อาการเหมือนมีก้อนในลำคอ

การเหมือนมีก้อนในลำคอ (อังกฤษ: Globus pharyngis) เป็นความรู้สึกที่คงยืนเหมือนกับมีเสมหะ เม็ดยา หรืออะไรอื่น ๆ มาติดอยู่ในคอแต่จริง ๆ ไม่มี บุคคลอาจกลืนได้เป็นปกติ จึงไม่ใช่เป็นการกลืนลำบากที่แท้จริง แต่ก็ยังอาจน่ารำคาญ และก็อาจจะรู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างน้อย ๆ หรืออย่างรุนแรง และเหมือนมีอะไรกระทบกันดังกรอบแกรบที่คอเมื่อกลืน

อาการเหมือนมีก้อนในลำคอ
(Globus pharyngis)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10F45.8
ICD-9300.11
DiseasesDB31559
MeSHD003291

เหตุ แก้

ก้อนในลำคอที่รู้สึกบ่อยครั้งเป็นการบวม/การอักเสบในส่วนของคอ เช่น กล่องเสียง หรือคอหอยส่วนกล่องเสียง ซึ่งอาจมีเหตุจากการกระตุกของกล้ามเนื้อ cricopharyngeal ในกล่องเสียง, กรดไหลย้อน, โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง, หรือความต่าง ๆ กันที่มีเหตุจากการบาดเจ็บหรือไม่ก็จากความต่าง ๆ กันของโครงสร้างในลำคอ ในบางกรณี เหตุอาจจะไม่ชัดเจน และอาจเป็นปัญหาทางจิตใจ เช่น โรคโซมาโตฟอร์มและโรควิตกกังวล ถ้าเป็นอาการหนึ่งของความซึมเศร้า มันก็จะตอบสนองต่อการรักษาอาการซึมเศร้า[1][2]

แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก Eagle syndrome ซึ่งเป็นโรคที่ใช้คำบอกอาการของคนไข้ว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอเป็นวิธีการวินิจฉัย Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืน การขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ[3] โดยมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซสที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid แล้วกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน

งานศึกษาเร็ว ๆ นี้แสดงอย่างค่อนข้างชัดเจนว่า โรคกรดไหลย้อนเป็นเหตุสำคัญของอาการเหมือนมีก้อนในลำคอ แม้นี่ก็ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[4]

เหตุที่สามัญน้อยกว่าของอาการนี้ บวกกับเหมือนกับมีอะไรกระทบกันดังกรอบแกรบและเจ็บพอสมควรเมื่อกลืน อาจเกิดจากกระดูกอ่อนไทรอยด์กระทบกับอวัยวะในคอหอยที่ผิดปกติ เช่นกระดูก superior horn/cornu สีกับกระดูก thyroid lamina[5][6] ดังนั้น การผ่าตัดแต่งกระดูกอ่อนที่เป็นตัวการก็จะแก้ปัญหานี้ได้[7] แต่เหตุนี้มักจะวินิจฉัยผิดพลาด แม้จะอาศัยการตรวจง่าย ๆ คือการคลำตรวจในแนวซ้ายขวาซึ่งจะทำให้รู้สึกเหมือนกับมีอะไรมากระทบกันดังกรอบแกรบ และจะเจ็บเมื่อกลืน โดยมีเหตุจากการบาดเจ็บที่คอซึ่งเกิดขึ้นก่อน[7] อย่างไรก็ดี ภาพเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไออย่างละเอียดอาจจำเป็นเพื่อให้รู้ถึงความผิดปกติทางกายวิภาคของกล่องเสียงอย่างชัดเจน การเลื่อนกระดูก thyroid ala ด้านที่มีปัญหาไปทางด้านหน้าเมื่อกลืน อาจช่วยแก้ปัญหา

วินิจฉัย แก้

การรักษา แก้

ถ้าไม่พบเหตุ แพทย์ก็จะแนะนำให้คนไข้ไม่ต้องเป็นห่วงอะไร แต่ถ้าพบเหตุ แพทย์ก็จะรักษาเหตุตามอาการหรือถ้าเป็นไปได้ รักษาให้หาย

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Cybulska, EM (1997). "Globus Hystericus—A Somatic Symptom of Depression? The Role of Electroconvulsive Therapy and Antidepressants". Psychosomatic Medicine. 59: 67–69.
  2. Cybulska, EM (สิงหาคม 1998). "Globus Hystericus or Depressivus?". Hospital Medicine. 59 (8): 640–1.
  3. Waldman, SD (6 มิถุนายน 2013). Atlas of Uncommon Pain Syndromes. Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9.
  4. Lee, Bong Eun. "Globus pharyngeus: A review of its etiology, diagnosis and treatment". World Journal of Gastroenterology. 18 (20): 2462. doi:10.3748/wjg.v18.i20.2462.
  5. Nadig, S K; S Uppal; G W Back; A P Coatesworth; A R H Grace (2006). "Foreign Body Sensation in the Throat Due to Displacement of the Superior Cornu of the Thyroid Cartilage: Two Cases and a Literature Review". The Journal of Laryngology & Otology. 120 (07): 608–609. doi:10.1017/S0022215106001125. PMID 16681864. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2008.
  6. Lin, Doris; Nancy Fischbein; David Eisele (2005). "Odynophagia Secondary to Variant Thyroid Cartilage Anatomy". Dysphagia. 20 (3): 232–234. doi:10.1007/s00455-005-0012-2. PMID 16362512.
  7. 7.0 7.1 Smith, Marshall E.; Gerald S. Berke; Steven D. Gray; Heather Dove; Ric Harnsberger (1 กันยายน 2001). "Clicking in the Throat: Cinematic Fiction or Surgical Fact?". Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 127 (9): 1129–1131. doi:10.1001/archotol.127.9.1129. PMID 11556866. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้