อำเภอกรงปินัง

อำเภอในจังหวัดยะลา ประเทศไทย

กรงปินัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา พ.ศ. 2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547

อำเภอกรงปินัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Krong Pinang
คำขวัญ: 
ตำนานเมืองหมาก มากมีผลไม้
ธรรมชาติสดใส ใจคนงดงาม
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอกรงปินัง
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอกรงปินัง
พิกัด: 6°24′40″N 101°16′24″E / 6.41111°N 101.27333°E / 6.41111; 101.27333
ประเทศ ไทย
จังหวัดยะลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด191.0 ตร.กม. (73.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด30,191 คน
 • ความหนาแน่น158.07 คน/ตร.กม. (409.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 95000
รหัสภูมิศาสตร์9508
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกรงปินัง หมู่ที่ 3 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 95000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอกรงปินังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

กรงปินังมาจากคำว่า กำปงปิแน (ยาวี: كامڤوڠ ڤينڠ; รูมี: Kampong Pinang) ซึ่งเป็นภาษามลายูท้องถิ่น คำว่า "กำปง" แปลว่า บ้านป่า ส่วนคำว่า '"ปิแน" หรือ "ปินัง" แปลว่าหมาก รวมกันจึงมีความหมายว่า หมู่บ้านหมาก[1]

บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "กรง" ที่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้โบราณ มีความหมายเดียวกับคำว่า กง, กรุง และเกาะ หมายถึงบริเวณที่มีภูเขาโอบล้อม ซึ่งกรงปีนังเป็นพื้นที่ตามแนวเขาระหว่างทิวเขาสันกาลาคีรีทางตะวันตก และมีทิวเขาบือยออยู่ทางทิศตะวันออก

กิ่งอำเภอกรงปินัง ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยแยกพื้นที่การปกครองออกจากอำเภอเมืองยะลาตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2537[2] ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา พ.ศ. 2547 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอกรงปินัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547[3]

ประชากร แก้

พ.ศ. 2562 กรงปินังมีประชากรอยู่ 29,376 คน ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 99.85 มีมัสยิด 35 แห่ง[4] ใน พ.ศ. 2563 มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่ 42 คน[5] คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของประชากรทั้งหมด ก่อนหน้านี้เมื่อ พ.ศ. 2552 มีชาวพุทธเพียง 20 คน[6] อาศัยอยู่บ้านบือแนลาแลในตำบลสะเอะเพียงหมู่บ้านเดียว และไม่มีวัดประกอบศาสนกิจ[7] ทั้งยังเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่สีแดงซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลอบสังหารหรือทำร้าย[8][9][10] ส่วนในตำบลกรงปินัง, ตำบลห้วยกระทิง และตำบลปุโรงไม่มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่เลย แต่มีชาวพุทธบางส่วนเป็นข้าราชการที่เข้าไปทำงานในตำบลเหล่านี้[11][12][13]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอกรงปินังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กรงปินัง (Krong Pinang) 9 หมู่บ้าน
2. สะเอะ (Sa-e) 6 หมู่บ้าน
3. ห้วยกระทิง (Huai Krathing) 4 หมู่บ้าน
4. ปุโรง (Purong) 4 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอกรงปินังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกรงปินังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเอะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกระทิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยกระทิงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปุโรงทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน. 2547, หน้า 347
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอกรงปินัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 20. 26 พฤษภาคม 2537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา พ.ศ. ๒๕๔๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 60 ก): 1–2. 7 ตุลาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  4. ศาสนาในอำเภอกรงปินัง[ลิงก์เสีย]
  5. "นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย วัฒนธรรมจังหวัดยะลา นายสุวิทย์ นาคเป้า ปลัดอาวุโสอำเภอกรงปินัง ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนให้กำลังใจพี่น้องคนไทยนับถือศาสนาพุทธในพื้นที่ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ซึ่งมีจำนวน ๔๒ คน". กระทรวงวัฒนธรรม. 20 กุมภาพันธ์ 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ลมหายใจเฮือกสุดท้าย "ชาวพุทธแดนใต้"". สยามรัฐ. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "กิจกรรมทำบุญและมอบทุนการศึกษาชุมชนไทยพุทธบ้านบือแนลาแล อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา". South Deep Outlook. 17 สิงหาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เจาะเครือข่ายคนพุทธชายแดนใต้ จับจังหวะเคลื่อนไหวประเด็นเปราะบาง". อิศรา. 7 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ฮิวแมนไรท์วอทช์ชี้ผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้ต้องยุติการโจมตีพลเรือน". ประชาไท. 20 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ผบ. ฉก. ทพ. 33 พร้อมด้วย ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่บ้านบือแนลาแล ร่วมให้การต้อนรับ พล.อ. มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา ผอ. รมน. ภาค 4". ข่าวนคร. 28 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  11. "เปิดเรียนยะลาคึกคัก ตำรวจ - ทหาร สนธิกำลัง รปภ.เข้ม". MGR Online. 17 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  12. "ร.ร.บ้านกูวา ที่ยะลา ปิดเรียนไม่มีกำหนดหลังโจรใต้ขู่เอาชีวิตครู". ไทยรัฐออนไลน์. 14 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ชายแดนใต้เครียดขู่ฆ่าครูรับวันครู". นาว 26. 15 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

6°23′58″N 101°15′20″E / 6.39954°N 101.25549°E / 6.39954; 101.25549