อำเภอปัว

อำเภอในจังหวัดน่าน ประเทศไทย

ปัว (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านตอนเหนือ

อำเภอปัว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pua
วัดบ้านต้นแล้ง
วัดบ้านต้นแล้ง
คำขวัญ: 
ถิ่นผู้กล้าพญาผานอง ท่องอุทยานภูคา
ผ้าทอไทยลื้อ เลื่องลือเครื่องเงิน
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอปัว
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอปัว
พิกัด: 19°10′27″N 100°55′0″E / 19.17417°N 100.91667°E / 19.17417; 100.91667
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด657.363 ตร.กม. (253.809 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด64,259 คน
 • ความหนาแน่น97.75 คน/ตร.กม. (253.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55120
รหัสภูมิศาสตร์5505
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปัว หมู่ 5 ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

ปัวเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของ พญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร(เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง "วรนคร" ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้วจึงขนานนามว่าเมือง "วรนคร" ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา

เมื่อบ้านเมืองวรนครเริ่มมั่นคงเป็นปึกแผ่น เจ้าขุนฟองก็ได้เป็นพญาแล้วเสวยราชสมบัติในเมืองวรนคร มีพระโอรส 1 พระองค์ ใส่ชื่อเบิกบายว่า "เจ้าเก้าเกื่อน" ต่อมาไม่นานักพญาขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองภูคาหรือเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ แต่เจ้าเก้าเกื่อนไม่ค่อยเต็มใจนัก เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง และมอบให้ชายาคือ นางพญาแม่ท้าวคำปิน ซึ่งทรงครรภ์อยู่คอยปกครองดูแลรักษาเมืองวรนคร (เมืองปัว) แทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน

ไฟล์:พญาผานอง.jpg
อนุสาวรีย์พญาผานอง หน้าที่ว่าการอำเภอปัว

ในช่วงที่เมืองวรนคร (เมืองปัว) ว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือ พญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองปัวทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายท่ามกลางท้องไร่นั้น ชื่อว่า "เจ้าขุนใส" ปรากฏว่านายบ้านห้วยแร้งนั้น เป็นพ่อครัวพญาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับนางพญาแม่ท้าวคำปินและกุมารไปเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ อายุได้ 16 ปี ก็นำไปไหว้สาพญางำเมือง เมื่อพญางำเมืองเห็น ก็มีใจรักเอ็นดูรับเลี้ยงดูไว้ แลเติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมือง เป็นเจ้าเมืองปราดภาย หลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา แล้วกลับมาเป็นพญาเสวยเมืองวรนคร (เมืองปัว) และได้รับการสถาปนาเป็น "พญาผานอง" เมืองวรนคร จึงกลายชื่อมาเป็น เมืองปัว ซึ่งหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังปรากฏชื่อเมืองปัวอยู่ในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1

พญาผานองเสวยเมืองปัวอยู่ได้ 30 ปี มีโอรส 6 คน คนแรกชื่อ เจ้าการเมือง คนสุดท้องชื่อ เจ้าใส พอพญาผานองถึงแก่พิราลัยไปแล้ว เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็อภิเษกให้เจ้าใสผู้น้องเสวยเมืองแทน เพราะเป็นผู้มีความรู้เฉลียวฉลาด แต่อยู่ได้ 3 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยไปอีก เสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญ เจ้าการเมือง ขึ้นเสวยเมืองแทน

ไฟล์:บวงสรวงพญาผานอง.jpg
พิธีบวงสรวงพญาผานอง จะจัดตรงหน้าที่ว่าการอำเภอปัวในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัวด้วย

ครั้งนั้น พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลและได้เลือกสถานที่ บรรจุพระบรมธาตุ จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง ด้วยความเชื่อว่าเป็นที่เคยบรรจุพระบรมธาตุมาแต่ปางก่อน ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นเนินไม่สูงนัก ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเตี๋ยนกับน้ำลิง ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำน่าน จึงได้ระดมผู้คนก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่เนินแล้วอัญเชิญพระบรมธาตุมาบรจุไว้ พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า "เวียงภูเพียงแช่แห้ง" เมือปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอปัวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอปัวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 107 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[2]

1. ปัว   Pua 8 6,953
2. แงง   Ngaeng 7 4,645
3. สถาน   Sathan 13 5,988
4. ศิลาแลง   Sila Laeng 8 3,820
5. ศิลาเพชร   Sila Phet 10 4,443
6. อวน   Uan 11 4,739
7. ไชยวัฒนา   Chai Watthana 8 4,193
8. เจดีย์ชัย   Chedi Chai 9 6,723
9. ภูคา   Phu Kha 14 4,972
10. สกาด   Sakat 4 2,845
11. ป่ากลาง   Pa Klang 7 9,118
12. วรนคร   Wora Nakhon 8 5,626

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอปัวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปัวทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลสถาน ตำบลไชยวัฒนา และตำบลวรนคร
  • เทศบาลตำบลศิลาแลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศิลาแลงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวรนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวรนคร (นอกเขตเทศบาลตำบลปัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสถาน (นอกเขตเทศบาลตำบลปัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแงง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแงงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศิลาเพชรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยวัฒนา (นอกเขตเทศบาลตำบลปัว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์ชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูคาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสกาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสกาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่ากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่ากลางทั้งตำบล

การคมนาคม แก้

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (น่าน-ปัว-เฉลิมพระเกียรติ)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1081 (ปัว-เฉลิมพระเกียรติ)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ)

สถานศึกษา แก้

 
โรงเรียนปัว โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอปัว

โรงเรียนมัธยมศึกษา แก้

อาชีวศึกษา แก้

  • วิทยาลัยเทคนิคปัว

โรงเรียนประถมศึกษา แก้

  • โรงเรียนบ้านปรางค์ (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอปัว)
  • โรงเรียนวรนคร
  • โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166
  • โรงเรียนบ้านปงสนุก
  • โรงเรียนบ้านนาวงศ์
  • โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์)
  • โรงเรียนศรีสระวงศ์
  • โรงเรียนจตุราษฎร์ศึกษา
  • โรงเรียนสกาดพัฒนา
  • โรงเรียนชุมชนศิลาแลง
  • โรงเรียนชุมชนศิลาเพชร
  • โรงเรียนบ้านไร่

โรงเรียนเอกชน แก้

  • โรงเรียนอนุบาลปัวอินเตอร์คิดส์

สถานพยาบาล แก้

ไฟล์:ตราโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว2.jpg
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว โรงพยาบาลประจำอำเภอปัว

อำเภอปัว มีสถานพยาบาลบริการทั้งหมด 14 แห่ง ดังนี้

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว (โรงพยาบาลประจำอำเภอ)
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปัว
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลาแลง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแงง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสถาน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลาเพชร
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอวน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไชยวัฒนา
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจดีย์ชัย
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภูคา
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสกาด
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่ากลาง
  • สถานบริการสาธารณสุขชุมชนผาเวียง ตำบลภูคา
  • สถานบริการสาธารณสุขชุมชนกอก ตำบลภูคา

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

 
น้ำตกตาดหลวง

ธนาคาร แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติอำเภอปัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2012-08-18.
  2. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.