อาร์บีไอเบสบอล (อังกฤษ: R.B.I. Baseball) หรือชื่อในเวอร์ชันญี่ปุ่น โปรยะคิวแฟมิลีสเตเดียม (ญี่ปุ่น: プロ野球ファミリースタジアム) เป็นวิดีโอเกมเบสบอลสำหรับระบบแฟมิคอม (เอ็นอีเอส) เกมนี้ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทนัมโคและได้รับการเปิดตัวโดยบริษัทเทนเงน ซึ่งได้รับการเปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1987 อาร์บีไอมีภาคต่อสองภาคในระบบแฟมิคอม ตลอดจนเวอร์ชันสำหรับระบบเซกา เมกาไดรฟ์, เทอร์โบกราฟซ์-16 (พีซี เอนจิน), เซกา 32เอกซ์, คอมโมดอร์อามิกา, ซูเปอร์แฟมิคอม, เซกา เกมเกียร์ และอาตาริ เอสที ทั้งนี้ อาร์บีไอ มาจากอักษรย่อของคำว่า "รันแบตเท็ดอิน"

อาร์บีไอเบสบอล
อาร์บีไอเบสบอล
ภาพปกอาร์บีไอเบสบอล
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค
เทนเงน
ออกแบบปีเตอร์ ลิปสัน
แต่งเพลงจุนโกะ โอะซะวะ, แบรด ฟุลเลอร์, ดอน เด็กไนท์, จอห์น พอล, เคนท์ คามิคัล
ชุดอาร์บีไอเบสบอล
เครื่องเล่นแฟมิคอม, เพลย์ชอยส์-10
วางจำหน่ายค.ศ. 1987
แนวกีฬา
รูปแบบโหมดผู้เล่นคนเดียว
โหมดผู้เล่นหลายคน

ประวัติ แก้

นัมโคซึ่งเป็นผู้ควบคุมของบริษัทเทนเงน ได้ทำการพัฒนาและเปิดตัวโปรยะคิวแฟมิลีสเตเดียม (ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแฟมิลีสเตเดียม) สำหรับระบบแฟมิคอม (เครื่องเล่นเกมเอ็นอีเอสในเวอร์ชันญี่ปุ่น)[1] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1986 แฟมิลีสเตเดียมประสบความสำเร็จและมีภาคต่อในแพลตฟอร์มต่าง ๆ หลายภาคในประเทศญี่ปุ่น อาตาริเกมส์ซึ่งเป็นแผนกอาเขตอเมริกันและเป็นบริษัทแม่ของเทนเงนได้ทำการเปิดตัวแฟมิลีสเตเดียมในเวอร์ชันของนินเท็นโด Vs. ซีรีส์ โดยใช้ชื่อว่า Vs. อาร์บีไอเบสบอล ใน ค.ศ. 1987 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน และปีเตอร์ ลิปสัน ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์เกมเวอร์ชันดังกล่าวได้ทำการพัฒนาเวอร์ชันคอนโซลขึ้นในระบบเอ็นอีเอส

รูปแบบการเล่นและคุณลักษณะ แก้

 
หน้าจอในเวอร์ชันเอ็นอีเอส

อาร์บีไอเบสบอล เป็นเกมคอนโซลชุดแรกที่ได้รับการอนุญาตจากสมาคมผู้เล่นเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบีพีเอ) และได้ใช้ชื่อผู้เล่นเอ็มแอลบีที่มีอยู่จริง ซึ่งแตกต่างจากวิดีโอเกมเบสบอลอื่น ๆ ที่มีอยู่ในช่วงปลายยุค 1980 อย่างไรก็ตาม เกมนี้ไม่ได้รับลิขสิทธิ์ชื่อทีมจากเมเจอร์ลีกเบสบอล (เอ็มแอลบี) สำหรับใช้ในเกม และด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้ใช้ชื่อของทีมหรือโลโก้ หากแต่สิ่งที่ใช้แทนคือรายชื่อของ 8 ทีมที่เป็นชื่อเมืองเท่านั้น ซึ่งได้แก่: บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ดีทรอยต์, ฮิวสตัน, มินนิโซตา, นิวยอร์ก, เซนต์หลุยส์ และซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นเมืองต้นสังกัดตรงตามชีวิตจริงของพวกเขา โดยคล้ายกับเมเจอร์ลีกเบสบอลตามทีมที่ได้อันดับต้น ๆ ของในแต่ละดิวิชันในฤดูกาล 1986 (บอสตัน, แคลิฟอร์เนีย, ฮิวสตัน, นิวยอร์ก) และ 1987 (ดีทรอยต์, มินนิโซตา, เซนต์หลุยส์, ซานฟรานซิสโก) เกมนี้ยังได้อวดสองทีมลีกออลสตาร์ ทั้งจากอเมริกันลีกและเนชันแนลลีก โดยทั้งสองรายการได้มีการปรากฏตัวของนักเบสบอลผู้มากด้วยประสบการณ์ ดังเช่น จอร์จ เบรตต์, เดล เมอร์ฟี และอังเดร ดอว์สัน ซึ่งไม่มีใครปรากฏตัวขึ้นในอีกแปดทีม รวมถึงผู้เล่นที่จะมีชื่อเสียงในอนาคตอย่างมาร์ก แมคไกวร์, อันเดรส กาลาร์รากา, เควิน ไซท์เซอร์ และโคเซ กังเซโก

ผู้เล่นแต่ละคนจะมีความสามารถที่แตกต่างกันในเกม โดยผู้ตีมีความสามารถในการสร้างจุดแข็งที่แตกต่างกันไป ทั้งการตีลูกที่ใช้พลัง รวมถึงการวิ่งสู่ฐานเบสของพวกเขา ซึ่งวินซ์ โคลแมน เป็นผู้เล่นที่มีความเร็วที่สุดในเกม ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะจับเขาเพื่อขโมยฐานเบสที่สอง ส่วนคนขว้างลูกมีระดับความเร็วในการขว้างที่แตกต่างกัน และสามารถบังคับให้ปั่นไซด์ไปทางซ้ายและขวาในช่วงที่ลูกลอยออกไปได้ นอกจากนี้คนขว้างยังมีแรงในการขว้างที่ต่างกัน ในกรณีที่ผู้ขว้างเริ่มเหนื่อย การเคลื่อนที่ลูกเบสบอลจะช้าลงและยากที่จะทำการปั่นไซด์ โนแลน ไรอัน และโรเจอร์ คลีแมน เป็นสองผู้ขว้างลูกในเกมที่ขว้างได้เร็วที่สุด สำหรับเฟร์นันโด บาเลนซเวลา ที่ปราศจากบอลเร็วแบบหนักหน่วงนั้น มีการเคลื่อนไหวด้วยการขว้างลูกของเขาอย่างน่าเกรงขามในทั้งสองทิศทาง ส่วนไมค์ สกอตต์ มีทักษะการขว้างลูกที่เฉียบคมและหลอกสายตา ทั้งนี้ ผู้ขว้างลูกที่ดีที่สุดยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นจะใช้พวกเขาในแบบใด และไม่มีหลักฐานถึงความสามารถในการรับลูกว่าสอดคล้องกับผู้เล่นแต่ละคนแต่อย่างใด

ความสามารถของผู้เล่นแต่ละคนทำไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับสถิติที่แสดงบนหน้าจอเมื่อผู้เล่นจะทำการตีหรืออยู่บนเนิน ด้วยข้อยกเว้นจำนวนมาก (ดูด้านล่าง) สถิติเหล่านี้มีความถูกต้องโดยทั่วไป ซึ่งพวกเขาจะไม่มีการเปลี่ยนในช่วงระหว่างรายการหรือการแข่งแบบต่อเนื่อง

ตารางคะแนนแรกเริ่มจะปรากฏขึ้นในช่วงระหว่างและหลังการแข่งโดยแสดงสถิติสถานะของแต่ละทีม เมื่อทำการตีได้จะให้เครดิตในการวิ่งสู่อีกฐานเบส และหากใครคนหนึ่งถูกจับตัวก่อนเข้าถึงฐานเบสจะถือว่าพลาดในการทำเครดิตจากการตี โดยตรงกันข้าม หากผู้ตีไม่สามารถตีลูกได้จะไม่ได้รับเครดิต

บัญชีรายชื่อของทั้งแปดทีมมีความถูกต้องเที่ยงธรรมตรงตามปีนั้น โดยแต่ละทีมจะมีผู้ตีประเดิม 8 คน, ผู้ป้องกันในพื้นที่สี่คน, ผู้ขว้างลูกประเดิมสองคน และผู้ขว้างลูกสมทบสองคน ผู้เล่นสามารถเริ่มต้นเป็นผู้ขว้างลูกใด ๆ ก็ได้หากต้องการ แม้ว่าผู้ขว้างลูกสมทบจะมีความแข็งแกร่งอ่อนกว่ามากก็ตาม แต่หากพวกเขาเล่นเกมติดต่อกันได้โดยไม่ได้ตั้งค่าใหม่ ผู้ขว้างลูกประเดิมที่ใช้ในช่วงก่อนหน้านี้จะไม่สามารถใช้ได้ ผู้เล่นจะต้องรอจนกว่าเกมจะเริ่มก่อนที่จะนักเบสบอลทำหน้าที่แทนร่วมกับผู้ตีตัวสำรอง ซึ่งสามารถเล่นได้ในตำแหน่งใด ๆ

ในเวอร์ชัน Vs. อาร์บีไอเบสบอล ทีมทั้งหลายต่างได้รับการสร้างขึ้นจาก 10 ทีมระดับตำนานที่แตกต่างกัน นักเบสบอลเหล่านี้ต่างเป็นตัวแทนสถิติด้วยฤดูกาลที่ดีที่สุดของพวกเขา ข้อยกเว้นที่น่าสังเกตเป็นของแมคไกวร์ ผู้ซึ่งอยู่ในทีมโอกแลนด์ โดยได้แสดงสถิติตัวเลขที่ซ่อนเร้นในการแสดงฝีมืออันโดดเด่นจากการทำนายล่วงหน้า ซึ่งเขาได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถทำโฮมรันได้ 62 ครั้งในฤดูกาลที่ดีที่สุดของเขา โดยใน ค.ศ. 1998 เขาได้ทำสถิติโฮมรันในเมเจอร์ลีกของฤดูกาลนี้ถึง 70 ครั้ง

ภาคต่อ แก้

  • อาร์บีไอเบสบอล 2 - มีทีมและผู้เล่นจากฤดูกาล 1989
  • อาร์บีไอเบสบอล 3 - อาร์บีไอ 3 ยังมีทีมลีกสำคัญอยู่ทุกทีมจากฤดูกาล 1990 ตลอดจนทีมหลังฤดูกาล 1983-1989 โดยฤดูกาลปกตินั้นมีความโดดเด่นในอาร์บีไอ 3 ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกทีมใดทีมหนึ่งเพื่อแข่งขันกับทีมอื่น ๆ ได้ทุกทีม ส่วนทีมออลสตาร์และทีมหลังฤดูกาลสามารถเลือกในโหมดฤดูกาลนี้ได้เช่นกัน พาสเวิร์ดที่ได้รับหลังจากจบแต่ละเกมจะช่วยต่อรายการต่าง ๆ ของผู้เล่นให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อทีมทั้งหมดถูกปราบ ผู้เล่นจะได้พบกับทีมตัวละครออลสตาร์จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยนักเบสบอลที่มีสถิติการทำโฮมรันและเอวีอีอันน่าทึ่ง รวมถึงคนขว้างลูกที่ไม่สามารถตีได้
  • อาร์บีไอเบสบอล 4 - อาร์บีไอเบสบอล 4 เป็นเกมภาคต่อที่ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1992 ในระบบเซก้าเมกาไดร์ฟ
  • โปรยะคิวเวิลด์สเตเดียม '91 - ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1991 ที่ประเทศญี่ปุ่นเฉพาะสำหรับระบบเทอร์โบกราฟิก-16 (พีซีเอนจิน) โดยไม่มีการเปิดตัวในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด
  • อาร์บีไอเบสบอล '93
  • อาร์บีไอเบสบอล '94
  • ซูเปอร์อาร์บีไอเบสบอล
  • อาร์บีไอ '95

ผู้ครองสถิติโลก แก้

เทรวิส รูห์แลนด์ จากแมดิสัน รัฐวิสคอนซิน ปัจจุบันเป็นผู้ครองสถิติโลกในอาร์บีไอเบสบอล 3 และอาร์บีไอเบสบอล 2 (ได้รับการรับรองโดยทวินกาแล็กซี) ด้วยการชนะ 60 เที่ยวและ 50 เที่ยวตามลำดับ[2]

ส่วนคูเลียว ฟรันโก เป็นผู้ครองสถิติมาอย่างยาวนานในฐานะผู้เล่นคนสุดท้ายที่เล่นตั้งแต่อาร์บีไอภาคแรกจนถึงช่วงการแข่งขันเมเจอร์ลีกใน ค.ศ. 2008

การตอบรับ แก้

เกมชุดนี้ทำยอดจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น 2,050,000 ชุด[3]

อ้างอิง แก้

  1. 略称はいずれも商標登録されている。
    • 「ファミリースタジアム」…1986年8月1日出願(番号:商標出願昭61-80899)・1988年12月19日登録(番号:第2102621号)ほか
    • 「ファミスタ」…1986年12月11日出願(番号:商標出願昭61-130974)・1988年10月26日登録(番号:第2087625号)ほか
  2. R.B.I. Baseball 3. Twin Galaxies. Retrieved on August 8, 2010.
  3. GEIMIN.NET/国内歴代ミリオン出荷タイトル一覧 เก็บถาวร 2019-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน、GEIMIN.NET、2013年2月28日閲覧。

แหล่งข้อมูลอื่น แก้