อันดับนกตะขาบ
นกกะรางหัวขวาน (Upupa epops) เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์ Upupidae
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
ชั้นฐาน: Neognathae
อันดับ: Coraciiformes
Forbes, 1884
วงศ์
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

อันดับนกตะขาบ[1] เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Coraciiformes

โดยที่คำว่า "Coraciiformes" นั้น หมายถึง "เหมือนนกเรเวน" หรืออีกบริบทคือ "อีกา" (อีกาจัดเป็นนกเกาะคอน) โดยมาจากคำว่า "Corax" ในภาษาละติน มีความหมาย "อีกา" และคำว่า "Forma" หมายถึง "รูปแบบ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกับอีกา

เป็นนกที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะโดยร่วมกัน คือ จะงอยปากมีหลายรูปแบบ คือ ปากตรง ปากแบนข้าง ปากโค้ง ปากเป็นรูปขอ รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายหางมนหรือเป็นหางตัด ปีกยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายปีกมักแหลม ขนปลายปีกมี 10-11 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ยกเว้นในบางชนิด ขายาวปานกลางหรือขาสั้น แข้งสั้น หน้าแข้งด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่แบบเกล็ดซ้อน โดยเกล็ดแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เท่ากัน นิ้วหลังสั้นกว่านิ้วหน้า โคนนิ้วเป็นแบบนิ้วติด ยกเว้นในบางวงศ์ แกนขนรองมีขนาดเล็กหรือไม่มี หัวอาจมีหงอนหรือมีขนก็ได้ [1]

มีพฤติกรรมทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดินตามริมฝั่งแม่น้ำ ไข่มีเปลือกสีขาวหรือสีน้ำเงิน วางไข่ครั้งละ 2-8 ฟอง ลูกนกแรกเกิดไม่สามารถที่จะเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น หนู หรือกิ้งก่า และแมลงต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นเกาะฮาวาย[1]

ประกอบไปด้วยวงศ์ทั้งหมด 11 วงศ์ โดยนกที่เป็นที่รู้จักกันดีในอันดับนี้ ได้แก่ นกเงือก (Bucerotidae) ซึ่งเป็นนกที่มีหงอนบนหัวและมีขนาดใหญ่, นกตะขาบ (Coraciidae), นกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae) เป็นต้น (แต่ในบางข้อมูลจะจัดนกเงือก, นกกระเต็น และนกกะรางหัวขวาน แยกออกเป็นอันดับต่างหาก)[1]

ในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 5 วงศ์ ประมาณ 38 ชนิด[2] [3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อันดับนกตะขาบ
  2. Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
  3. Fry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters and Rollers. London: Christopher Helm. ISBN 0-7136-1410-8.
  • Johansson, Ulf S. & Ericson, Per G. P. (2003) : Molecular support for a sister group relationship between Pici and Galbulae (Piciformes sensu Wetmore 1960). J. Avian Biol. 34 (2) : 185–197. doi:10.1034/j.1600-048X.2003.03103.x PDF fulltext
  • Mayr, Gerald & Mourer-Chauviré, Cécile (2000) : Rollers (Aves: Coraciiformes. s.s.) from the Middle Eocene of Messel (Germany) and the Upper Eocene of the Quercy (France). J. Vertebr. Paleontol. 20 (3) : 533–546. DOI:10.1671/0272-4634 (2000) 020[0533:RACSSF]2.0.CO;2 PDF fulltext
  • Terres, John K. (1980) The Audubon Society Encyclopedia of North American Birds. ISBN 0-394-46651-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้