อำเภอแม่เปิน

อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย

แม่เปิน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ เป็น 1 ใน 2 อำเภอในประเทศไทยที่มีเขตการปกครองเพียงตำบลเดียว โดยมีที่มาของชื่ออำเภอตามคลองแม่เปิน (ปัจจุบันเรียกชื่อเป็นคลองโพธิ์) และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติคลองแม่เปินที่จัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2489[1] และ พ.ศ. 2501[2]

อำเภอแม่เปิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Poen
ป่าแม่วงก์-แม่เปินในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ท้องที่อำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ
ป่าแม่วงก์-แม่เปินในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ท้องที่อำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์และอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ
คำขวัญ: 
น้ำผุดกลางไพร มะค่าใหญ่คู่บ้าน
งามตระการน้ำตกแม่กะสี ถิ่นคนดีมีคุณธรรม
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอแม่เปิน
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอแม่เปิน
พิกัด: 15°39′28″N 99°28′9″E / 15.65778°N 99.46917°E / 15.65778; 99.46917
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด260.20 ตร.กม. (100.46 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด20,915 คน
 • ความหนาแน่น80.38 คน/ตร.กม. (208.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 60150
รหัสภูมิศาสตร์6014
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่เปิน หมู่ที่ 14 ถนนหนองจิกรี - ถนนสุด ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 60150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอแม่เปินมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

ท้องที่อำเภอแม่เปินเดิมเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่วงก์-แม่เปินได้อยู่ในภายใต้เขตการปกครองของตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว ที่จัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2489[1] และ พ.ศ. 2501[2] ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2530 นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร จึงจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ[3] ท้องที่จึงตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอแม่วงก์ขึ้น[4] โดยโอนการปกครองตำบลแม่วงก์ ตำบลแม่เล่ย์ ตำบลวังซ่าน ตำบลเขาชนกัน ตำบลปางสวรรค์ และตำบลห้วยน้ำหอม ออกจากอำเภอลาดยาว จึงได้ย้ายการปกครองมาขึ้นกับกิ่งอำเภอแม่วงก์

ขณะจัดตั้งกิ่งอำเภอได้เพียง 7 เดือน เขตตำบลห้วยน้ำหอม ของกิ่งอำเภอแม่วงก์ได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลห้วยน้ำหอมบางส่วน ไปติดต่อราชการกับอำเภอลาดยาว สะดวกกว่าไปติดต่อกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ แต่ยังมีพื้นที่บางหมู่บ้านที่ยังสะดวกในการติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอแม่วงก์ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 จึงแยกพื้นที่หมู่ 12, 16–21, 24–25 ของตำบลห้วยน้ำหอม ตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่เปิน[5] และแยกพื้นที่หมู่ 1, 1–11, 14–15, 22–23, 27 ของตำบลห้วยน้ำหอม ตั้งขึ้นเป็นตำบลชุมตาบง[5] เพื่อให้ทั้ง 18 หมู่บ้านนั้นได้ขึ้นกิ่งอำเภอแม่วงก์ สองปีถัดมาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม[6] (ส่วนที่เหลือจากการแยกตำบลแม่เปินและตำบลชุมตาบง) กลับเข้าไปสมทบในการปกครองของทางอำเภอลาดยาวดังเดิม

วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ราษฎรในตำบลแม่เปินร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้พิจารณาว่าตำบลแม่เปินมีสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต และความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเขตท้องที่กิ่งอำเภอแม่วงก์แยกพื้นที่ตำบลแม่เปิน ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่เปิน[7] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน และต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอแม่เปิน[8] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และถือเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และกลายเป็นอำเภอลำดับที่ 14 ของจังหวัดนครสวรรค์

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอแม่เปินมีเขตการปกครอง 1 ตำบล 24 หมู่บ้าน คือ

1. แม่เปิน (Mae Poen) 24 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

อำเภอแม่เปินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง คือ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เปินทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่าแม่เปิน ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (38 ก): (ฉบับพิเศษ) 13-15. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489
  2. 2.0 2.1 "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช ๒๔๘๑ (กำหนดให้ป่าแม่วงก์-แม่เปิน ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นป่าสงวน)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (34 ก): 167–169. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2501
  3. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินป่าคลองขลุง และป่าคลองแม่วงก์ ในท้องที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์ - แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เล่ย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (183 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2530
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่วงก์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-67. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (98 ง): 26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19. วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่เปิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-14. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550