อำเภอขาณุวรลักษบุรี

อำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย

ขาณุวรลักษบุรี [ขา-นุ-วอ-ระ-ลัก-สะ-บุ-รี][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นเขตท้องที่ของอำเภอคลองขลุงทั้งหมด ก่อนที่จะขอจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอโดยการปกครองบางส่วนออกจากอำเภอคลองขลุง ในพ.ศ. 2450[2][3] และยกฐานะเป็นอำเภอในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2491[4] รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 41 ปี

อำเภอขาณุวรลักษบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khanu Woralaksaburi
คำขวัญ: 
เมืองตอเป็นแสน ดินแดนประพาสต้น
ถิ่นคนผมแดง แหล่งอารยธรรมโบราณ
แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอขาณุวรลักษบุรี
แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอขาณุวรลักษบุรี
พิกัด: 16°3′41″N 99°51′38″E / 16.06139°N 99.86056°E / 16.06139; 99.86056
ประเทศ ไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,158.780 ตร.กม. (447.407 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด102,591 คน
 • ความหนาแน่น88.53 คน/ตร.กม. (229.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 62130 (เฉพาะตำบลป่าพุทรา, ยางสูง, เกาะตาล, แสนตอ),
62140
รหัสภูมิศาสตร์6204
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี หมู่ที่ 2 ถนนสลกบาตร-แสนตอ ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร 62180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เมืองแสนตอ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณรุ่นเดียวกับเมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในสมัยสมเด็จพระมหาจักพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ใจความว่า เมื่อ พ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชร ได้ช้าง 40 เชือก

สาเหตุที่เรียกว่าเมืองแสนตอ อาจเพราะมีตอจำนวนมากในแม่น้ำปิง บ้างสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรอ ที่เมืองแสนตอ ทำดักเรือของพม่าเมื่อไปตีกรุงศรีอยุธยา หรือบางท่านก็ว่ามีการตัดไม้มาก เมื่อตลิ่งพัง ตอเหล่านั้นได้ตกลงไปในน้ำ ทำให้ลำน้ำปิงช่วงแสนตอมีตอมากมาย จึงเรียกว่าเมืองแสนตอ[5]

  • วันที่ 1 มกราคม 2450 แยกพื้นที่ตำบลแสนตอ ตำบลสลกบาตร ตำบลบ่อถ้ำ และตำบลยางสูง จากอำเภอขาณุ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขาณุ[2][3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขาณุ
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอขาณุ อำเภอขาณุ (อำเภอคลองขลุง) จังหวัดกำแพงเพชร เป็น กิ่งอำเภอแสนตอ[6]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอแสนตอ อำเภอขาณุ เป็น กิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี[7]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง เป็น อำเภอขาณุวรลักษบุรี[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอขาณุวรลักษบุรีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอขาณุวรลักษบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 143 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ยางสูง (Yang Sung) 7. วังชะพลู (Wang Chaphlu)
2. ป่าพุทรา (Pa Phutsa) 8. โค้งไผ่ (Khong Phai)
3. แสนตอ (Saen To) 9. ปางมะค่า (Pang Makha)
4. สลกบาตร (Salok Bat) 10. วังหามแห (Wang Ham Hae)
5. บ่อถ้ำ (Bo Tham) 11. เกาะตาล (Ko Tan)
6. ดอนแตง (Don Taeng)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอขาณุวรลักษบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองปางมะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปางมะค่าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยางสูง ตำบลป่าพุทรา และตำบลแสนตอ
  • เทศบาลตำบลสลกบาตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสลกบาตร
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางสูง (นอกเขตเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าพุทรา (นอกเขตเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสนตอ (นอกเขตเทศบาลตำบลขาณุวรลักษบุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสลกบาตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสลกบาตร (นอกเขตเทศบาลตำบลสลกบาตร)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อถ้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อถ้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแตง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแตงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังชะพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังชะพลูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโค้งไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหามแหทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะตาลทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. February 26, 1921.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 294–297. November 12, 1922.
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขาณุวรลักษณบุรี อำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (66 ง): 3649. November 16, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.
  5. [1], ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-07.
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขาณุวรลักษณบุรี อำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (66 ง): 3649. November 16, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-01-21.