พระสวามีอัยยัปปา (ทมิฬ: ஐயப்பன்; มลยาฬัม: അയ്യപ്പ; เตลูกู: అయ్యప్ప స్వామి; กันนาดา: ಅಯ್ಯಪ್ಫ; เทวนาครี: अय्यप्पा) ทรงเป็นเทพเจ้าท้องถิ่นในศาสนาฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในรัฐเกรละและเป็นที่นิยมบูชาในภาคใต้ของประเทศอินเดีย

อัยยัปปัน
เทพแห่งความถูกต้องและความเป็นโสด
ภาพวาดอัยยัปปัน ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1950
ส่วนเกี่ยวข้องศาสนาฮินดู, พระศาสตา, พระอัยนาร์
ที่ประทับสพริมละ
มนตร์Swamiye Saranam Ayyappa and Ayyapan Gayatri Mantra
อาวุธธนูและลูกศร, ดาบ
สัญลักษณ์ระฆัง, ธนูและลูกศร
พาหนะเสือ
คัมภีร์Brahmanda Purana
ข้อมูลส่วนบุคคล
บิดา-มารดา

ถึงแม้ว่าจะมีการบูชาอัยยัปปาในอินเดียใต้มานานแล้ว พระองค์เริ่มกลายเป็นที่นิยมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[1][2][3] ตามข้อมูลจากเทววิทยาฮินดู พระองค์เป็นบุตรของพระหริหระ (พระวิษณุในร่างของโมหินีกับพระศิวะ)[3][4]

เทพปกรณัมการกำเนิด แก้

แต่เดิมเป็นบุตรของพระศิวะ (พระอิศวร) กับพระวิษณุ (พระนารายณ์) ในร่างของนางโมหิณี นามว่า ธรรมะศรัทธา มีชื่ออื่นๆ อีก อาทิ เช่น มณีกัณฐ์และหริหรปุตรัน[5]

ต่อมาพระศิวะให้เทพบุตรธรรมะศรัทธาจุติบนโลกมนุษย์ โดยมิได้เกิดจากครรภ์ของพระมเหสีของพระราชาราชศรีกาลา และให้ท้าวนาคามีหน้าที่คุ้มครองพระกุมาร เมื่อพระราชราชาศรีกาลาเสด็จประพาสป่า พระองค์ก็ได้พบกับพระกุมารหน้าเทวาลัยของพระศิวะ แล้วพระองค์ก็เกิดเอ็นดูพระกุมารคนนี้ขึ้นมา แล้วก็ดำริขึ้นว่าจะทำยังไงกับพระกุมารคนนี้ดี จู่ ๆ ก็มีโยคีคนหนึ่งปรากฏแล้วบอกกับพระราชราชาศรีกาลาว่า "พระองค์ไม่ต้องกลัวไปหรอก ขอให้พระองค์นำเด็กผู้นี้กลับไปยังพระนครเถิด เลี้ยงดูให้ดี เด็กน้อยผู้นี้จะนำความเจริญ ความรุ่งเรื่องมาสู่พระนครของพระองค์ และให้พระนามแก่ทารกน้อยนี้ว่า มานีกันดัน เมื่อพระองค์ทรงเลี้ยงดูเด็กน้อยนี้จนอายุครบสิบสองปี พระองค์จะทราบถึงความเป็นมาทั้งหมดของเด็กทารกผู้นี้เอง" โยคีก็หายตัวไป

สาเหตุที่พระองค์ถือกำเนิดขึ้นมาก็เพื่อจะมาปราบอสูรมหิงสี น้องสาวของอสูรมหิษาสูรนั่นเอง แต่สวามีอัยยัปปาก็มีศัตรูก่อนที่จะปราบอสูรมหิงสี ซึ่งก็คือ อำมาตย์ของพระบิดาของพระองค์ อำมาตย์คนนั้นมี ชื่อว่า ไดวัลย์ ไดวัลย์ต้องการชิงพระราชสมบัติของพระราชราชาศรีกาลา โดยจะกำจัดสวามีอัยยัปปาก่อน เนื่องจากพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาให้กำเนิดพระโอรสคนที่ 2 มีนามว่า ราชาราชันย์ ไดวัลย์ได้ยุยงพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาว่า "ทำไมเลยต้องให้ไอ้เด็กที่มาจากป่าไม่รู้หัวนอนปลายเท้ามาสืบสันตติวงศ์ จริง ๆ แล้วบัลลังค์นี้น่าจะเป็นของบุตรที่เกิดจากพระนางเองมากกว่าถึงจะถูก" พระมเหสีก็เห็นด้วย ไดวัลย์จึงให้พระเหสีแกล้วหลอกพระราชราชาศรีกาลาว่า พระนางป่วยเป็นโรคร้าย พระราชราชราชาศรีกาลาก็เชื่อ จึงให้หมอที่ดีที่สุดในเมืองมารักษาพระมเหสี ซึ่งหมอคนนี้ก็ได้รับสินบนมาจากไดวัลย์ หมอก็บอกพระราชราชาศรีกาลาว่า "พระนางเป็นโรคร้ายไม่มีทางรักษาได้ แต่มีวิธีเดียว คือ ต้องไปนำน้ำนมของแม่เสือในป่ามาให้พระนางเสวย โรคร้ายจึงจะหาย" จากนั้น พระราชราชาศรีกาลาจึงให้สวามีอัยยัปปา หรือ มานีกันดัน ไปนำน้ำนมจากป่ามาให้ แล้วระหว่างทาง พระอินทร์ได้มาขอร้องสวามีอัยยัปปา พระองค์จึงไปปราบอสูรมหิงสี แต่สุดท้ายอสูรมหิงสีก็ถูกสวามีอัยยัปปาสังหาร และพระอินทร์ก็ตอบแทนสวามีอัยยัยปปา โดยการแปลงเป็นแม่เสือมาให้สวามีอัยยัปปาจับไปในวัง จากนั้น สวามีอัยยัปปาก็ขี่แม่เสือที่พระอินทร์แปลงมาเข้าไปในวัง เมื่อไดวัลย์กับพระมเหสีของพระราชราชาศรีกาลาเห็น จึงเข้าไปขอโทษที่วางแผนกันจะฆ่ามานีกันดัน จากนั้น พระราชราชาศรีกาลาก็บอกกับ สวามีอัยยัปปา ให้อยู่ในวังด้วยกันเถิด แต่สวามีอัยยัปปาปฏิเสธ ขอเข้าไปอยู่ในป่าแทน จากนั้น สวามีอัยยัปปาจึงเข้าไปบำเพ็ญพรตในป่าตลอดชีวิต

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Chandra, Suresh (1998). Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses. Sarup and Sons. p. 28. ISBN 8176250392.
  2. "Ayyappan – Hindu deity". Encyclopaedia Britannica. 2014.
  3. 3.0 3.1 Denise Cush; Catherine A. Robinson; Michael York (2008). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. p. 78. ISBN 978-0-7007-1267-0.
  4. Constance Jones and Ryan James (2014), Encyclopedia of Hinduism, Infobase Publishing, ISBN 978-0-8160-5458-9, page 58
  5. หนุมานชาญสมร หน้า 316 สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อัยยัปปัน