อำเภอลำสนธิ

อำเภอในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

ลำสนธิ เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 10 จาก 11 อำเภอของจังหวัดลพบุรี เป็นอำเภอที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน (สายชุมทางแก่งคอย - ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่) และยังเป็นที่ตั้งของอุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นเขตประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดโดยมีปรางค์นางผมหอม ซึ่งเดิมเป็นเมืองโบราณ

อำเภอลำสนธิ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Lam Sonthi
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์-เขาพังเหย-บัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 ตำบลลำสนธิ
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์-เขาพังเหย-บัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 ตำบลลำสนธิ
คำขวัญ: 
น้ำตกวังแสนดีชื่นบาน ตระหง่านปรางค์นางผมหอม แวดล้อมด้วยภูผา สมบูรณ์ป่าซับลังกา สายธาราลำสนธิ
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอลำสนธิ
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอลำสนธิ
พิกัด: 15°18′6″N 101°21′48″E / 15.30167°N 101.36333°E / 15.30167; 101.36333
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด447.0 ตร.กม. (172.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด27,155 คน
 • ความหนาแน่น60.75 คน/ตร.กม. (157.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15190
(ไปรษณีย์ลำสนธิ - ตำบลหนองรี ตำบลลำสนธิ ตำบลเขารวก ตำบลเขาน้อย ตำบลซับสมบูรณ์ และตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ รวมไปถึงพื้นที่ตำบลนาโสม ในเขตอำเภอชัยบาดาล)
รหัสภูมิศาสตร์1610
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลำสนธิ หมู่ที่ 1 ตำบลลำสนธิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี 15190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอลำสนธิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

 
ภาพถ่ายจากภูเขาฝั่งอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เบื้องล่างเป็นพื้นที่ของอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

ประวัติ แก้

พื้นที่ของอำเภอลำสนธิเดิมเป็นตำบลลำสนธิ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีในขณะนั้น ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลลำสนธิ[1] โดยเสนอให้รวมท้องที่ตำบลเขารวก ตำบลกุดตาเพชร ตำบลหนองรี ตำบลซับสมบูรณ์ เพื่อรวมขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปีต่อมา พ.ศ. 2530 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดลพบุรีได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิในท้องที่อำเภอชัยบาดาล ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2530 - 2534)

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลลำสนธิ ตำบลซับสมบูรณ์ ตำบลหนองรี ตำบลกุดตาเพชร และตำบลเขารวก ออกจากการปกครองของอำเภอชัยบาดาล รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอลำสนธิ[2] และในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยให้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลซับสมบูรณ์ รวมตั้งเป็นตำบลเขาน้อย[3] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลำสนธิ[4] จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอลำสนธิแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ลำสนธิ (Lam Sonthi) 6 หมู่บ้าน
2. ซับสมบูรณ์ (Sap Sombun) 7 หมู่บ้าน
3. หนองรี (Nong Ri) 13 หมู่บ้าน
4. กุดตาเพชร (Kut Ta Phet) 12 หมู่บ้าน
5. เขารวก (Khao Ruak) 6 หมู่บ้าน
6. เขาน้อย (Khao Noi) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอลำสนธิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสนธิทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสมบูรณ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดตาเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดตาเพชรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขารวกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาน้อยทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. "กระทู้ถามที่ ๘๐ ร. เรื่อง ขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ของ นายนิยม วรปัญญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (22 ง): (ฉบับพิเศษ) 38-42. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำสนธิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1885. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (5 ง): 7–12. วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539