อำแดงเหมือนกับนายริด

อำแดงเหมือนกับนายริด เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2537 นำแสดงโดยสันติสุข พรหมศิริ, จินตหรา สุขพัฒน์, ดวงดาว จารุจินดา, แมน ธีระพล และรณ ฤทธิชัย กำกับโดย เชิด ทรงศรี

อำแดงเหมือนกับนายริด
กำกับเชิด ทรงศรี
เขียนบทธม ธาตรี, จันนิภา
อำนวยการสร้างเจริญ เอี่ยมพึ่งพร
นักแสดงนำจินตหรา สุขพัฒน์
สันติสุข พรหมศิริ
ดวงดาว จารุจินดา
แมน ธีระพล
บรรเจิดศรี ยมาภัย
รณ ฤทธิชัย
กำกับภาพอานุภาพ บัวจันทร์
ตัดต่อมล.วราภา อุกฤษณ์
ดนตรีประกอบจำรัส เศวตาภรณ์
ผู้จัดจำหน่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
เชิดไชย ภาพยนตร์
วันฉายไทย 12 มีนาคม พ.ศ. 2537
ความยาว126 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นภาพยนตร์ฉายเปิดงานมหกรรมภาพยนตร์ Focus on Asia’94 Fukuoka International Film Festival ที่จัดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2537[1] และยังได้ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติอีก 2 ครั้ง คือ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ ครั้งที่ 10 ในปี พ.ศ. 2540 และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ. 2552[2]

อำแดงเหมือนกับนายริดสร้างจากเรื่องราวของอำแดงเหมือน หญิงไทยคนแรกที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง ตามที่มีการระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายที่พันธนาการผู้หญิงในยุคนั้นให้มีค่าความเป็นคนน้อยกว่าเพศชาย

เรื่องย่อ แก้

เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากคดีในประมวลกฎหมายและฎีกาคดีหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เล่าถึง อำแดง (นางสาว) เหมือน ซึ่งเป็นลูกของนายเกตกับอำแดง (นาง) นุ่น ประกอบอาชีพทำสวนอยู่ที่ตำบลบางม่วง แขวงเมืองนนทบุรี นายเกตกับอำแดงนุ่นยกอำแดงเหมือนให้เป็นภรรยานายภู เมื่ออำแดงเหมือนไม่ยอมโดยดี พ่อแม่ก็ให้นายภูมาฉุดเอาตัวไป แต่อำแดงเหมือนหนีกลับบ้านของตน นายภูมาฉุดไปอีก อำแดงเหมือนก็หนีไปอีก หากแต่ครั้งนี้หนีไปอยู่กับนายริด ชายคนรัก นายภูจึงฟ้องนายริดว่าลักพาเมียตน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังสู้ความกันอยู่ที่ศาล อำแดงเหมือนได้ถูกควบคุมไว้ในตะราง (ที่คุมขัง) ที่จวนของพระนนทบุรี เจ้าเมืองนนทบุรี และถูกนายเปี่ยมพะทำมะรงซึ่งกินสินบนของนายภูกลั่นแกล้งทารุณต่าง ๆ นานาเพื่อบีบบังคับให้อำแดงเหมือนยอมเป็นภรรยานายภู อำแดงเหมือนจึงหนีตะรางไปถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408

นักแสดง แก้

นักแสดงหลัก แก้

นักแสดงรับเชิญ แก้

การดัดแปลงในสื่ออื่น แก้

เรื่องราวของอำแดงเหมือนกับนายริดซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ได้รับการดัดแปลงในรูปแบบอื่นนอกจากภาพยนตร์อีก 2 ครั้ง ได้แก่ รูปแบบละครโทรทัศน์ใน พ.ศ. 2555 และรูปแบบละครเวทีใน พ.ศ. 2558

ปี พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558
รูปแบบ ภาพยนตร์ ละครช่อง ไทยพีบีเอส ละครเวที
ผู้ผลิต ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ๙ แสนสตูดิโอ กลุ่มละคอนเวทีคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทการแสดง ธม ธาตรี สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
ผู้กำกับการแสดง เชิด ทรงศรี สถาพร นาควิไลโรจน์ กมลภพ คำเพ็ญ
อำแดงเหมือน จินตหรา สุขพัฒน์ อภิญญา สกุลเจริญสุข ไพลิน สุวรรณรักษา
นายริด สันติสุข พรหมศิริ อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ วนวัฒน์ เวชกิจ
นายภู รณ ฤทธิชัย ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ อิสริยะ พันธุฟัก
นายเกตุ แมน ธีระพล รอน บรรจงสร้าง วาดตะวัน วงศ์รัฐปัญญา
อำแดงนุ่น, อำแดงนุ่ม ดวงดาว จารุจินดา ปวีณา ชารีฟสกุล เพ็ญพิชชา จรรย์โกมล
พระนนทบุรีศรีมหาสมุทร รุจน์ รณภพ สมภพ เบญจาธิกุล ปณิธาน ใจกล้า
คุณยี่สุ่น (ภรรยาของพระนนทบุรี) - เดือนเต็ม สาลิตุล -
ย่าจัน บรรเจิดศรี ยมาภัย ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา -
นายเปี่ยม พะทำมะรง ชลิต เฟื่องอารมย์ ทองขาว ภัทรโชคชัย -
สมภารวัดขนุน ส.อาสนจินดา สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ -
คุณลออ - มณีรัตน์ คำอ้วน -
ขุนวิเลศสังหาร - ภัทรพล กันตพจน์ -
พระบรรฦๅสิงหนาท - ดิลก ทองวัฒนา -
คุณทับทิม ธิติมา สังขพิทักษ์ ชนานา นุตาคม -
หมื่นราชามาศ -
นายลอดมร สถาพร นาควิไลโรจน์ -
นางแฟง - ชุดาภา จันทเขตต์ -
นางสาย(แม่ของนายริด) - นฤมล พงษ์สุภาพ -
นายแช่ม (พ่อของนายริด) - ธนายง ว่องตระกูล -
นายฟัก (พ่อของนายภู) - ศานติ สันติเวชชกุล -
ทองเปลว - เบญจศิริ วัฒนา -
นางจาก - อัจฉรา ทองเทพ -
นางเมี้ยน - นฤมล นิลวรรณ -
ยายชีปะขาว - น้ำเงิน บุญหนัก -
ผีอีทับ - สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ -
ผีไอเทียบ - เวย์น ฟอลคอนเนอร์ -
อำแดงจัน - - ศุจีพัชร พรพลศรัณย์
อำแดงเย็น - - มิ่งโกมุท ชนะกุล
อำแดงแพง - - ณัฐณิชา พลิกานนท์
นางกลิ่น - อำภา ภูษิต
จ้อย - - กษิดิ์เดช ศรีตะปัญญะ
อำแดงผึ้ง - - สิรภัทร กิจวิสาละ
อำแดงนวล - - พิมพ์วิไล อินทรตั้ง
นักแสดงรับเชิญ/นักแสดงสมทบ
เขาทราย แกแล็คซี่ ประสาท ทองอร่าม
เอกชัย ศรีวิชัย
สุเชาว์ พงษ์วิไล
ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
พิมพ์ชนก เอี่ยนเล่ง
ณัฏฐพิชชา อรุณพัชรสิทธิ์
รุจรวิน เชี่ยวชาญศิลป์
ฐานิสร์ กลิ่นขจร
กริณ สุวรรณศักดิ์

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้

อำแดงเหมือนกับนายริด
สร้างโดย9 แสน สตูดิโอ
เขียนโดยบทภาพยนตร์ :
ธม ธาตรี / จันนิภา
สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ (บทโทรทัศน์)
กำกับโดยสถาพร นาควิไลโรจน์
แสดงนำอภิญญา สกุลเจริญสุข
อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ
ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์
มณีรัตน์ คำอ้วน
ภัทรพล กันตพจน์
รอน บรรจงสร้าง
ปวีณา ชารีฟสกุล
การผลิต
ความยาวตอน19 ตอน (ประมาณ 48 นาที/ตอน)
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ออกอากาศ11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 –
14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ในปี พ.ศ. 2555 สถาพร นาควิลัย ได้นำเรื่องอำแดงเหมือนกับนายริดมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางไทยพีบีเอส ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และตอนอวสานในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นประจำทุกวันพฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 20.25-21.15 น.[3] นำแสดงโดย อภิญญา สกุลเจริญสุข, อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ และ ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์

เพลงประกอบละครคือ เพลง "นางครวญ" ขับร้องโดย ดวงพร พงศ์ผาสุก หรือ ปุ้ย เดอะวอยซ์[4] [5]

ละครเวที พ.ศ. 2558 แก้

พ.ศ. 2558 ละครเวทีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเรื่อง อำแดงเหมือนกับนายริด มานำเสนอในรูปแบบของละครเวทีเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อเรื่องว่า "เหมือน" ซึ่งเป็นการตีความในมุมมองของนักศึกษากฎหมาย ละครเวทีเรื่อง "เหมือน" จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์[6] นำแสดงโดย ไพลิน สุวรรณรักษา, วนวัฒน์ เวชกิจ และอิสริยะ พันธุฟัก กำกับการแสดงโดย กมลภพ คำเพ็ญ

ละครเวทีเรื่องนี้มีเพลงประกอบละครเวทีทั้งสิ้นรวม ... เพลง โดยมีเพลงนำคือ เพลง "เหมือนฝัน" ขับร้องโดย ไพลิน สุวรรณรักษา เนื้อร้องโดย กมลภพ คำเพ็ญ และอัครวินท์ อนันต์พิพัฒน์ ทำนองโดย อัครวินท์ อนันต์พิพัฒน์[7] และเพลง "ต่อหน้าฟ้าดิน" ขับร้องโดย ไพลิน สุวรรณรักษา และกมลภพ คำเพ็ญ เนื้อร้องและทำนองโดย อัครวินท์ อนันต์พิพัฒน์[8]

รางวัล แก้

ภาพยนตร์ พ.ศ. 2537 แก้

ปี รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
พ.ศ. 2538
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 4
ดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม อานุภาพ บัวจันทร์ ชนะ
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 5
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม บรรเจิดศรี ยมาภัย ชนะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม จำรัส เศวตาภรณ์ ชนะ

ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 แก้

ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลในหลายสถาบัน

ปี รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
พ.ศ. 2556
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 [9]
ละครโทรทัศน์แห่งปี ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" ชนะ
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25 [10]
(ประเภทเมขลามหานิยม)
ละครเมขลามหานิยมแห่งปี ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับเมขลามหานิยมแห่งปี สถาพร นาควิไลโรจน์ เสนอชื่อเข้าชิง
ดารานำหญิงเมขลามหานิยมแห่งปี อภิญญา สกุลเจริญสุข เสนอชื่อเข้าชิง
ดาราสมทบหญิงเมขลามหานิยมแห่งปี ชุดาภา จันทเขตต์ เสนอชื่อเข้าชิง
บทละครเมขลามหานิยมแห่งปี สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
องค์ประกอบศิลป์เมขลามหานิยมแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเมขลามหานิยมแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
แต่งหน้า-ทำผมเมขลามหานิยมแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 25
(ประเภทมณีเมขลาดีเด่น)
ละครดีเด่นยอดนิยม ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" ชนะ
ดารานำหญิงดีเด่นยอดนิยม อภิญญา สกุลเจริญสุข ชนะ
ดาวรุ่งชายดีเด่นยอดนิยม อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ เสนอชื่อเข้าชิง
ละครส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่นยอดนิยม ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10 [11]
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ละครเรื่อง "อำแดงเหมือนกับนายริด" เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้กำกับละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม สถาพร นาควิไลโรจน์ เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม อภิญญา สกุลเจริญสุข เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม รอน บรรจงสร้าง เสนอชื่อเข้าชิง
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม สถาพร นาควิไลโรจน์ เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง แก้

  1. "Focus on Asia '94 - FIFF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Amdaeng Muen kab nai Rid (1994) Release Info". สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ละคร อำแดงเหมือนกับนายริด (2555)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "อำแดงเหมือนกับนายริด : Title + เนื้อเพลง". สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "'ครูปุ้ย' เดอะวอยซ์ 1 แม่พิมพ์ผู้มีหัวใจเป็นดนตรี". ไทยรัฐออนไลน์. 23 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ละคอนเวทีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "[Official MV] - เหมือนฝัน [ เพลงประกอบละคอนเวที "เหมือน" ]". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "[Official Audio] - ต่อหน้าฟ้าดิน [ เพลงประกอบละคอนเวที "เหมือน" ]". สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ผลรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ 2013". สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "งานประกาศผลรางวัลพระสุรัสวดีและเมขลา ประจำปี 2555". สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ประกาศผลรางวัล "คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10"". สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • กำธร เลี้ยงสัจธรรม, "ฎีกาของอำแดงเหมือนในรัชกาลที่ 4 กับการพลิกคดีอำแดงป้อมในรัชกาลที่ 1," ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2555), หน้า 72-91.
  • "ประกาศว่าด้วยอำแดงเหมือนถวายฎีกา," วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ ปีที่ 25 (2546), หน้า 1-12.
  • บทความเกี่ยวกับอำแดงเหมือน - Link
  • mydramalist.info Amdaeng Muean Kap Nai Rit เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน