อานโตนอฟ อาน-22 อันเตย์ (ยูเครน: Ан-22 Антей, อังกฤษ: Antonov An-22 Antej; สัญลักษณ์เนโท: "Cock") เป็นอากาศยานขนส่งทางทหารขนาดใหญ่ ออกแบบและผลิตโดยอานโตนอฟในสหภาพโซเวียต ถือเป็นอากาศยานขนส่งลำตัวกว้างลำแรกและยังคงเป็นเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยเทอร์โบใบพัดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่อง เครื่องต้นแบบบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 และปรากฏตัวครั้งแรกในงานปารีสแอร์โชว์ (Paris Air Show) ที่กรุงปารีสในปีเดียวกัน เข้าประจำการเป็นครั้งแรกในกองทัพอากาศโซเวียตในปี ค.ศ. 1967 และในปัจจุบันยังคงประจำการอยู่ในกองทัพอากาศและอวกาศของรัสเซีย

อานโตนอฟ อาน-22 อันเตย์
หน้าที่ เครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธี
ประเทศผู้ผลิต สหภาพโซเวียต (โซเวียตยูเครน)
ผู้ผลิต อานโตนอฟ
เที่ยวบินแรก 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965
เริ่มใช้ ค.ศ. 1967
สถานะ ในประจำการ
ผู้ใช้หลัก กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซีย
แอโรฟลอต
อานโตนอฟแอร์ไลน์
การผลิต ค.ศ. 1966–1976
จำนวนที่ถูกผลิต 68

การพัฒนา แก้

รุ่น แก้

เครื่องบินอานโตนอฟ อาน-22 ลงจอดที่สนามบินนานาชาติเกา ในประเทศมาลี เมื่อปี 2016
 
ภาพวาดของอานโตนอฟ อาน-22 รุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก
 
ภาพด้านข้าง
อาน-22 ต้นแบบ
ถูกสร้างขึ้นที่โรงงานอานโตนอฟในเคียฟ จำนวน 3 ลำ
อาน-22 สะเทินน้ำสะเทินบก
มีการเสนอรุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก แต่ถูกยกเลิก เนื่องจากไม่ผ่านขั้นตอนแบบจำลองขนาด
อาน-22
เป็นรุ่นการผลิตเริ่มต้น พร้อมระบบสตาร์ทภายนอก สร้างขึ้นที่ทาชเคนต์ จำนวน 37 ลำ
อาน-22เอ
เป็นรุ่นปรับปรุงที่มีการติดตั้งระบบสตาร์ทด้วยอากาศ ปรับปรุงระบบไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์วิทยุและระบบนำทาง สร้างขึ้นที่ทาชเคนต์ จำนวน 28 ลำ
อาน-22พีซี
เป็นรุ่นดัดแปลงเพื่อบรรทุกส่วนตรงกลางปีกและปีกด้านนอกของอานโตนาฟ อาน-124 หรือ อาน-225 ไว้ด้านนอกเหนือลำตัว สร้างขึ้นจำนวน 2 ลำ[1]

ผู้ให้บริการ แก้

อุบัติเหตุ แก้

ข้อมูลจำเพาะ (อาน-22) แก้

  • ผู้สร้าง โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต
  • ประเภท ลำเลียงทางยุทธศาสตร์พิสัยบินไกล เจ้าหน้าที่ 5-6 นาย
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบใบพัด คุซเนทซอฟ เอ็นเค-12 เอ็มเอ ให้กำลังเครื่องละ 15,000 แรงม้า ใบพัด 2 ชุดหมุนสวนทางกัน จำนวน 4 เครื่องยนต์
  • กางปีก 64.4 เมตร
  • ยาว 57.8 เมตร
  • สูง 12.53 เมตร
  • พื้นที่ปีก 345 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 114,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุด 80,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักเชื้อเพลิงสูงสุด 43,000 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 250,000 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด 740 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง 679 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • พิสัยบินไกลสุด 10,950 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงเต็มที่
    • 5,000 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด

[2]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน แก้

อ้างอิง แก้

  1. Gordon, Komissarov and Komissarov Air International January 2006, pp. 35–36.
  2. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522