อำเภอท่ามะกา

อำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ท่ามะกา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

อำเภอท่ามะกา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Maka
วัดพระแท่นดงรัง
วัดพระแท่นดงรัง
คำขวัญ: 
ประตูเมืองสู่เมืองกาญจน์ พุทธสถานพระแท่น
พงตึกแคว้นอารยธรรม ย่านอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอท่ามะกา
แผนที่จังหวัดกาญจนบุรี เน้นอำเภอท่ามะกา
พิกัด: 13°55′15″N 99°45′56″E / 13.92083°N 99.76556°E / 13.92083; 99.76556
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด340.8 ตร.กม. (131.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด132,892 คน
 • ความหนาแน่น389.94 คน/ตร.กม. (1,009.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71120,
71130 (เฉพาะตำบลดอนชะเอม ท่าเรือ พระแท่น แสนตอ อุโลกสี่หมื่น ตะคร้ำเอน และหนองลาน),
70190 (เฉพาะตำบลสนามแย้)
รหัสภูมิศาสตร์7105
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่ามะกา หมู่ที่ 2 ถนนแสงชูโต ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอท่ามะกาเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 97 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี 30 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์ แก้

จากการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ชื่อ สถิต เลิศวิชัย ได้บันทึกไว้ว่าอำเภอท่ามะกานั้น เดิมชื่อ อำเภอลาดบัวขาว ตั้งขี้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยเอาพื้นที่เขตตำบลท่าผา ตำบลธรรมเสน และตำบลลาดบัวขาวรวมกันตั้งเป็น "อำเภอลาดบัวขาว" ในสมัยนั้นยังขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี (ขณะนี้ที่ตั้งของอำเภอลาดบัวขาวเดิม เป็นที่ตั้งของวัดลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ตรงข้ามวัดโกสินารายณ์ คนละฝั่งของแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบัน)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 หรือรัตนโกสินทรศก 124 ทางราชการได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอลาดบัวขาวมาตั้งใหม่ที่ตำบลพงตึก และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจากอำเภอลาดบัวขาวเป็น อำเภอพระแท่น ทั้งนี้เพราะในเขตอำเภอมีปูชนียสถานที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา คือ "พระแท่นดงรัง" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปของชาวพุทธ

ในปี พ.ศ. 2453 สมัยขุนศรีสรนาสน์นิคมหรือมหาจันทร์ ปุญสิริเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอพระแท่นจากตำบลพงตึกมาตั้งใหม่ที่หมู่บ้าน "ถ้ำมะกา" ทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง โดยซื้อที่ดินของขุนอารักษ์อรุณกิจ จำนวน 10 ไร่ 20 ตารางวา เป็นเงิน 120 บาท และที่ดินของนายชื่น จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา เป็นเงิน 120 บาท รวมเป็นเนื้อที่ของอำเภอ 12 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา ใช้เป็นที่สร้างที่ว่าการอำเภอพระแท่นหลังใหม่ เนื่องจากที่ท่าน้ำหน้าอำเภอมีต้นมะกาต้นใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 สมัยขุนรามบุรีรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) เป็นนายอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่จากอำเภอพระแท่นเป็น อำเภอท่ามะกา ซึ่งยังคงขึ้นอยู่ท้องที่จังหวัดราชบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2480 จึงได้โอนมาขึ้นอยู่กับท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีจนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอท่ามะกาแบ่งเขตการปกครองออกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 17 ตำบล 154 หมู่บ้าน ได้แก่

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอท่ามะกาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลตะคร้ำเอน
  • เทศบาลตำบลลูกแก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลดอนขมิ้น
  • เทศบาลตำบลท่ามะกา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่ามะกา
  • เทศบาลตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพระแท่น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพระแท่น
  • เทศบาลตำบลหวายเหนียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหวายเหนียว
  • เทศบาลตำบลดอนขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนขมิ้น (นอกเขตเทศบาลตำบลลูกแก)
  • เทศบาลตำบลหนองลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองลานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลพระแท่นลำพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระแท่น (นอกเขตเทศบาลตำบลพระแท่น)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพงตึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงตึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนชะเอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนชะเอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะคร้ำเอน (นอกเขตเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะกา (นอกเขตเทศบาลตำบลท่ามะกา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกตะบอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตะบองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอุโลกสี่หมื่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุโลกสี่หมื่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบหาบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาสามสิบหาบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหวายเหนียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหวายเหนียว (นอกเขตเทศบาลตำบลหวายเหนียว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนตอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสนามแย้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสนามแย้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสาทั้งตำบล

สภาพเศรษฐกิจ แก้

ประชากรมีอาชีพทางเกษตรเป็นหลัก มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 50,000 บาทต่อปี

การเกษตรกรรม แก้

พื้นที่ทางเกษตรกรรมของอำเภอท่ามะกา มีทั้งสิ้น 134,482 ไร่ พืชทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อ้อย 75,055 ไร่ ข้าว 44,177 ไร่ ไม้ผล 3,595 ไร่ พืชผัก 1,643 ไร่

การอุตสาหกรรม แก้

ประชากรประมาณร้อยละ 10 ประกอบอาชีพอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่มาก โดยเฉพาะโรงงานน้ำตาล มีจำนวน 6 โรงงาน และยังมีโรงงานผลไม้กระป๋อง โรงงานไม้อัด โรงงานฟอกย้อม โรงงานน้ำตาลทรายแดง โรงงานผลิตปุ๋ย โรงงานวุ้นเส้น ฯลฯ

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

อำเภอท่ามะกา มีโบราณสถานและปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่

พระแท่นดงรัง เป็นปูชนียสถานที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลพระแท่น ห่างจากที่ทำการอำเภอประมาณ 16 กิโลเมตร มีแท่นศิลาซึ่งถือเป็นที่บรรทมของพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน ทุกปีเมื่อถึงวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ประมาณเดือนมีนาคม จะมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมานมัสการพระแท่นดงรังเป็นประจำทุกปี

โบราณสถานพงตึก ตั้งอยู่ใกล้กับวัดดงสัก หมู่ที่ 4 ตำบลพงตึก ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ประมาณ 6 กิโลเมตร พงตึกเป็นเมืองโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี มีอายุประมาณ 1,000-2,000 ปี วัตถุโบราณที่ขุดค้นพบได้นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และบางส่วนยังเก็บรักษาไว้ที่วัดดงสัก

การคมนาคม แก้

การคมนาคม มีถนนติดต่อและขนส่งสินค้าในอำเภอและระหว่างอำเภอได้อย่างสะดวก เส้นทางคมนาคมที่สำคัญดังนี้

  • ทางรถยนต์
    • ถนนแสงชูโต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323) เป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านอำเภอท่ามะกา ไปจังหวัดกาญจนบุรี
    • ถนนกำแพงแสน-พนมทวน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346) เริ่มจากอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผ่านอำเภอท่ามะกาในเขตตำบลหนองลาน ตำบลพระแท่น ตำบลอุโลกสี่หมื่น ไปยังอำเภอพนมทวน บรรจบกับถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 324)
    • ถนนท่ามะกา-หนองตากยา (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3209) เริ่มจากตำบลท่ามะกา ผ่านตำบลหวายเหนียว ตำบลแสนตอ ไปเขตอำเภอท่าม่วง
    • ถนนท่าเรือ-พระแท่นดงรัง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3081) ผ่านตำบลตะคร้ำเอน ไปเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 ในเขตตำบลพระแท่น
    • ถนนหวายเหนียว- หนองปลาหมอ (รพช.หมายเลข กจ.11023 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ทช. กจ4029) เริ่มต้นจากตำบลหวายเหนียว ผ่านตำบลเขาสามสิบหาบ ตำบลโคกตะบอง ไปยัง หนองปลาหมอ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

นอกจากนั้น ยังมีทางหลวงท้องถิ่นติดต่อระหว่างตำบลและอำเภอใกล้เคียงครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ใช้สัญจรไปมาได้ตลอดปี

  • ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายตะวันตกจากสถานีธนบุรี-สถานีน้ำตก โดยวิ่งผ่านตำบลดอนขมิ้น ตำบลท่าไม้ ตำบลท่ามะกา และเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น

การให้บริการ แก้

การเดินทางในอำเภอท่ามะกา มีรถยนต์โดยสารประจำทางและรถไฟวิ่งให้บริการแก่ประชาชน ดังนี้คือ

  1. รถยนต์โดยสารประจำทางปรับอากาศ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี
  2. รถยนต์โดยสารประจำทาง ราชบุรี-กาญจนบุรี
  3. รถยนต์โดยสารประจำทาง บ้านโป่ง-กาญจนบุรี
  4. รถยนต์โดยสารประจำทาง ท่ามะกา-อำเภอด่านมะขามเตี้ย
  5. รถยนต์โดยสารประจำทาง ตลาดท่าเรือ-พระแท่น
  6. รถยนต์โดยสารประจำทาง บ้านห้วยกระบอก-ตลาดลูกแก
  7. รถไฟสายตะวันตกจากสถานีธนบุรี-สถานีน้ำตก จังหวัดกาญจนบุรี

ทรัพยากรธรรมชาติ แก้

  • ทรัพยากรดิน ลักษณะดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย เหมาะสำหรับการปลูกข้าว และดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ต่าง ๆ
  • ทรัพยากรน้ำ

–แม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งไหลมาจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ผ่านตำบลตะคร้ำเอน ตำบลแสนตอ ตำบลท่ามะกา ตำบลหวายเหนียว ตำบลพงตึก ตำบลท่าไม้ ตำบลท่าเสา และตำบลดอนขมิ้น ซึ่งมีระยะที่ไหลผ่านอำเภอท่ามะกาประมาณ 15 กิโลเมตร

–คลองชลประทาน มีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาให้บริการในเขตอำเภอท่ามะกา จำนวน 4 โครงการ คือ

  1. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่ามะกา รับผิดชอบส่งน้ำในท้องที่ตำบลแสนตอ ตำบลหวายเหนียว ตำบลพงตึก ตำบลท่าเสา ตำบลโคกตะบอง และตำบลเขาสามสิบหาบ
  2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครปฐม รับผิดชอบส่งน้ำในท้องที่ตำบลตะคร้ำเอน ตำบลท่ามะกา ตำบลท่าไม้ ตำบลยางม่วง และตำบลดอนขมิ้น
  3. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากำแพงแสน รับผิดชอบส่งน้ำในท้องที่ตำบลท่าไม้ ตำบลดอนขมิ้น ตำบลสนามแย้ และตำบลยางม่วง
  4. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพนมทวน รับผิดชอบส่งน้ำในท้องที่ตำบลตะคร้ำเอน ตำบลอุโลกสี่หมื่น ตำบลหนองลาน และตำบลพระแท่น

แหล่งข้อมูลอื่น แก้