อาริสตาร์โคสแห่งซาโมส

อาริสตาร์โคส (กรีก: Αρίσταρχος, arístarkhos, [a.rís.tar.kʰos], 310 BC230 BC) เป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ ชาวกรีกโบราณ เกิดที่เมืองซาโมส ประเทศกรีซ เนื่องจากมีคนที่ชื่อเดียวกันนี้อยู่หลายคน จึงมักถูกเรียกว่า อาริสตาร์โคสแห่งซาโมส (Αρίσταρχος ὁ Σάμιος, arístarkhos ho Sámios) เพื่อแยกแยะจากบุคคลอื่นที่ชื่ออาริสตาร์โคสเหมือนกัน

อาริสตาร์โคส
รูปปั้นของอาริสตาร์โคสที่มหาวิทยาลัยอริสโตเติลแห่งเทสซาโลนีกี
เกิดป. 310 BC
ซาโมส
เสียชีวิตc. 230 BC (อายุประมาณ 80)
อะเล็กซานเดรีย,[1] ราชอาณาจักรทอเลมี
สัญชาติกรีก
อาชีพ

เขาเป็นคนแรกที่เสนอแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งอธิบายว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ ไม่ใช่โลก ซึ่งเป็นสาเหตุที่บางครั้งเขาถูกเรียกว่า "นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสแห่งยุคโบราณ" ทฤษฎีดาราศาสตร์ของเขาไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทฤษฎีของเขาโดดเด่นสู้อริสโตเติลและปโตเลไมโอสไม่ได้ จนกระทั่งประมาณ 2,000 ปีต่อมา เมื่อนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสสนับสนุนแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเขาอีกครั้ง และนำไปสู่การพัฒนาต่อมา

ทฤษฎี แก้

แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แก้

งานเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ของอาริสตาร์โคสคือ ''Περί μεγεθών και αποστημάτων Ηλίου και Σελήνης'' (ว่าด้วยขนาดและระยะทางของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์) นั้นยืนพื้นจากแนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม เป็นที่ชัดเจนจากข้อความที่ยกมาในบันทึกว่าอาริสตาร์โคสได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งซึ่งเขาเสนอสมมติฐานของแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางขึ้นมาแทน งานนี้ได้ถูกรวมอยู่ในรวบรวมบทความของปัปโปส เรื่อง "Μικρὸς Ἀστρονοµούµενος" (ดาราศาสตร์เล็ก) มีการแปลเป็นภาษาอาหรับในราวศตวรรษที่ 10 และการแปลเป็นภาษาละตินเผยแพร่ในราวศตวรรษที่ 15 ข้อความภาษากรีกตีพิมพ์ประมาณปี 1700 ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันได้รับการตีพิมพ์ในราวปี ค.ศ. 1800

ความเข้าใจที่ว่าแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของอาริสตาร์โคสถูกคนสมัยนั้นมองว่าหมิ่นต่อพระเจ้านั้นเป็นเรื่องเข้าใจผิด ลูซีโอ รุสโซ นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ได้อธิบายว่าความเข้าใจผิดนี้มาจากข้อความของปลูตาร์โคสในหนังสือของเขา[2][3]

ขนาดของดวงจันทร์ แก้

อาริสตาร์โคสได้สังเกตเห็นดวงจันทร์ผ่านเงาของโลกในระหว่างเกิดจันทรุปราคา จากการสังเกตนี้ เขาประเมินว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเป็นประมาณ 3 เท่าของดวงจันทร์ เอราโตสเทแนสซึ่งได้คำนวณเส้นรอบวงโลกได้ 252,000 สตาเดีย (บางคนว่าประมาณ 42,000 กม.) ได้ข้อสรุปว่าเส้นรอบวงของดวงจันทร์อยู่ที่ประมาณ 14,000 กม. อย่างไรก็ตาม เส้นรอบวงที่แท้จริงของดวงจันทร์อยู่ที่ประมาณ 10,916 กม.

อ้างอิง แก้

  1. "Aristarchus of Samos: Mathematician and astronomer". World History. 8 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  2. Russo, Lucio (2013). The Forgotten Revolution: How Science Was Born in 300 BC and Why it Had to Be Reborn. แปลโดย Levy, Silvio. Springer Science & Business Media. p. 82, fn.106. ISBN 978-3642189043. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.
  3. Plutarch. "De facie quae in orbe lunae apparet, Section 6". Perseus Digital Library. Tufts University. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.

อ่านเพิ่มเติม แก้

  • T. L. Heath. Aristarchus of Samos - The Ancient Copernicus, A history of Greek astronomy to Aristarchus together with Aristarchus' treatise on the sizes and distances of the sun and moon, a new Greek text with translation and notes. (ISBN 0486438864)
  • A.C. Bowen and B.R. Goldstein, Aristarchus, Thales, and Heraclitus on solar eclipses, Physis Riv. Internaz. Storia Sci. (N.S.) 31 (3) (1994), 689-729.
  • Owen Gingerich, Did Copernicus owe a debt to Aristarchus?, J. Hist. Astronom. 16 (1) (1985), 37-42.
  • M. Milankovitch, Aristarchos und Apollonios. Das heliozentrische und das geozentrische Weltsystem des klassischen Altertums, Acad. Serbe. Sci.Publ. Inst. Math. 9 (1956), 79-92.
  • Otto Neugebauer, Archimedes and Aristarchus, Isis 34 (1942), 4-6.
  • R. von Erhardt and E von Erhardt-Siebold, Archimedes' Sand-Reckoner. Aristarchos and Copernicus, Isis 33 (1942), 578-602.
  • E. Wall, Anatomy of a precursor: the historiography of Aristarchos of Samos, Studies in Hist. and Philos. Sci. 6 (3) (1975), 201-228.
  • S.V. Zhitomirskii, The heliocentric hypothesis of Aristarchos of Samos and ancient cosmology (Russian), Istor.-Astronom. Issled. No. 18 (1986), 151-160.
  • The Sand Reckoner เก็บถาวร 2007-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(University of Waterloo, Faculty of Mathematics).
  • 世界の名著 9巻 ギリシアの科学 中央公論社 1972年