อำเภอบุณฑริก

อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

บุณฑริก [บุน-ทะ-ริก][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ประชากรส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม

อำเภอบุณฑริก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Buntharik
คำขวัญ: 
บุณฑริกบัวขาว ชาวราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำน้ำตก
ป่ารกเขาชัน เขตกั้นแดนลาว หน้าหนาวปูขน
ชลโดมไหลเวียน ภาพเขียนห้าพันปี
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอบุณฑริก
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอบุณฑริก
พิกัด: 14°45′24″N 105°24′41″E / 14.75667°N 105.41139°E / 14.75667; 105.41139
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,402.0 ตร.กม. (541.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด95,544 คน
 • ความหนาแน่น68.15 คน/ตร.กม. (176.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 34230
รหัสภูมิศาสตร์3410
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบุณฑริก หมู่ที่ 1 ตำบลโพนงาม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 34230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอบุณฑริกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด 92 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 620 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

อำเภอบุณฑริกก่อนยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เป็นชุมชนเล็ก ๆ เรียกว่า เมืองบัว


เมื่อปี พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้ยกบ้าน "ดงกระชุ" (บ้านไร่) ขึ้นเป็น "เมืองบัว" ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์  โดยมีพระอภัยธิเบศร์วิเศษสงครามเป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระอภัยถึงแก่อนิจกรรม ได้แต่งตั้งให้นายใสเป็นเจ้าเมือง ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงบุณฑริกเขตตานุรักษ์" ราวปี พ.ศ. 2402


ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. 2443-2445 มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคครั้งใหญ่ เมืองบัวยังคงขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ มณฑลอุบลราชธานี เช่นเดิม ในปี พ.ศ. 2446 ไทยเสียดินแดนจำปาศักดิ์ให้กับฝรั่งเศส จึงได้โอนเมืองบัว มาขึ้นกับอำเภอเดชอุดม จังหวัดขุขันธ์  จนถึงปี พ.ศ. 2452 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบัวบุณฑริก


28 กรกฎาคม รศ.131 (พ.ศ. 2455) ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลิกและยุบอำเภอต่างๆ ในมณฑลอุบลลงเป็นกิ่งอำเภอ เก็บถาวร 2012-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยมีการยุบอำเภอบัวบุณฑริก ลงเป็นกิ่งอำเภอไปขึ้นกับอำเภอเดชอุดม จังหวัดขุขันธ์ เรียกว่า “กิ่งบัวบุณฑริก”


วันที่ 29 เมษายน 2460 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน  โดยประกาศเปลี่ยนชื่อ กิ่งบัวบุณฑริก  จังหวัดขุขันธ์  เป็น “กิ่งโพนงาม”


23 ธันวาคม 2471 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศโอนกิ่งอำเภอโพนงามไปขึ้นจังหวัดอุบลราชธานี โดยประกาศให้ท้องที่อำเภอเดชอุดมและกิ่งอำเภอโพนงาม จังหวัดขุขันธ์  ซึ่งมีระยะทางห่างไกลจากจากที่ตั้งบัญชาการจังหวัด เป็นการลำบากและเดือดร้อนแก่ผู้มีกิจธุระซึ่งต้องไปมายังที่ตั้งบัญชาการจังหวัดขุขันธ์  แต่อยู่ใกล้ไปทางจังหวัดอุบลราชธานี  ไม่สะดวกแก่การปกครอง  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนการปกครองอำเภอเดชอุดมและกิ่งอำเภอโพนงาม จากจังหวัดขุขันธ์ ไปขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี


จากนั้นในท้องที่กิ่งอำเภอบุณฑริก มีชุมชุมชนและการค้าหนาแน่น และมีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกให้แก่ราษฎรและส่งเสริมท้องที่ให้เจริญยิ่งขึ้น จนกระทั่งในวันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบุณฑริก อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นเป็น “อำเภอบุณฑริก”  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอบุณฑริกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 127 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โพนงาม (Phon Ngam) 14 หมู่บ้าน 5. หนองสะโน (Nong Sano) 23 หมู่บ้าน
2. ห้วยข่า (Huai Kha) 23 หมู่บ้าน 6. โนนค้อ (Non Kho) 11 หมู่บ้าน
3. คอแลน (Kho Laen) 18 หมู่บ้าน 7. บัวงาม (Bua Ngam) 15 หมู่บ้าน
4. นาโพธิ์ (Na Pho) 11 หมู่บ้าน 8. บ้านแมด (Ban Maet) 12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอบุณฑริกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบุณฑริก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพนงามและบางส่วนของตำบลบัวงาม
  • เทศบาลตำบลคอแลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอแลนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนงาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบุณฑริก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยข่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสะโน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสะโนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนค้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวงาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบุณฑริก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแมด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแมดทั้งตำบล

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 54.