อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (อังกฤษ: occupational safety and health; อักษรย่อ: OSH) นอกจากนี้ยังเรียกกันทั่วไปว่า สุขภาพและความปลอดภัยในอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and safety; อักษรย่อ: OHS), อาชีวอนามัย (อังกฤษ: occupational health)[1] หรือ สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน (อังกฤษ: workplace health and safety; อักษรย่อ: WHS) เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย, สุขภาพ และสวัสดิภาพของประชาชนในที่ทำงาน คำนิยามนี้ยังหมายถึงเป้าหมายของสาขานี้[2] เพื่อให้พวกเขามีสำนึกต่อหัวข้อดังกล่าว ที่แต่เดิมเป็นคำย่อของโครงการ/ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาพนี้แสดงให้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลึงที่โรงงานผลิตอาวุธในสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ดวงตาของเธอไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งปัจจุบัน การปฏิบัติดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาตในประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับคนงาน อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ มาตรฐานดังกล่าวก็ยังคงเปราะบาง หรือไม่มีเลย

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย[3] ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพและไม่ได้ประกอบอาชีพ (อังกฤษ: occupational health and occupational and non-occupational safety) และรวมถึงความปลอดภัยในการทำกิจกรรมนอกที่ทำงาน[4]

ในเขตอำนาจศาลระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายสำหรับการดูแลที่เหมาะสมต่อความปลอดภัยของพนักงาน[5] กฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติอาจเพิ่มกำหนดหน้าที่ทั่วไปอื่น ๆ, แนะนำการปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะ และสร้างหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการควบคุมปัญหาด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยรายละเอียดของเรื่องนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละเขตอำนาจศาล

ทุกองค์กรมีหน้าที่สร้างความมั่นใจต่อพนักงานและบุคคลอื่นใดที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กร ให้ยังคงมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

ดูเพิ่ม แก้

หลัก แก้

องค์กรภาครัฐ แก้

สาขาที่เกี่ยวข้อง แก้

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. It can be confusing that British English also uses industrial medicine to refer to occupational health and safety and uses occupational health to refer to occupational medicine. See the Collins Dictionary entries for industrial medicine and occupational medicine and occupational health.
  2. Mosby's Medical Dictionary
  3. "Oak Ridge National Laboratory | ORNL". www.ornl.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-30.
  4. Fanning, Fred E. (2003). Basic Safety Administration: A Handbook for the New Safety Specialist, Chicago: American Society of Safety Engineers
  5. "Guidance note: General duty of care in Western Australian workplaces 2005" (PDF). Government of Western Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-23. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้