อำเภอยางตลาด

อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย

ยางตลาด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น

อำเภอยางตลาด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Yang Talat
คำขวัญ: 
เร่งพันธุ์ดีดงระแนง แหล่งรวมการเกษตร
เขตกุ้งก้ามกรามรสเลิศ ถิ่นกำเนิดวงโปงลาง
เส้นทางสู่อินโดจีน แผ่นดินแห่งนักปราชญ์
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอยางตลาด
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอยางตลาด
พิกัด: 16°24′8″N 103°22′23″E / 16.40222°N 103.37306°E / 16.40222; 103.37306
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด621.084 ตร.กม. (239.802 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด127,523 คน
 • ความหนาแน่น205.32 คน/ตร.กม. (531.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46120
รหัสภูมิศาสตร์4607
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอยางตลาด ถนนถีนานนท์ ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 46120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติและที่มาของชื่อ แก้

อำเภอยางตลาดเดิมชื่อ อำเภอปจิมกาฬสินธุ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2451 หลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ และแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน อำเภอปจิมกาฬสินธุ์ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านดงเค็ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนสมบูรณ์ ลักษณะอาคารที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง

ต่อมาทางราชการเห็นว่า การตั้งชื่ออำเภอโดยใช้ทิศทางเป็นหลักจะทำให้ประชาชนเข้าใจยาก จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมกาฬสินธุ์ ("กาฬสินธุ์ตะวันตก") เป็น อำเภอภูแล่นช้าง ใน พ.ศ. 2456[1] ทั้งนี้เพื่อรักษาชื่อเมืองภูแล่นช้างไว้ไม่ให้สูญหายไป หลังจากนั้นทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอภูแล่นช้างจากบ้านดงเค็งมาตั้งที่บ้านยางซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหนองหมาจอก ใน พ.ศ. 2460 จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอจาก "ภูแล่นช้าง" เป็น อำเภอยางตลาด[2] ตามชื่อบ้านยางซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีความเจริญมาจนถึงปัจจุบัน

ตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล[3]ที่เริ่มมีผลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ประจวบพอเหมาะพอดีกับเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนชื่อจาก อำเภอภูแล่นช้าง เป็น อำเภอยางตลาด เพื่อรักษาชื่อ "ภูแล่นช้าง" เดิมมิให้สูญหายไปตามกาลเวลา ดังนั้นคนในท้องถิ่นจึงตั้งนามสกุลของตนโดยให้มีคำว่า "ภู" ขึ้นต้น

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอยางตลาดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอยางตลาดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 208 หมู่บ้าน

1. ยางตลาด (Yang Talat) 20 หมู่บ้าน 9. ดอนสมบูรณ์ (Don Sombun) 14 หมู่บ้าน
2. หัวงัว (Hua Ngua) 13 หมู่บ้าน 10. นาเชือก (Na Chueak) 14 หมู่บ้าน
3. อุ่มเม่า (Um Mao) 12 หมู่บ้าน 11. คลองขาม (Khlong Kham) 19 หมู่บ้าน
4. บัวบาน (Bua Ban) 23 หมู่บ้าน 12. เขาพระนอน (Khao Phra Non) 9 หมู่บ้าน
5. เว่อ (Woe) 11 หมู่บ้าน 13. นาดี (Na Di) 9 หมู่บ้าน
6. อิตื้อ (Itue) 12 หมู่บ้าน 14. โนนสูง (Non Sung) 12 หมู่บ้าน
7. หัวนาคำ (Hua Na Kham) 19 หมู่บ้าน 15. หนองตอกแป้น (Nong Tok Paen) 10 หมู่บ้าน
8. หนองอิเฒ่า (Nong I Thao) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอยางตลาดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโคกศรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอุ่มเม่าและตำบลดอนสมบูรณ์
  • เทศบาลตำบลยางตลาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยางตลาด
  • เทศบาลตำบลบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวบานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลอิตื้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอิตื้อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวนาคำทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเขาพระนอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระนอนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลอุ่มเม่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุ่มเม่า (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกศรี)
  • เทศบาลตำบลโนนสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสูงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางตลาด (นอกเขตเทศบาลตำบลยางตลาด)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวงัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวงัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเว่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเว่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอิเฒ่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนสมบูรณ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเชือกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตอกแป้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตอกแป้นทั้งตำบล

เทศกาลและประเพณีประจำปี แก้

  • งานประเพณีบุญคูณลานและของดีอำเภอยางตลาด จัดขึ้นช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอยางตลาด
  • เทศกาลหนาวลมห่มรักทุ่งทานตะวันสีทองหนองทึง [4][5]จัดขึ้นช่วงหน้าหนาวเดือนธันวาคมของทุกปี

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • ทุ่งทานตะวันสีทองหนองทึง
  • วัดสว่างหัวนาคำ
  • หนองหญ้าม้า (ทะเลบัวแดง)
  • อ่างเก็บน้ำบึงอร่าม
  • วัดอร่ามมงคล

การคมนาคม แก้

ถนนสายหลัก แก้

ถนนสายรอง แก้

รถโดยสารประจำทาง แก้

รถโดยสารจากกรุงเทพมหานคร (หมวด 2) แก้

รถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ - กาฬสินธุ์ /กรุงเทพฯ - นครพนม / กรุงเทพฯ - สกลนคร - เรณูนคร / กรุงเทพฯ - สหัสขันธ์ - บ้านแพง ของบริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง โดยใช้รถปรับอากาศชั้น 1 ,รถนอนปรับอากาศชั้น 1 พิเศษ 24 ที่นั่ง ,รถปรับอากาศชั้น 1 พิเศษ 32 ที่นั่ง และรถปรับอากาศชั้น 2 มีทั้งแบบชั้นเดียวและสองชั้น

สำหรับรถของนครชัยแอร์จะมีศูนย์บริการที่บริเวณร้านนานาพาณิช[7][8] ใกล้กับสี่แยกยางตลาด สามารถซื้อตั๋ว ขึ้นรถ ขนส่งสินค้า ได้ในที่เดียวโดยไม่ต้องไปที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์

ทางน้ำ แก้

สถานที่สำคัญ แก้

สถานที่ราชการ แก้

  • ที่ว่าการอำเภอยางตลาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด
  • เทศบาลตำบลยางตลาด
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษอำเภอยางตลาด
  • สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยางตลาด (กศน. ยางตลาด)
  • ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี กศน. ยางตลาด
  • สำนักงานเกษตรอำเภอยางตลาด
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอยางตลาด
  • สหกรณ์การเกษตรอำเภอยางตลาด
  • สถานีตำรวจภูธรอำเภอยางตลาด
  • ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอยางตลาด
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอยางตลาด
  • การประปาส่วนภูมิภาคสาขากาฬสินธุ์ หน่วยบริการยางตลาด
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด
  • สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
  • สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
  • สถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์
  • หมวดการทางยางตลาด แขวงการทางกาฬสินธุ์
  • สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้าธกส.กาฬสินธุ์ จำกัด (สกต.)

สถานพยาบาล แก้

  • โรงพยาบาลยางตลาด

ศาสนสถาน แก้

  • วัดอร่ามมงคล
  • วัดสว่างหัวนาคำ
  • วัดสามัคคีดงบ่อ
  • วัดกลางโคกค้อ
  • วัดดอนตาปู่
  • วัดสว่างอุทัยดอนยูง
  • วัดชุมทาง
  • วัดป่าวิมุตติธรรมวนาราม
  • วัดสว่างคงคา

สถานศึกษา แก้

การอาชีวศึกษา แก้

  • วิทยาลัยเทคโนโลยียางตลาด
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาว
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีเพิ่มพูนบริหารธุรกิจกาฬสินธุ์
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีณัชชวินทร์

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 2 แก้

  • โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอ)
  • โรงเรียนผดุงราษฎร์วิทยา
  • โรงเรียนโคกศรีวิทยายน
  • โรงเรียนหัวนาคำจรูญศิลป์
  • โรงเรียนดอนกลอยโนนชาด(พิลาศอุปถัมภ์)

โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 (สพม.24) แก้

โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก้

  • โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล

โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน แก้

  • โรงเรียนจรชนะศึกษา
  • โรงเรียนธนพรวิทยา
  • โรงเรียนเพิ่มพูนวิทยาคมกาฬสินธุ์
  • โรงเรียนอนุบาลลำปาว
  • โรงเรียนอนุบาลสว่างวิทย์

โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

  • โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร
  • โรงเรียนนาเชือกวิทยาคม
  • โรงเรียนลำปาววิทยาคม
  • โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม

อ้างอิง แก้

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1619–1620. 19 ตุลาคม 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
  3. นามสกุล
  4. https://www.facebook.com/HuanakumSunflower
  5. https://mgronline.com/local/detail/9590000128540
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/049/T_0087.PDF
  7. https://goo.gl/maps/5WtGuEBw1Ggvpy6G6
  8. https://goo.gl/maps/XJes2dTB1bQD9ERXA