 December 2003 N 3624-III GD "on the Application of the State Duma of the Russian Federation" on the suppression of the activities of terrorist organizations on the territory of the Russian Federation" (ภาษารัสเซีย). Consultant Plus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016.
  28. "Assad says 'factors not in place' for Syria peace talks". Hurriyet (AFP). 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  29. "Saudi Arabia declares Muslim Brotherhood 'terrorist group'". BBC News. 7 March 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2014.
  30. Shahine, Alaa & Carey, Glen (9 March 2014). "U.A.E. Supports Saudi Arabia Against Qatar-Backed Brotherhood". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 9 March 2014.

ข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้