อากาศยานไร้คนขับ (อังกฤษ: unmanned aerial vehicle: UAV) โดยทั่วไปเรียก โดรน (อังกฤษ: drone) เป็นอากาศยานซึ่งไม่มีผู้ขับ ลูกเรือ หรือผู้โดยสารที่เป็นมนุษย์อยู่บนเครื่องเลย ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aircraft system: UAS)[1]

โดรน DJI Phantom quadcopter สำหรับการถ่ายภาพทางอากาศเชิงพาณิชย์และเพื่อการพักผ่อน

โดรนอาจบินภายใต้การควบคุมของมนุษย์ผ่านรีโมตคอนโทรล เช่น กรณีของอากาศยานที่ขับจากระยะไกล (remotely-piloted aircraft: RPA) หรืออาจบินโดยมีอิสระในการบังคับตนเองหลาย ๆ ระดับ เช่น กรณีของออโทไพลอต (autopilot) ไปจนถึงอิสระอย่างเต็มรูปแบบซึ่งไม่มีมนุษย์เข้าเกี่ยวข้องเลย[2]

เดิมโดรนได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้ในภารกิจทางทหารที่ "น่าเบื่อ เลอะเทอะ หรืออันตราย" เกินไปสำหรับมนุษย์[3] และในคริสต์ศตวรรษถัดมา ก็ได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในกองทัพโดยมาก จนเมื่อเทคโนโลยีในการควบคุมได้รับการปรับปรุงขึ้นและค่าใช้จ่ายถดถอยลงเรื่อย ๆ การใช้งานโดรนก็แพร่ขยายไปถึงกิจกรรมนอกกองทัพ[4][5] เช่น การถ่ายภาพทางอากาศ การขนส่งสินค้า การเกษตร การรักษาความสงบเรียบร้อย การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์[6][7][8][9] การลักลอบขนส่ง[10] และการแข่งขัน

อ้างอิง แก้

  1. Hu, J.; Lanzon, A. (2018). "An innovative tri-rotor drone and associated distributed aerial drone swarm control". Robotics and Autonomous Systems. 103: 162–174. doi:10.1016/j.robot.2018.02.019.
  2. Cary, Leslie; Coyne, James. "ICAO Unmanned Aircraft Systems (UAS), Circular 328". 2011-2012 UAS Yearbook - UAS: The Global Perspective (PDF). Blyenburgh & Co. pp. 112–115. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  3. Tice, Brian P. (Spring 1991). "Unmanned Aerial Vehicles – The Force Multiplier of the 1990s". Airpower Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2009. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013. When used, UAVs should generally perform missions characterized by the three Ds: dull, dirty, and dangerous.
  4. Hu, J.; Bhowmick, P.; Jang, I.; Arvin, F.; Lanzon, A., "A Decentralized Cluster Formation Containment Framework for Multirobot Systems" IEEE Transactions on Robotics, 2021.
  5. Alvarado, Ed (3 May 2021). "237 Ways Drone Applications Revolutionize Business". Drone Industry Insights. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
  6. Koparan, Cengiz; Koc, A. Bulent; Privette, Charles V.; Sawyer, Calvin B. (March 2020). "Adaptive Water Sampling Device for Aerial Robots". Drones (ภาษาอังกฤษ). 4 (1): 5. doi:10.3390/drones4010005.
  7. Koparan, Cengiz; Koc, Ali Bulent; Privette, Charles V.; Sawyer, Calvin B.; Sharp, Julia L. (May 2018). "Evaluation of a UAV-Assisted Autonomous Water Sampling". Water (ภาษาอังกฤษ). 10 (5): 655. doi:10.3390/w10050655.
  8. Koparan, Cengiz; Koc, Ali Bulent; Privette, Charles V.; Sawyer, Calvin B. (March 2018). "In Situ Water Quality Measurements Using an Unmanned Aerial Vehicle (UAV) System". Water (ภาษาอังกฤษ). 10 (3): 264. doi:10.3390/w10030264.
  9. Koparan, Cengiz; Koc, Ali Bulent; Privette, Charles V.; Sawyer, Calvin B. (March 2019). "Autonomous In Situ Measurements of Noncontaminant Water Quality Indicators and Sample Collection with a UAV". Water (ภาษาอังกฤษ). 11 (3): 604. doi:10.3390/w11030604.
  10. "Drones smuggling porn, drugs to inmates around the world". Fox News. 17 April 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้