อัศฮาบุลก็อรยะฮ์

ชาวยาซีน หรือ อัศฮาบุลก็อรยะฮ์ (อาหรับ: أصحاب القرية) เป็นวลีที่ชาวมุสลิม ใช้เพื่ออ้างถึงชุมชนโบราณที่กล่าวถึงในบทที่ 36 ของอัลกุรอาน [1] ในฐานะชาวเมือง หรือเจ้าของเมือง ที่ตั้งและผู้คนของเมืองนี้เป็นหัวข้อถกเถียงทางวิชาการในอิสลาม อย่างมาก

ในอัลกุรอาน แก้

ตามคัมภีร์กุรอาน อัลลอฮ์ได้ส่งนบีสองคน มายังชุมชนนี้โดยเฉพาะ[2] เมื่อชาวเมืองปฏิเสธที่จะฟังคำพูดของพวกท่าน อัลลอฮ์จึงทรงส่งนบีคนที่สามมาเสริมกำลังพวกท่าน บรรดานบีบอกผู้คนว่า: “แท้จริงพวกเราถูกส่งมายังพวกท่าน“ [3] ชาวเมืองเยาะเย้ยสาส์นของบรรดานบีและกล่าวว่า “พวกท่านมิใช่ใครอื่น นอกจากเป็นสามัญชนเช่นเดียวกับพวกเรา และพระผู้ทรงกรุณาปรานีมิได้ประทานสิ่งใดลงมา พวกท่านมิได้เป็นอื่นใดนอกจากกล่าวเท็จ”[4] บรรดานบีตำหนิชาวเมืองโดยกล่าวว่า: “พระเจ้าของเราทรงรู้ดียิ่งว่า แท้จริงเราถูกส่งมายังพวกท่านอย่างแน่นอน และไม่มีหน้าที่อื่นใดแก่พวกเรานอกจากการประกาศเชิญชวนอันชัดแจ้งเท่านั้น”[5]

คัมภีร์กุรอานกล่าวต่อไปว่าบรรดานบีถูกคุกคามด้วยการขว้างก้อนหินและทรมาน[6] แต่พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมจำนนและยังคงเตือนประชาชาติให้ยุติวิถีทางที่ผิดบาป จากนั้น และมีชายคนหนึ่งจากสุดหัวเมืองได้มาอย่างรีบเร่ง และได้เตือนสติผู้คนให้เชื่อสาส์นนั้น และกล่าวว่า “พวกท่านจงปฏิบัติตามผู้ที่มิได้เรียกร้องรางวัลใดๆ จากพวกท่าน[7] โองการต่อไปนี้ซึ่งอธิบายถึงทางเข้าของชายผู้นั้นใน "สวน" (ญันนะฮ์) ซึ่งหมายถึงสวรรค์นักวิชาการบางคนตีความว่าชายผู้ศรัทธานั้น เสียชีวิตเพราะศรัทธาของเขา[8]

ที่ตั้งของกลุ่มชนอัศฮาบุลก็อรยะฮ์ และช่วงเวลาของพวกเขา แก้

 
ถนนโรมโบราณ ค้นพบในประเทศซีเรีย ซึ่งเชื่อมระหว่าง อันทิโอก กับคัลซิส

นักวิจารณ์ส่วนใหญ่กล่าวถึงอำนาจของอิบน์ อับบาสว่า (อันฏอกียะฮ์) และในรายงานของบุร็อยดะฮ์ บิน หุศ็อยบ์ และอิกริมะฮ์ และเกาะตาดะฮ์ และอัซซุฮ์ริ ซึ่งเป็นเมืองในพรมแดนชาม ประเทศกรีก [9] แต่อิบน์ กะษีร ได้หักล้างสิ่งนี้และกล่าวว่าตามโองการอัลกุรอานที่กำลังดำเนินการ ผู้คนถูกทำลาย ในอดีตไม่มีหลักฐานว่าเมืองอันทิโอกเผชิญกับการทำลายล้างเช่นนี้ และด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถแม้แต่จะเกี่ยวกับเมืองอันทิโอก

ส่วนช่วงเวลา เชื่อกันว่า อาจจะเป็นระหว่างนบีอีซา (เยซู) และนบีมุฮัมมัด แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ปฏิเสธเพราะมีหะดีษรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮ์ และบันทึกโดย บุคอรี[10], มุสลิม และอะบูดาวูดว่า:

ข้าได้ยินท่านเราะซูลกล่าวว่า “ข้าเป็นคนที่ใกล้ที่สุดกับบุตรของมัรยัม และนบีทุกคนเป็นพี่น้องร่วมบิดา และไม่มีนบีคนใดอยู่ระหว่างข้ากับเขา”

ท่านอิบน์ กะษีร ยังตังข้อสังเกตว่า

อะบูสะอีด อัลคุดรี (ร.ฎ.) จากเราะซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “อัลลอฮ์ทรงไม่ทำลายประชาชาติ หรือเมืองใด ๆ ตั้งแต่คัมภีร์อัตเตารอฮ์ ถูกประทานลงมาบนแผ่นดิน ด้วยการลงโทษจากชั้นฟ้า นอกจากชาวเมืองที่ถูกเปลี่ยนร่างเป็นลิง เจ้ามิเห็นดอกหรือว่า พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ตรัสว่าอย่างไร และโดยแน่นอนเราได้ประทานคัมภีร์แก่มูซาหลังจากที่เราได้ทำลายชนชาติในรุ่นก่อน ๆ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ปวงมนุษย์และเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และเป็นความเมตตา เพื่อว่าพวกเขาจะได้พิจารณาใคร่ครวญอัลกุรอาน 28:43

หะดีษจากอะบูสะอีด อัลคุดรี (ร.ฎ.) จากนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าอัลลอฮ์ไม่ได้ลงโทษเมืองใด ๆ ด้วยการทำลายล้างอันศักดิ์สิทธิ์หลังจากที่คัมภีร์เตารอฮ์ได้ถูกวะฮีย์ลงมา กล่าวอีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงทำลายประชาชาติก่อนการวะฮีย์ของเตรอฮ์เท่านั้น (เช่น กลุ่มชนของนบีนูห์ ชาวเมืองถูกพลิกคว่ำของนบีลูฏ ชาวษะมูดของนบีศอลิห์ และชาวอ๊าดของนบีฮูด [อะลัยฮิมัสสะลาม]) หะดีษนี้พบใน อัลมุสตัดร็อก ของอัลหะกีม และจัดระดับว่าเศาะฮีห์ (แท้จริง) แม้ว่านักวิชาการคนอื่นๆ จะตั้งสถานะว่า เป็นหะดีษเมากูฟ

เหตุนี้แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ของอัศฮาบุลก็อรยะฮ์ อยู่ก่อนท่านนบีมูซา (อ.)[11]

ชื่อของ 3 นบี แก้


ศอดิก, เศาะดูก และชะลูม
صادق وصدوق وشلوم
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนชุอัยบ์
ผู้สืบตำแหน่งมูซา

ในตัฟซีรหลายท่าน ได้กล่างถึงชื่อของนบี 3 คนดังนี้

อิบน์ กะษีร ได้อ้างชุอัยบ์ อัลญะบาอีย์ว่า “ชื่อของเราะซูลสองคนแรกคือชัมอูน อัศศ็อฟฟา (ซีโมนเปโตร) และยูฮันนา (ยอห์น) ชื่อที่สามคือบูลุส (เปาโล) และเมืองนี้ชื่ออันทิโอก (อันฏอกียะฮ์)” และท่านก็ยังได้อ้างอิบน์ อิสฮากว่า เราะซูลสองคนแรกคือ ศอดิก และเศาะดูก คนที่สามคือ ชะลูม ซึ่งในทัศนะของอิบน์ อิสฮาก ท่านอิบน์ กะษีรได้ยอมรับในทัศนะนี้[12]

อัลกุรตูบี ได้อ้างอัฏเฏาะบารี เราะซูล 2 คนแรกมีชื่อว่า ศอดิก และเศาะดูก คนที่สามมีชื่อว่า ชะลูม และท่านอ้างคนอื่นว่า 2 คนแรกมีชื่อว่า ชัมอูน และยูฮันนา[13]

อิบน์ อับบาส ได้อ้างว่า เราะซูล 2 คนแรกมีนามว่า ซัมอาน อัลกินอานีย์ (ซีโมนเศโลเท) และตูมา (โธมัส) เราะซูลคนที่ 3 มีชื่อว่า ชัมอูน อัศศ็อฟฟา (ซีโมนเปโตร)[14] แต่ตัฟซีรนี้มีปัญหาในเรื่องของผู้รายงานว่ามาจากอิบน์ อับบาสจริงหรือเปล่าจึงไม่สามารถเชื่อถือได้ อิมามญะลาลุดดีน อัสซุยูฏีเห็นด้วย และกล่าวว่าเป็นสายรายงานตัฟซีรนี้โกหก (มุฮัมมัด อัสซุดดี จากฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี จากอบูศอลิห์ จากอิบน์ อับบาส)

อ้างอิง แก้

  1. [อัลกุรอาน 36:13]
  2. อัลกุรอาน 36:13
  3. อัลกุรอาน 36:14
  4. อัลกุรอาน 36:15
  5. อัลกุรอาน 36:16–17
  6. อัลกุรอาน 36:18
  7. อัลกุรอาน 36:20–21
  8. Stories of the Prophets, Ibn Kathir, People of Ya-Sin
  9. تفسير بن كثير
  10. เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี 4:55:651
  11. Quranandbibleblog (2021-10-27). "Is Paul a Prophet in Islam? A Refutation of a Desperate Christian Claim". The Quran and Bible Blog (ภาษาอังกฤษ).
  12. ตัฟซีร อิบน์ กะษีร
  13. ตัฟซีร อัลกุรตูบีย์
  14. ตัฟซีร อิบน์ อับบาส