อำเภอนาแห้ว

อำเภอในจังหวัดเลย ประเทศไทย

นาแห้ว เป็นอำเภอในจังหวัดเลย เป็น 1 ใน 6 ของจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย และวัดศรีโพธิ์ชัย

อำเภอนาแห้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Haeo
วัดศรีโพธิ์ชัย
คำขวัญ: 
ถิ่นกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เลื่องลือไกลพระธาตุดินแทน สุดแดนสยามเมืองหนาว เมืองแห่งหุบเขากระชายดำ เลิศล้ำวัฒนธรรมประเพณีริมเหือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองวัดโพธิ์ชัย ผู้คนแจ่มใสน้ำใจดีงาม
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอนาแห้ว
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอนาแห้ว
พิกัด: 17°29′6″N 101°4′12″E / 17.48500°N 101.07000°E / 17.48500; 101.07000
ประเทศ ไทย
จังหวัดเลย
พื้นที่
 • ทั้งหมด628.0 ตร.กม. (242.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด11,689 คน
 • ความหนาแน่น18.61 คน/ตร.กม. (48.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 42170
รหัสภูมิศาสตร์4206
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาแห้ว หมู่ที่ 5 ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 42170
เว็บไซต์http://www.nahaeo.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
พรมแดนไทย-ลาวในเขตตำบลเหล่ากอหก

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอนาแห้ว มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 
ลำน้ำเหืองในเขตตำบลแสงภา

ประวัติ แก้

อำเภอนาแห้วเดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เมื่อปี พ.ศ. 2481 หลวงวิชิต สุรการ ตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดเลยในสมัยนั้น ริเริ่มจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ แต่ยังมิได้รับการจัดตั้ง หลวงวิชิต สุรการ ก็ได้พ้นจากตำแหน่ง และผู้รับตำแหน่งใหม่ก็ได้ดำเนินการต่อเนื่อง ครั้นถึงปี พ.ศ. 2498 นายจัด สุรเดโช นายอำเภอด่านซ้าย ได้ดำเนินการต่อและได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาแห้ว เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 มีเขตการปกครอง 2 ตำบล คือ ตำบลนาแห้ว และตำบลนาพึง[1] ที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอนาแห้ว ณ ตำบลนาแห้ว เปิดทำการเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2513 โดยอาศัยสถานีตำรวจภูธรตำบลนาแห้ว เป็นที่ทำการชั่วคราวและได้รับการแยก 6 หมู่บ้านออกจากตำบลนาแห้ว ตั้งเป็นตำบลแสงภา[2] รวมเป็น 3 ตำบล

ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็น อำเภอนาแห้ว[3] ในปี พ.ศ. 2523 ได้แยกพื้นที่ 7 หมู่บ้านออกจากตำบลนาพึง ตั้งเป็น ตำบลนามาลา[4] และตั้งตำบลลำดับที่ 5 ของทางอำเภอนาแห้วในปี พ.ศ. 2531 โดยแยกพื้นที่หมู่ 3 บ้านเหล่ากอหก รวมกับอีก 4 หมู่บ้านในตำบลแสงภา ตั้งเป็น ตำบลเหล่ากอหก[5]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอนาแห้วแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาแห้ว (Na Haeo) 7 หมู่บ้าน
2. แสงภา (Saeng Pha) 6 หมู่บ้าน
3. นาพึง (Na Phueng) 8 หมู่บ้าน
4. นามาลา (Na Ma La) 8 หมู่บ้าน
5. เหล่ากอหก (Lao Ko Hok) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอนาแห้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาแห้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแห้วทั้งตำบล (เขตสุขาภิบาลนาแห้วเดิม)[6][7]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสงภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสงภาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาพึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาพึงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนามาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนามาลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากอหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ากอหกทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ แก้

  • อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นอุทยานแห่งชาติในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย" เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากชื่อภูสวนทรายเป็นภูเขาที่เด่นที่สุดในพื้นที่อุทยาน ในอุทยานแห่งชาติภูสวนทรายมีหินสี่ก้อนที่เป็นตัวแทนทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น มีเนิน 1255 และเนิน 1408 เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของสมรภูมิบ้านร่มเกล้า บนภูสวนทรายมีจุดที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม และมีความหลากหลายทางชีวภาพ
  • วัดศรีโพธิ์ชัย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า "วัดบ้านแสงภา" สิมหรือโบสถ์เป็นแบบศิลปะล้านช้าง กษณะเป็นสิมทึบขนาดใหญ่ที่มีเสารับหลังคาปีกนก สิมอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของวัด เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 5 ห้อง หันหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนล้อมรอบโดยเปิดเป็นทางเข้า 6 ทาง ทำให้มีลักษณะเป็นระเบียงทางเดินรอบตัวอาคาร ขนาดของสิมยาว 13 เมตร เมื่อรวมกับความยาวพื้นที่ระเบียงมุขหน้าและหลังจะยาวถึง 18.5 เมตร ความกว้างรวมระเบียงข้าง 13.5 เมตร ซึ่งอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างตัวอาคารและกำแพงแก้วมีขนาดยาว 23.5 เซนติเมตร หนา 5.5 เซนติเมตร ส่วนฐานอาคารประกอบด้วยชั้นฐานเขียงสูง 60 เซนติเมตร และฐานบัวคว่ำสูง 30 เซนติเมตร รอบรับตัวอาคารที่มีผนังสูงขึ้นไปประมาณ 220 เซนติเมตร โดยมีลวดลายพันธุ์พฤกษาปูนปั้นประดับอยู่ที่มุมฐานบัวคว่ำด้วย ภายในสิมประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปประทับขัดนั่งสมาธิเพชรแสดงปางมารวิชัยศิลปะล้านช้าง นามว่า หลวงพ่อใหญ่
  • พระธาตุดินแทน มีลักษณะแตกต่างกับพระธาตุองค์อื่นโดยสิ้นเชิง เพราะสร้างขึ้นจากดินที่มีผู้ศรัทธานำมากองทับถมกันเป็นเวลานาน จนเป็นภูเขาดินขนาดใหญ่ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ได้มีพระธุดงค์เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้และได้สอนชาวบ้านถึงเหตุระงับเภทภัย ต้องถือปฏิบัติตนสามข้อ คือ 1. ห้ามผิดศีล 2.ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 3.ห้ามเล่นไสยศาสตร์ หลังจากนั้นจึงร่วมกับชาวบ้านสร้างพระธาตุขึ้นมา และกลายเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนบ้านแสภานับแต่นั้นมา

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (17 ง): 854. วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2513
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอภูกระดึง อำเภอด่านซ้าย กิ่งอำเภอภูเรือ และกิ่งอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (86 ง): 2587–2594. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2513
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2519
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาแห้ว อำเภอปากชม จังหวัดเลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 14–19. วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2523
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาแห้ว อำเภอภูกระดึง และกิ่งอำเภอผาขาว จังหวัดเลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 96–107. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 33–34. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547