อาศรม[1]ในศาสนาฮินดูหมายถึงระยะของชีวิต 4 ระยะซึ่งมีระบุไว้ในเอกสารยุคโบราณและยุคกลางของฮินดู[2] อาศรมทั้งสี่ระยะได้แก่ พรหมจรรยะ (ผู้เรียน), คฤหัสถะ (ผู้ครองเรือน), วานปรัสถะ (ผู้ออกจาริก) และ สันยาสะ (ผู้ละทิ้งทางโลก)[3]

อาศรมสี่เป็นหนทางหนึ่งของแนวคิด ธรรมะ ในศาสนาฮินดู[4] และเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นทางจริยศาสตร์ของปรัชญาอินเดีย ที่ซึ่งถูกรวมเข้ากับเป้าหมายสี่ประการของชีวิตมนุษย์ (ปุรุษสรรถะ) เพื่อการเติมเต็ม, ความสุข และการบรรลุทางจิตวิญญาณ[5] แนวคิดอาศรม 4 ยังมีอิทธิพลต่อการวางแผนดำรงชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะในอินเดีย[6][7]

ระบบอาศรม แก้

ภายใต้ระบบอาศรมสี่ ชีวิตมนุษย์แบ่งออกเป็นสี่ช่วง[6][8] โดยเป้าหมายของแต่ละช่วงชีวิตคือการเติมเต็มและพัฒนาปัจเจก ในระบบอาศรมแบบคลาสสิก เช่นใน อาศรมอุปนิษัท, ไวขานสธรรมสูตร และใน ธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนขึ้นในยุคถัดมา มีการระบุช่วงอายุแนะนำในการเข้าสู่แต่ละระยะ ในขณะที่ระบบดั้งเดิมดังที่ปรากฏใน ธรรมสูตร ยุคแรก อาศรมทั้งสี่เป็นวิถีชีวิตทางเลือกสี่แบบ โดยไม่ปรากฏการระบุช่วงวัยที่ให้ปฏิบัติ[2][9]

ระบบอาศรมสี่
อาศรม / ช่วงชีวิต อายุ (ปี)[10] รายละเอียด พิธีเปลี่ยนผ่าน
พรหมจรรย์
(ผู้เรียน)
ถึง 25 พรหมจรรย์ เป็นช่วงชีวิตแห่งการศึกษา และการดำรงตนเป็นพรหมจรรย์ (ละเว้นการร่วมประเวณี)[3] นักเรียนจะเดินทางไปคุรุกุล (ที่พำนักของคุรุ) และโดยทั่วไปจะอาศัยกับคุรุ (อาจารย์) เพื่อรับความรู้ แนวคิด ปรัชญา สัจธรรม และตรรกะ, ปฏิบัติตนตามครรลอง, ทำงานเพื่อได้รับทักษิณมาจ่ายให้กับคุรุ, เรียนรู้ที่จะมีชีวิตด้วยธรรม อุปนัยนะ เมื่อเข้า[11][12] สมาวรรตนะ เมื่อสิ้นสุด[13]
คฤหัสถ์
(ผู้ครองเรือน)
25-50 หมายถึงช่วงชีวิตซึ่งได้สมรส, ดูแลเรือน, สร้างครอบครัว, เลี้ยงดูให้การศึกษาแก่ลูก มีชีวิตทางสังคมและทางธรรมโดยมีครอบครัวเป็นหลักกลางของชีวิต[3][14][15] ในทางสังคมวิทยา ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงแห่งการสร้างอาหารและความมั่งคั่ง ที่จะช่วยจุนเจือผู้ที่อยู่ในระยะอื่น ๆ ของระบบอาศรม รวมถึงสร้างลูกหลานขึ้นมาเพื่อสืบทอดมนุษยชาติ[3][5] และช่วงนี้เป็นช่วงที่มนุษย์เกิดความผูกพันทางโลกสูง[16] วิวาหะ เมื่อเข้า
วานปรัสถ์
(เกษียณ)
50-75 ช่วงชีวิตหลังเกษียณ ส่งต่อภาระทางเรือนให้แก่ผู้คนในรุ่นถัดไป แล้วค่อย ๆ ถอนตัวออกจากชีวิตทางโลก[17][18] วานปรัสถ์เป็นช่วงชีวิตแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นซึ่งอรรถะ และ กามะ ไปสู่การมุ่งเน้นยังโมกษะ (การหลุดพ้น)[17][19]
สันยาส
(ละทิ้งทางโลก)
75 ปีขึ้นไป เป็นช่วงชีวิตแห่งการละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุและทางโลก โดยทั่วไปคือปราศจากสิ่งครอบครองรวมถึงที่อยู่ ใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นโมกษะ, ความสันติ และชีวิตทางจิตวิญญาณที่เรียบง่าย[20][21] ผู้ใดก็ตามที่สิ้นสุดระยะพรหมจรรย์แล้วสามารถเข้าสู่ระยะนี้ได้ทุกเมื่อ[2]

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน. 2548. pp. 71–72. ISBN 974-958-833-9. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2560. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 Patrick Olivelle (1993), The Āśrama System: The History and Hermeneutics of a Religious Institution, Oxford University Press, OCLC 466428084, pages 1–29, 84–111
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 RK Sharma (1999), Indian Society, Institutions and Change, ISBN 978-8171566655, page 28
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ aw2
  5. 5.0 5.1 Alban Widgery (1930), The Principles of Hindu Ethics, International Journal of Ethics, 40(2): 232–245
  6. 6.0 6.1 Chakkarath, Pradeep (2005), pp. 31-54.
  7. Chakkarath, Pradeep (2013). Indian thoughts on psychological human development. In G. Misra (Ed.), Psychology and Psychoanalysis in India (pp. 167-190). New Delhi: Munshiram Manoharlal Publishers.
  8. Rama, p. 467.
  9. Barbara Holdrege (2004), Dharma, in The Hindu World (Editors: Sushil Mittal and Gene Thursby), Routledge, ISBN 0-415-21527-7, page 231
  10. J. Donald Walters (1998), The Hindu Way of Awakening: Its Revelation, Its Symbols, an Essential View of Religion, Crystal Clarity Publishers, pp. 154–, ISBN 978-1-56589-745-8, สืบค้นเมื่อ 12 July 2013
  11. Vivekjivandas, Sadhu. Hinduism: An Introduction – Part 2. (Swaminarayan Aksharpith: Ahmedabad, 2010) p. 113. ISBN 978-81-7526-434-2
  12. Brian Smith (1986), Ritual, Knowledge, and Being: Initiation and Veda Study in Ancient India, Numen, Vol. 33, Fasc. 1, pages 65–89
  13. R Pandey (1969), Hindu Saṁskāras: Socio-Religious Study of the Hindu Sacraments (2nd Ed.), Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-0434-1
  14. Sahebrao Genu Nigal (1986). Axiological approach to the Vedas. Northern Book Centre. pp. 110–114. ISBN 81-85119-18-X.
  15. Manilal Bose (1998). "5. Grihastha Ashrama, Vanprastha and Sanyasa". Social and cultural history of ancient India. Concept Publishing Company. pp. 68–79. ISBN 81-7022-598-1.
  16. Mazumdar and Mazumdar (2005), Home in the Context of Religion, in Home and Identity in Late Life: International Perspectives (Editor: Graham D. Rowles et al.), Springer, ISBN 978-0826127150, pages 81–103
  17. 17.0 17.1 Albertina Nugteren (2005), Belief, Bounty, And Beauty: Rituals Around Sacred Trees in India, Brill Academic, ISBN 978-9004146013, pages 13–21
  18. Ralph Tench and William Sun (2014), Communicating Corporate Social Responsibility: Perspectives and Practice, ISBN 978-1783507955, page 346
  19. Saraswathi et al (2010), Reconceptualizing Lifespan Development through a Hindu Perspective, in Bridging Cultural and Developmental Approaches to Psychology (Editor: Lene Arnett Jensen), Oxford University Press, ISBN 978-0195383430, page 280-286
  20. S. Radhakrishnan (1922), The Hindu Dharma, International Journal of Ethics, 33(1): 1–22
  21. DP Bhawuk (2011), The Paths of Bondage and Liberation, in Spirituality and Indian Psychology, Springer, ISBN 978-1-4419-8109-7, pages 93–110