อำเภออรัญประเทศ

อำเภอในจังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย

อรัญประเทศ เป็นอำเภอชายแดนทางด้านตะวันออกของประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับเมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชา เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกบินทร์บุรี จนวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 อำเภอก็ถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่[1]เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 และเป็นอำเภอที่มีความเจริญมากกว่า อำเภอเมืองสระแก้ว

อำเภออรัญประเทศ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Aranyaprathet
คำขวัญ: 
สุดแดนสยามบูรพา ย่านการค้าอินโดจีน
ชนท้องถิ่นห้าชาติ พระสยามเทวาธิราชศักดิ์สิทธิ์
แหล่งผลิตผ้าทอมือ เลื่องชื่อแตงแคนตาลูป
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภออรัญประเทศ
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภออรัญประเทศ
พิกัด: 13°48′53″N 102°4′19″E / 13.81472°N 102.07194°E / 13.81472; 102.07194
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระแก้ว
พื้นที่
 • ทั้งหมด821.265 ตร.กม. (317.092 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด91,418 คน
 • ความหนาแน่น111.31 คน/ตร.กม. (288.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 27120
รหัสภูมิศาสตร์2706
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ หมู่ที่ 2 ถนนธนะวิถี ตำบลบ้านใหม่หนองไทร อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 27120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภออรัญประเทศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

อำเภออรัญประเทศ เดิมชื่อ บ้านหินแร่ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เมืองอรัญประเทศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อ พ.ศ. 2393 ได้รับเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นอำเภอในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 มีขุนเหี้ยมใจหาญเป็นนายอำเภอ โดยยุบวัฒนานครเดิมชื่อบ้านแขยกเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภออรัญประเทศ

เดิมเชื่อกันว่าแท้จริงแล้วชาวอรัญประเทศเป็นกลุ่มไทยย้อชาวเวียงจันทน์หรือท่าอุเทนที่อพยพมา หลังจากเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวย้อได้อพยพมาอยู่ที่ดงอรัญ เขตบ้านสวาย (ต่อมายกขึ้นเป็นเมืองศรีโสภณ) ขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของสยาม ภายหลังโยกย้ายเข้ามาในเขตอำเภออรัญประเทศ ที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตตำบลคลองน้ำใส ตำบลเมืองไผ่ ตำบลท่าข้าม ตำบลผ่านศึก และในเขตเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ ยกเว้นในตลาดอำเภออรัญประเทศ

พื้นที่อำเภออรัญประเทศมีถนนโบราณสายหนึ่งตัดผ่านจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทางทิศเหนือหมู่บ้านอรัญประมาณ 400 เมตร มีคนเล่าต่อกันมาว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างไว้ ต่อมาจึงมีผู้ตั้งชื่อว่า ถนนเจ้าพระยาบดินทรเดชา สันนิษฐานว่า สถานีอรัญประเทศ เป็นจุดปลายทางของรถไฟสายตะวันออกซึ่งสร้างลงบน “ฉนวนไทย” หรือทางราบที่ใช้ติดต่อระหว่างที่ราบลุ่มเจ้าพระยากับที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมรมาแต่โบราณ เส้นทางรถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย

ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน เจ้าพระยาบดินทรเดชาคงสร้างขึ้นเมื่อคราวยกทัพกลับจากตีเขมรและญวน

อำเภออรัญประเทศได้ยกฐานะขึ้นจากกิ่งอำเภออรัญประเทศในปี พ.ศ. 2456 อาชีพหลักของคนในอำเภออรัญประเทศแต่เดิมได้แก่ การค้าขายและเกษตรกรรม โดยในอดีตนิยมปลูกข้าว และมันสำปะหลัง ปัจจุบันนิยมปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงาน และเป็นแหล่งส่งเสริมการปลูกแคนตาลูปเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

เมื่อ พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครหลังจากเสด็จประพาสไซ่ง่อน เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงอำเภออรัญประเทศ ได้ประทับบนสถานีรถไฟอรัญประเทศประมาณ 30 นาที แล้วจึงเสด็จขึ้นประทับรถไฟขบวนพิเศษจากอรัญประเทศเข้าพระนคร ในครั้งยังเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จจึงมีเฉพาะชาวอรัญเท่านั้น เนื่องจากการคมนาคมยังไม่สะดวก การติดต่อข่าวสารยังล่าช้า

พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดหลวงอรัญญ์ อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนกระทั่งเวลา 12.00 น. โดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากค่ายสุรสิงหนาทถึงยังหน้าพระอุโบสถ ทรงถวายผ้าพระกฐิน มีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จชมพระบารมีนับหมื่น หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสในเวลาประมาณ 13.30 น.

  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2456 ย้ายที่ว่าการอำเภอวัฒนา ไปตั้งที่กิ่งอำเภออรัญ และเปลี่ยนนามอำเภอว่า อำเภออรัญประเทศ และกิ่งอำเภออรัญ ให้ย้ายมาตั้งที่อำเภอวัฒนาเก่า และจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอวัฒนา ขึ้นการปกครองกับอำเภออรัญประเทศ[2]
  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2470 ยุบตำบลหนองแวง และแยกเอาหมู่บ้านไปรวมขึ้นกับตำบลโคกสูง และตำบลตาพระยา[3]
  • วันที่ 30 กันยายน 2482 จัดตั้งเทศบาลตำบลอรัญญประเทศ ในท้องที่ตำบลอรัญญประเทศ[4]
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2493 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลอรัญญประเทศ ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[5]
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2493 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลอรัญญประเทศให้เล็กลง ส่วนหมู่บ้านในเขตตำบลอรัญประเทศ ที่อยู่นอกเขตเทศบาลตำบลอรัญญประเทศ นำมาตั้งเป็นตำบลใหม่สองตำบล คือ ตำบลเมืองไผ่ และตำบลท่าข้าม แยกออกจากตำบลอรัญญประเทศ[6]
  • วันที่ 3 เมษายน 2494 โอนพื้นที่ตำบลหันทราย กิ่งอำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญญประเทศ ไปขึ้นกับ อำเภออรัญญประเทศ[7]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญญประเทศ เป็น อำเภอวัฒนานคร[8]
  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2502 แยกพื้นที่ตำบลตาพระยา และตำบลโคกสูง อำเภออรัญญประเทศ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตาพระยา ขึ้นกับอำเภออรัญญประเทศ[9]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอตาพระยา อำเภออรัญญประเทศ เป็น อำเภอตาพระยา[10]
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2512 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภออรัญประเทศ[11]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2521 ตั้งตำบลทับพริก แยกออกจากตำบลคลองน้ำใส และตั้งตำบลป่าไร่ แยกออกจากตำบลท่าข้าม[12]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2521 ตั้งตำบลบ้านใหม่หนองไทร แยกออกจากตำบลเมืองไผ่ และตั้งตำบลผ่านศึก แยกออกจากตำบลคลองน้ำใส[13]
  • วันที่ 17 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลคลองทับจันทร์ แยกออกจากตำบลเมืองไผ่ และตั้งตำบลหนองสังข์ แยกออกจากตำบลหันทราย[14]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลฟากห้วย แยกออกจากตำบลท่าข้าม [15]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลบ้านด่าน แยกออกจากตำบลบ้านใหม่หนองไทร[16]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลอรัญญประเทศ เป็นเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ[17]

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล

  • ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม

อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 27.5-28.78 องศาเซลเซียส

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภออรัญประเทศแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[18]
1. อรัญประเทศ Aranyaprathet
16,940
2. เมืองไผ่ Mueang Phai
4,548
3. หันทราย Han Sai
5,801
4. คลองน้ำใส Khlong Nam Sai
5,789
5. ท่าข้าม Tha Kham
5,327
6. ป่าไร่ Pa Rai
7,150
7. ทับพริก Thap Phrik
3,784
8. บ้านใหม่หนองไทร Ban Mai Nong Sai
10,471
9. ผ่านศึก Phan Suek
6,862
10. หนองสังข์ Nong Sang
7,548
11. คลองทับจันทร์ Khlong Thap Chan
4,989
12. ฟากห้วย Fak Huai
7,758
13. บ้านด่าน Ban Dan
5,298

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภออรัญประเทศประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ[19] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอรัญประเทศทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลฟากห้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟากห้วยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านด่านทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าไร่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านใหม่หนองไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่หนองไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหันทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันทรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำใส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้ำใสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับพริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับพริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผ่านศึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสังข์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทับจันทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองทับจันทร์ทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว แก้

 
ด่านอรัญประเทศ
  • ปราสาทเขาน้อยสีชมพู เป็นโบราณสถานของชาติ ปราสาทเขาน้อยสีชมพูแห่งนี้ ยังปรากฏอยู่ในภาพสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย
  • ปราสาทเมืองไผ่ โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐศิลาแลง ปัจจุบันพังทลายจนไม่มีเค้าโครงเดิมให้เห็น นับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง
  • เนินโบราณสถานบ้านหนองคู
  • โบราณสถานเขารัง
  • วัดชนะไชยศรี
  • ศิลาจารึกบ้านกุดแต้
  • ตลาดอินโดจีนรถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร 0-2936-2852-66 ต่อ 311 ท่ารถปลายทางอยู่หน้าตลาดอินโดจีน
  • พระสยามเทวาธิราช ตั้งอยู่บริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลอรัญประเทศ ติดกับสถานีตำรวจ สร้างขึ้นมานานกว่า 20 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวอรัญประเทศ หลายคนเชื่อว่าเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเมืองอรัญให้รอดพ้นจากภัยพิบัติร้ายแรง
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชอำเภออรัญประเทศ ประดิษฐาน อยู่ด้านข้างใกล้กับสนามไดร์ฟกอล์ฟ ค่ายสุรสิงหนาท อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดดเด่นด้วยหลังคารูปทรงมาลา (หลังคารูปหมวก) เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการรบ การปกครอง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อปวงชนาวไทย และเพื่อน้อมระลึกเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำสงครามกอบกู้เอกราช ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ตกทอดมาจนถึงพวกเราชาวไทยจวบจนปัจจุบัน
  • ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก (ตลาดโรงเกลือ) ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา ที่มีสินค้าจำหน่ายมากมาย เช่น เสื้อผ้า เครื่องทองเหลือง กระเบื้องถ้วยชามต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักสาน เป็นต้น
  • วัดอนุบรรพต สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นวัดที่มีอุโบสถสวยงามและลักษณะแปลกกว่าอุโบสถทั่วไป คือสร้างเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาทรงไทยยอดแหลมสูง ตกแต่งสวยงาม
  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลหลักเมืองที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2375 เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว
  • ประตูชัยอรัญประเทศ สร้างเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โดยกรมยุทธโยธาทหารบกได้ระดมกำลังทหารช่างทำการสร้างทั้งกลางวันและและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง แล้วเสร็จภายใน 29 วัน เสร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2482
  • ประตูทางผ่านเข้าออกไทย-กัมพูชา ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ติดกับตำบลปอยเปต ประตูแห่งนี้ถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ปัจจุบันได้เปิดพรมแดน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ทำให้ประชาชนชาวไทยและกัมพูชาเดินผ่านเข้าออกหากันได้
  • สถานีรถไฟอรัญประเทศ สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นสถานีแห่งประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเป็นสถานที่ร่วมสมัยในยุครถจักรไอน้ำเฟื่องฟูจนถึงรถจักรหัวลากดีเซลหลักฐานที่ยังคงหลงเหลือคือหอเหล็กเติมน้ำให้หัวรถจักรในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ไกลนัก ทางรถไฟไทยสร้างบนเส้นทางสมัยโบราณ ทางสายกรุงเทพ-อรัญประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลสยามได้ตัดทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ขยายเส้นทางไปทางตะวันออกจนเชื่อมกับรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้นที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ

เส้นทางรถไฟสายตะวันออกยังคงใช้แนวทางคมนาคมเก่าคือแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ก่อนหน้าเป็นสำคัญ

ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ

จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง

ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี

ตั้งแต่ช่วงบ้านสร้าง ทางรถไฟโค้งไปทางตะวันออกล้อกับแม่น้ำบางปะกงที่เรียกตอนนี้ว่าแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาใหญ่ขนานอยู่ทางทิศเหนือ จนเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี จากจุดนี้ทางรถไฟใช้การตัดทางใหม่ลัดเข้าสู่ต้นน้ำบางปะกง มีชุมชนโบราณที่เป็นด่านระหว่างทางบนลำน้ำ เช่น ประจันตคามหรือด่านกบแจะ กบินทร์บุรีหรือด่านหนุมานและพระปรง(เป็นจุดที่ทางรถไฟข้ามแควหนุมานและแควพระปรง ต้นน้ำบางปะกง) ต่อจากนั้นจึงใช้เส้นทางบกตัดลัดผ่านชุมชนที่ราบ เช่น สระแก้ว วัฒนานคร จนถึงอรัญประเทศและจุดผ่านแดนบ้านคลองลึกเข้าสู่ปอยเปตของกัมพูชา

แท้จริงแล้ว เส้นทางรถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย

ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน

ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน

การสาธารณสุข แก้

  • โรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง
    • โรงพยาบาลอรัญประเทศ
  • โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง
    • โรงพยาบาลค่ายสุรสิงหนาท อำเภออรัญประเทศ
  • โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ
  • หน่วยงานสาธารณสุข
    • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 16 แห่ง
    • สถานีกาชาด ที่ 6 จำนวน 1 แห่ง

อ้างอิง แก้

  1. http://www.sakaeo.go.th/websakaeo/content/history_office[ลิงก์เสีย]
  2. [1]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอ
  3. [2]ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลหนองแวง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยุบและแบ่งเป็นหมู่บ้านไปรวมกับตำบลโคกสูงและไปรวมตั้งเป็นตำบลตาพระยา ท้องทีอำเภอเดียวกัน
  4. [3]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๒
  5. [4]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๔๙๓
  6. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลเมืองไผ่และตำบลท่าข้ามในเขตท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
  7. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวัฒนานครกับอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
  8. [7] เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙
  9. [8] เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอตาพระยา
  10. [9] เก็บถาวร 2009-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖
  11. [10]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๕๑๒
  12. [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภออรัญประเทศและอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี
  13. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภออรัญประเทศและกิ่งอำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
  14. [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
  15. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัฒนานครและอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
  16. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
  17. [16] เก็บถาวร 2012-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง
  18. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  19. "เว็บไซต์เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


พิกัดภูมิศาสตร์: 13°41′16″N 102°30′22″E / 13.68778°N 102.50611°E / 13.68778; 102.50611