อำเภอแม่ฟ้าหลวง

อำเภอในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

แม่ฟ้าหลวง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงราย

อำเภอแม่ฟ้าหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Fa Luang
พระตำหนักดอยตุง
พระตำหนักดอยตุง
คำขวัญ: 
พระตำหนักดอยตุงล้ำค่า สมเด็จย่าเป็นมิ่งขวัญ
เผ่าพันธุ์หลากหลาย มากมายชาดี งามสดสีซากุระบาน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่ฟ้าหลวง
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอแม่ฟ้าหลวง
พิกัด: 20°16′0″N 99°48′0″E / 20.26667°N 99.80000°E / 20.26667; 99.80000
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด641.4 ตร.กม. (247.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด77,655 คน
 • ความหนาแน่น121.07 คน/ตร.กม. (313.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57110,
57240 (เฉพาะตำบลเทอดไทยและตำบลแม่ฟ้าหลวง)
รหัสภูมิศาสตร์5715
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวง ถนนห้วยไคร้-ดอยตุง ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 57240
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอแม่ฟ้าหลวงมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
พระตำหนักดอยตุง

ประวัติ แก้

ท้องที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลแม่ไร่ ตำบลแม่คำ ตำบลป่าซาง ตำบลศรีค้ำ และตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน พัฒนามาจากพื้นที่พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้เลือกดอยตุงซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียวกันสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อทอดพระเนตรพื้นที่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุง พร้อมกันนี้ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะปลูกป่าบนดอยสูง จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่า ลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียวกันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้

ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ทางราชการได้แบ่งแยกตำบลเพื่อเตรียมการตั้งกิ่งอำเภอแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงราย ควบคู่กับโครงการพัฒนาดอยตุงที่เป็นโครงการพัฒนาระยะยาว เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพราะท้องที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรบริเวณพื้นที่ดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอแม่จันรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น โดยได้มีการแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ไร่และตำบลแม่คำ ตั้งขึ้นเป็นตำบลเทอดไทย กับแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลป่าซางและตำบลศรีค้ำ ตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่สลองใน กับได้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลป่าซางและตำบลป่าตึง ตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่สลองนอก[1]

ในปีถัดมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกท้องที่ตำบลแม่สลองใน ตำบลแม่สลองนอก ตำบลเทอดไทย ของอำเภอแม่จัน มาจัดตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง[2] โดยได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภายในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการตั้งตำบลแม่ฟ้าหลวง โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลเทอดไทย[3] เนื่องจากหลักเกณฑ์การยกฐานะไปเป็นอำเภอต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล (ในกรณีที่พื้นที่ห่างไกล) ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[4] โดยมีผลภายในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539

ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการแยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านหินแตก จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่โดยตั้งเป็นหมู่ 27 บ้านหินคำ ตำบลแม่สลองใน[5] ภายในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการแยกพื้นที่หมู่ 10 บ้านห้วยอื้น จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่โดยตั้งเป็นหมู่ 19 บ้านจะป่า ตำบลเทอดไทย[6]

 
ดอยแม่สลอง
 
มัสยิดดารุสลามดอยแม่สลอง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอแม่ฟ้าหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากร (ปี 2564)[7]
1. เทอดไทย   Thoet Thai 19[6] 6,565 23,649
2. แม่สลองใน   Mae Salong Nai 27[5] 8,528 25,798
3. แม่สลองนอก   Mae Salong Nok 13 5,827 15,250
4. แม่ฟ้าหลวง   Mae Fa Luang 19 4,417 12,958

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอแม่ฟ้าหลวงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทอดไทยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สลองในทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองนอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สลองนอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ฟ้าหลวงทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ[8]
    • พระตำหนักดอยตุง
    • สวนแม่ฟ้าหลวง
    • หอแห่งแรงบันดาลใจ
  • วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ
  • ดอยแม่สลอง

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพานและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (115 ง): (ฉบับพิเศษ) 69-88. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-06-09. วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2007-10-12. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (2 ง): 60–72. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2539
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-12. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  5. 5.0 5.1 "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (44 ง): 151–157. วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  6. 6.0 6.1 "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 132–152. วันที 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. "โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ – MFLF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-03-17.